× เรื่องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม

การให้อโหสิกรรมที่ถูกวิธี ทำอย่างไรครับ

27 Dec 2010 16:06 #25 by dome
การให้อโหสิกรรมที่ถูกวิธี ทำอย่างไรครับ

Please Log in or Create an account to join the conversation.

04 Jan 2011 07:59 #26 by peen
การอโหสิคือการให้อภัย ถือเป็นทานอันสูงสุด ที่ทำได้ยากยิ่ง
อภัยทาน ก็คือการยกโทษให้
คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ

อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ
อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย
ความจริงนั้น ทุกคนที่สนใจบริหารจิต จะต้องสนใจอบรมจิตให้รู้จักอภัยในความผิดทั้งปวง ไม่ว่าผู้ใดจะทำแก่ตน แม้การให้อภัยจะเป็นการทำได้ไม่ง่ายนัก สำหรับบางคนที่ไม่เคยอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก ถึงอย่างไรแม้เราจะยังปฏิบัติได้ไม่ดี แต่ก็ยังดีที่เราปฏิบัติมิใช่หรือ
คนเราแม้จะมีปัญญาระดับอัจฉริยะ ก็ยังทำอะไรผิดพลาดได้ คุณก็มีสิทธิที่จะผิด ดิฉัน(ผู้เขียน)ก็มีสิทธิที่จะผิด ฉะนั้นแล้วจะถือจองเวรให้เกิดเวรอีกทำไมกัน ให้อภัยในความผิดทั้งของตนและของผู้อื่น เพื่อการเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ หรือการแก้ตัวใหม่ จะไม่ดีกว่าหรือ จิตที่ให้ ย่อมอยู่เหนือกว่าจิตที่คิดจะรับ ฉะนั้น ความสุขของผู้ที่ให้ ย่อมได้มากกว่า ผู้ที่รับเป็นแน่.......
***หากการตอบ มีอะไรที่ไม่ชอบ ไม่ตรงต่อความเป็นจริง หรือทำให้ผู้อ่านรู้สึกไม่ชอบใจประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ****
หรือถ้ามีปัญหา อยากสนทนาธรรมกัน ก็แอดเมลล์มาได้ค่ะ ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ส่วนเฟสบุ๊คก็ใช้เมลนี้ค่ะ ยินดีต้อนรับกัลยาณมิตรทุกท่าน.......เสมอค่ะ
The following user(s) said Thank You: ฐิติชญา-หิรัญศุภโชติ

Please Log in or Create an account to join the conversation.

05 Jan 2011 16:47 #28 by analaya

การให้อโหสิกรรมที่ถูกวิธี ทำอย่างไรครับ


ขอบคุณ คุณ Peen ที่ได้ช่วยเข้ามาตอบให้ค่ะ

ขอเพิ่มเติมจากคำถามที่ถามว่า การอโหสิกรรมที่ถูกวิธีนั้นทำอย่างไร

เข้าใจว่าคุณถามถึงวิธี วิธีการอโหสิกรรม

แต่คุณไม่ได้บอกว่า ต้องการทราบวิธีการอโหสิกรรมในฐานะเป็นผู้อโหสิกรรมแก่ผู้ที่ล่วงเกินเราแล้วมาขอให้เราอโหสิกรรม หรือวิธีขออโหสิกรรมในฐานะที่เราเป็นผู้ที่ได้ล่วงเกินเขาแล้วจึงขอให้เขาอโหสิกรรม คือยกโทษให้

ดังนั้น จะกล่าวทั้ง ๒ กรณีคือ

๑. การอโหสิกรรมให้แก่ผู้ที่มาขออโหสิกรรม
ในกรณีนี้ หมายความว่า มีผู้ทืี่ได้ล่วงเกินเราด้วย กาย วาจา หรือใจก็ดี แล้วเห็นโทษของกรรมนั้น จึงมาขอให้เราอโหสิกรรมให้ เพื่อที่จะได้เลิกแล้วต่อกัน ไม่อาฆาต จองเวร หรือส่งผลผูกพันกันต่อไปในภพนี้หรือภพหน้า

วิธีการให้อภัยคืออโหสิกรรมให้กับผู้อื่นนัั้น ก็ทำได้ทั้งทางวาจาและทางใจ เมื่อมีผู้มาขออโหสิกรรม เราก็ควรกล่าวว่า เรายกโทษ หรืออโหสิกรรมให้

หรืออีกนัยหนึ่ง เมื่อมีผู้ล่วงเกินเรา และเขาไม่เห็นโทษของกรรมนั้น ทั้งมิได้คิดจะขออโหสิกรรมต่อเรา แต่เราก็สามารถยกโทษให้เขาได้ เพื่อที่จะได้ไม่เป็นกรรมผูกพันกันต่อไป โดยคิดในใจว่า ยกโทษให้ อโหสิกรรมให้ อย่างนี้เป็นการอโหสิกรรมทางใจ

ส่วนผู้ที่เราอโหสิกรรมให้นั้น ไม่ว่าเขาจะขออโหสิกรรมต่อเราหรือไม่ก็ตาม เขาก็ย่อมจะเป็นผู้ที่ได้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไปตามสมควรแก่กรรม

ข้อควรระลึกในหารอโหสิกรรมคือ

"วาจา" ที่กล่าวยกโทษ อโหสิกรรมให้ ต้องออกมาจากใจ..... และ

"ใจ" ที่ยกโทษให้นั้นก็ต้องตั้งเจตนาว่ายกโทษ อโหสิกกรมให้อย่างจริงใจ ไม่ใช่พูดแต่ปาก หรือคิดยกโทษให้ แต่ใจยังขุ่นๆ ยังมีโทสะ หรือความไม่พอใจอยู่

ให้โยนิโสมนสิการให้ดีว่า อภัยทานนั้น นับเป็นทานที่สูงสุด ที่เราสามารถมอบให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องสละทรัพย์ หรือวัตถุสิ่งของใดๆ และยังเป็นบุญมาก ด้วยความเมตตาแม้ต่อผู้ที่ล่วงเกินเรา

นอกจากนี้ ขณะที่อโหสิกรรมนั้น จิตก็เป็นกุศล ได้บุญอีกชั้นหนึ่ง

จงอโหสิกรรม หรือให้อภัยด้วยเมตตา เจริญเมตตา เมตตาต่อตนเอง แล้วจึงเมตตาต่อผู้ที่ล่วงเกินเรา พร้อมๆ กันกับการอโหสิกรรมนั้น

๒. การขออโหสิกรรม ในฐานะที่เราเป็นผู้ล่วงเกินผู้อื่นทั้งทางตรงหรือทางอ้อม หรือระลึกได้ว่าอาจล่วงเกินผู้อื่นโดยไม่เจตนา (ก็ควรขออโหสิกรรมไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย) เราจึงไปขอให้ผู้นั้นๆ ยกโทษ อโหสิกรรมให้แก่เรา

การล่วงเกินทางตรงคงไม่ต้องอธิบาย

ส่วนการล่วงเกินทางอ้อม ก็เช่น การที่บิดามารดาเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เกิด เราย่อมเคยล่วงเกินท่านไว้มากมายอย่างแน่นอน ทั้งที่ทำไปด้วยโทสะ หรือด้วยความไม่เดียงสา

ดังนั้น ชีิวิตนี้...... อย่างน้อยหนึ่งครั้ง เราสมควรกราบเท้าขอขมาคุณพ่อคุณแม่ ขอให้ท่านอโหสิกรรมให้ในกรรมที่เราได้เคยล่วงเกินท่านไปทั้งทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี เจตนา หรือมิได้เจตนาก็ดี ในชาตินี้ หรือชาติก่อนๆ ก็ดี เพื่อที่เราจะได้สำรวมระวัง และไม่เป็นกรรมผูกพันกันต่อไป

การล่วงเกินทางอ้อมอีกประการหนึ่งเช่น ระหว่างเข้ากรรมฐาน หากพระวิปัสสนาจารย์ให้ปิดวาจา แต่เราพูด อย่างนี้ก็สมควรต้องขอขมาพระวิปัสสนาจารย์ เพราะแม้มิได้ล่วงเกินท่านโดยตรง แต่ผิดวาจาต่อท่านทางอ้อม ดังนั้น ก็ควรขอให้ท่านยกโทษให้ ด้วยการขอให้ท่านอโหสิกรรม

สุดท้าย ที่สำคัญที่สุดคือ การกล่าวขอขมาต่อพระรัตนตรัย ผู้ที่สวดมนต์ทำวัตรเย็น ก็คงได้กล่าวคำขออโหสิกรรมต่อพระรัตนตรัยอยู่เสมอ เพราะในตอนท้่ายของบทสวดก็จะมีคำกล่าวเพื่อกราบขอให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ งดโทษให้ ดังนี้

กาเยนะ วาจายะ วะเจตะสา วา
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มาะยายัง
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในพระพุทธเจ้า

พุทโธ ปะฏิคคันหะตุ อัจจะยันตัง
ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป


กาเยนะ วาจายะ วะเจตะสา วา
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มาะยายัง
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในพระธรรม

ธัมโม ปะฏิคคันหะตุ อัจจะยันตัง
ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมโม
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรม ในกาลต่อไป


กาเยนะ วาจายะ วะเจตะสา วา
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มาะยายัง
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในพระสงฆ์

สังโฆ ปะฏิคคันหะตุ อัจจะยันตัง
ขอสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมโม
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป


หรือถ้าไม่ได้ทำวัตร ก็กล่าวสั้นๆ เพื่ขอขมาพระรัตตนตรัยว่า
รัตตะนัตตะเย ปะมาเทนะ
ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง
ขะมะตุ โน ภ้นเต
(กล่าว ๓ ครั้ง แล้วกราบ ๓ ครั้ง ถ้ากล่าวผู้เดียว เปลี่ยน ขะมะตุ โน เป็น ขะมะถะ เม)

และถ้ากล่าวขอขมาพระสงฆ์ ก็เปลี่ยน รัตตะนัตตะเย เป็น อาจะริเย ดังนี้
อาจะริเย ปะมาเทนะ
ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง
ขะมะตุ โน ภ้นเต

แล้วพระสงฆ์จะกล่าวว่า
อะหัง ขะมามิ ตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง

แล้วผู้ขอขมากล่าวว่า
ขะมามะ ภ้นเต
(แล้วกราบ ๓ ครั้ง ถ้ากล่าวผู้เดียว เปลี่ยน ขะมะตุ โน เป็น ขะมะถะ เม และขะมามะ เป็นขะมามิ)

ในการขออโหสิกรรมต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ ครูอาจารย์นั้น บางท่านก็จัดเตรียมดอกไม้ พานธูปเทียนแพ โดยมอบ หรือถวายดอกไม้ พานธูปเทียนแพนั้นแก่ท่านที่เราขอให้ยกโทษให้ แล้วจึงกล่าวคำขอขมา แต่วัตถุก็เป็นเพียงเครื่งอประกอบพิธีกรรม สิ่งสำคัญที่สุดในการขออโหสิกรรมคือใจที่สำนึกว่าได้กระทำกรรมใดโดยมิได้สำรวมระวังต่อผู้อื่นทั้งที่เจตนา และมิได้เจตนา และเห็นโทษของกรรมนั้น แล้วจึงขอให้เขาอโหสิกรรมให้ ซึี่งนับเป็นกุศลเพราะเราได้สละ ละ คลาย อัตตา ความถือตัว ถือตนลง เป็นการแสดงการยอม เป็นความอ่อนน้อม เป็นความละเอียดสวยงามของจิตใจ


อนึ่ง พึงระลึกว่า การล่วงเกินไม่สำรวมระวังต่อผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่านั้น เป็นบาปามาก มากถึงกับเป็นเครื่องกั้นให้่ไม่บรรลุธรรมได้

พระพุทธองค์ได้ทรงสรรเสริญการอโหสิกรรมดังแสดงไว้ใน ปฐมโอวาทสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้า ๕๗๑ ว่า

"?.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล พวกเธอมาเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนเสียตามสมควรแก่ธรรม

เมื่อนั้นเราทั้งหลายขอรับโทษนั้นของเธอเหล่านั้น

ก็การที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนเสียตามสมควรแก่ธรรม และถึงความสำรวมต่อไป

นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า...."


ขอบุญในการมอบธรรมะเป็นทานนี้ แด่บิดามารดา ครูอาจารย์ ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีประมาณ

อนุโมทนา สาธุ ท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ

๕ มกราคม ๒๕๕๔

อนาลยา
The following user(s) said Thank You: ฐิติชญา-หิรัญศุภโชติ

Please Log in or Create an account to join the conversation.

12 Apr 2011 08:57 #53 by chupark
อยู่กับปัจจุบันอารมฌ์ซะ อย่าไปตามอารมฌ์คือพยาบาท เอาง่ายๆ
The following user(s) said Thank You: เยาวนุช--ถาวรสินธ์

Please Log in or Create an account to join the conversation.

24 Jul 2011 05:22 #105 by ปิ่นฟ้า
C:\fakepath\โต๊ะหมู่บูชาพระ.jpg
:) ขอบคุณค่ะ กับข้อความดีๆที่แบ่งปัน ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะคะ สาธุ:laugh:

Please Log in or Create an account to join the conversation.

Time to create page: 0.572 seconds
Users
3917
Articles
271
Articles View Hits
3480248