Article Index

lpkasemdhammatarez

 
ดังพระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี (พระครูกเกษมธรรมทัต) ท่านได้กล่าวว่า "วิปัสสนาภูมิ ก็หมายถึง พื้นที่กระทำวิปัสสนา หรือกรรมฐานของวิปัสสนา หรือ อารมณ์ของวิปัสสนา หมายความว่า การเจริญวิปัสสนานั้นต้องกำหนดรู้อยู่ที่วิปัสสนาภูมิ" และท่านใช้คำว่า ''ทางสายนิพพาน''หมายถึงว่าผู้ปฏิบัติที่กำลังจริญวิปัสสนาภูมิ ๖ นั้นเรียกว่ากำลังเดินอยู่บนถนนที่เรียกว่าทางสายนิพพานนั้นเอง

ดังนั้น วิปัสสนาภูมิ ๖ จึงเป็นหัวใจ เป็นฐานของการปฏิบติวิปัสสนากรรมฐานที่ชาวพุทธผู้มุ่งสู่ความหลุดพ้นควรทำความเข้าใจเป็นพื้่นฐานก่อนปฏิบัติ

ที่กล่าวว่าควรทำความเข้าใจเป็นพื้่นฐานก่อนปฏิบัติ หมายถึงว่า หากพระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนเรื่องอารมณ์กรรมฐานไว้ สัตว์โลกส่วนใหญ่จะเจริญวิปัสสนาไม่เป็น จะไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่าจะกำหนดอารมณ์อะไรในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อไม่เข้าใจก็จะกำหนดไปอย่างผิดๆ

พระองค์เป็นคนแรกในโลกที่ชี้ให้เราเห็นว่าความเป็นจริงหรือธรรมชาติ คือกาย และใจนี้ประกอบไปด้วย อายตนะ ๑๒ ขันธ์ ๕ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ หากเห็นนอกไปจากนี้เป็นอวิชชา ปุถุชนผู้ได้ขัดเกลากิเลสตัณหาให้เบาบางลงไปได้บ้าง แต่หากยังมิได้ดับกิเกสตัณหาเป็นสมุทเฉท(ดับสนิทถาวร คือพระอรหันต์) ก็ยังมีอวิชชานองเนื่องอยู่ในสันดาน

ธรรมชาติ หรือความจริงเหล่านี้หากท่านไม่แสดงไว้ เราก็ไม่อาจเข้าใจได้ ดังนั้นหากไม่มีพระพุทธเจ้าแล้วไซร้ เราจะไม่มีโอกาสได้ยินได้ฟังเรื่องรูปนามขันธ์ห้า กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นต้น เลย

ผู้ที่จะสามารถตรัสรู้ได้โดยไม่ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนจากพระพุทธเจ้านั้นมีเพียงพระปัจเจกพระพุทธเจ้าเท่านั้น พระปัจเจกพระพุทธเจ้าคือ ผู้ที่ได้บำเพ็ญบุญบารมีมามากจนสามารถตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเองโดยมิได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธเจ้าเมื่อบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้วก็รู้ว่าได้ละอวิชชาแล้ว แต่ไม่สามารถสั่งสอนใครให้รู้ตามได้ เพียงแต่ได้ละกิเลส แต่ไม่สามารถสอน หรืออธิบายให้ผู้อื่นรู้ตาม

ต่างกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งท่านได้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และสามารถสั่งสอนสัตว์ให้รู้ตามได้

ที่ครูอาจารย์สอนเรื่องการกำหนดรู้กายก็ดี การกำหนดรู้ความคิดก็ดี การมีสติระลึกรู้ความรู้สึกในจิต เป็นต้นก็ดี เหล่านี้ก็คืออารมณ์ในวิปัสสนาภูมิทั้ง ๖ ทั้งสิ้น แต่ด้วยพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ ท่านจึงทรงแสดงไว้ทั้งโดยย่อ(ง่่าย) และโดยละเอียดพิสดารเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ปฏิบติจะเข้าใจได้ตามสติปัญญาบุญบารมี ทั้งนี้มิได้หมายความว่าผู้ปฏิบัติต้องรอบรู้ในวิปัสสนาภูมิครบทั้ง ๖ จึงจะสามารถมีดวงตาเห็นธรรม เพียงแต่กำหนดรู้ภูมิใดภูมิหนึ่งอย่างถูกต้องต่อเนื่อง วิปัสสณาญาณก็จะเจริญขึ้นตามลำดับ สามารถเกิดปัญญาเห็นแจ้งในไตรลักษณ์

ที่เขียนมานี้หวังว่าจะมิทำให้นักปฏิบัติท้อใจว่า ทำไมจะปฏิบัติไปเลยไม่ได้หรือ ทำไมมันเยอะแยะ ตั้ง ๖ ภูมิ ก็ดูกายดูใจไปแค่นี้มิได้หรือ

คำตอบก็คือ ได้ หากมีความรู้ความเข้าใจ (สุตตมยปัญญา และจินตามยปัญญา) โยโสมนสิการได้ตรงทางธรรมเป็นพื้นฐานก่อนว่า ธรรมชาติของกาย ใจนั้นเป็นอย่างไร

มีผู้ปฏิบัติหลายท่านบอกกับข้าพเจ้าว่า ปฏิบัติด้วยการดูจิต  ข้าพเจ้าถามว่าดูอย่างไร
เขาตอบว่าโกรธก็รู้ อยากก็รู้ คิดก็รู้ คิดไม่ดีก็รู้ คิดดีก็รู้ เป็นต้น

ข้าพเจ้าถามว่า แล้วตอนที่จิตเฉยๆ รู้ไหม
เขาบอกว่าไม่เคยดู

เมื่อถามว่าเวลาทำความดี สงสาร ช่วยเหลือผู้อื่น หรือทำบุญเป็นต้น แล้วเคยดูจิตไหม เห็นจิตอย่างไร
เขาตอบว่า เห็นว่าจิตรู้สึกดี มีความสุข รู้ว่าจิตเป็นกุศลทำนองนี้

ถามต่อไปว่าขณะที่กำลังทำความดี สงสาร ช่วยเหลือผู้อื่น หรือทำบุญนั้น ไม่เห็นจิตที่กำลังมีศรัทธา เมตตา กรุณาหรือ เห็นไหมว่าธรรมชาติของจิตที่กำลังศรัทธา กำลังมีเมตตา กำลังกรุณาเป็นอย่างไร และเป็นธรรมชาติที่แตกต่างกันไหม หรือเห็นว่าเป็นเหมือนๆกันไปหมด
เขาตอบว่าก็เห็นแค่ว่าใจสบาย จิตแจ่มใสเบิกบานเป็นกุศล

จะเห็นได้ว่า มีผู้ปฏิบัติจำนวนมากที่คิดว่าการเจริญวิปัสสนานั้น ถ้ามีสติยู่ที่กายที่ใจอย่างนี้ก็พอ ที่จริงจะว่าพอก็พอ แต่จะว่าไม่พอก็ไม่พอ เพราะสำหรับผู้มีปัญญามีบุญบารมีสะสมมามากในอดีตชาตินั้น ไม่ต้องศึกษามากเพียงกำหนดดูกายดูใจก็สามารถเห็นแจ้งในธรรมที่ละเอียดได้เอง เรียกว่าดูกายก็เข้าใจได้ว่าประกอบไปด้วยธาตุ อายตนะ อินทรีย์ เห็นจิตก็เข้าใจว่าจิตที่เป็นกุศลมีอยู่ ที่เป็นอกุศลมีอยู่ และที่เป็นกลางๆ ก็มีอยู่ และเห็นว่าโลภะอันเป็นอกุศลจิตนั้นเป็นธรรมชาติที่มีลักษณะแยกย่อยออกไปได้อีก เช่น จิตที่อยากได้อยากเป็นก็เป็นโลภะ และแม้แต่จิตที่ไม่อยากได้ไม่อยากเป็นก็เป็นโลภะเช่นกัน ธรรมชาติทั้งสองนี้เรียกว่าโลภะแต่มีลัษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน (วิเศษณลักษณะ)

Comments   

+1 # ขอบคุณค่ะanalaya 2011-12-01 16:47
ขอบคุณค่ะ คุณ ธนพงศ์
Reply | Reply with quote | Quote
+1 # ขออนุโมทนาธนพงศ์ 2011-10-29 18:14
บทความ โลกในทางพระพุทธศาสนา และ วิปัสนาภูมิ ๖
ดีจริง กระชับ และ เข้าใจง่าย ไม่เห็นเนื้องอก

กุศลธรรมนี้ย่อมส่งผลแด่ท่านผู้เผยแผ่ด้วยความเอื้อเฟื้อ
Reply | Reply with quote | Quote
+1 # ขอบคุณค่ะanalaya 2011-10-17 17:39
ขอบคุณทุกท่านค่ะ
Reply | Reply with quote | Quote
+1 # เนื้อล้วนไม่งอกkpleo 2011-10-11 22:06
ผมกินก๋วยเตี๋ยวไม่เคยใส่ถั่วงอก เพราะถั่วงอกกลิ่นแรงจะดับกลิ่นของอื่นหมด
ผมกินก๋วยเตี๋ยวหลอด ไม่เคยขาดถั่วงอก เพราะถ้าก๋วยเตี๋ยวหลอดขาดถั่วงอก ความอร่อยก็ขาดหายไป
ผมฟังธรรม อ่านข้อธรรม ก็พิจารณาเนื้อธรรมที่เป็นหลัก ไม่ฟังหรืออ่านหลักธรรมที่เป็นเนื้องอก เพราะเนื้องอกของหลักธรรม จะยิ่งทำให้ไปไกลจากหลักธรรม
ขออนุโมทนาความตั้งใจดีของคุณ ธรรมย่อมอยู่กับผู้ประพฤติธรรม เท่านั้นก็มากพอสำหรับผู้ตั้งใจดี
ไม่มุ่งหวังและปล่อยวาง ใจจึงว่างและเป็นสุข

ขอให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่านอนาลยา จงถึงสุญตาธรรม
Reply | Reply with quote | Quote
+2 # บทความดีๆปิ่นฟ้า 2011-07-24 12:35
:lol: สาธุ สาธุ ขออนุโมทนากับบทความดี ๆ ที่แบ่งปันกันค่ะ ขอใหเจริญในธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะคะ :lol:
Reply | Reply with quote | Quote
+2 # ขออนุโมทนากุหลาบสีชา 2011-05-14 19:34
:-) ขออนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ :-)
Reply | Reply with quote | Quote

Add comment


Security code
Refresh

Users
3538
Articles
271
Articles View Hits
3194364