- Thank you received: 5
×
เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนา
คำสอนของครูอาจารย์ เหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร
27 Sep 2010 02:01 - 04 Oct 2010 02:56 #11
by analaya
อนาลยา
คำสอนของครูอาจารย์ เหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร was created by analaya
คำถามนี้เป็นคำถามที่คุณวิชัย ใจนา ถามมาใน Facebook และได้นำมารวมไว้ที่นี้เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ค่ะ
ขอบคุณ คุณวิชัย ใจนา ค่ะ
คุณวิชัย ใจนา > การภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนานั้น ของแต่ละครูอาจารย์ย่อมมีความหลากหลาย/แตกต่างกันบ้างไม่มากก็น้อย เช่น
บางครูอาจารย์สอนให้ข้ามทุกขเวทนาเช่น ปวดขาตอนนั่งขัดสมาธิ ให้ได้จึงจะดี
บางครูอาจารย์สอนให้สร้างนินิตเช่น เห็นดวงแก้วบ้าง เห็นองค์พระบ้าง...
บางครูอาจารย์สอนให้เคลื่อนไหวโดยมีconceptว่า "กายเคลื่อนไหวใจคิดนึก"เป็นต้น
แล้วแต่ละครูอาจารย์ก็จะบอกถึงสภาวะต่างๆของจิต แต่ละขั้น แต่ละขั้น
เช่น จิตเริ่มเข้าสู่สมาธิจะมีสภาวะเป็นอย่างไร
จิตเข้าสู่สมาธิจนมีสภาวะแยกรูป แยกนามออกจากกันได้(สามารถแยกเข่าที่ปวดนั้นเป็นเพียงกองสังขารร่างกายกองหนึ่ง ซึ่งถูกแยกเป็นอิสระกับกองของนามกองหนึ่งคือทุกขเวทนาอันเกิดจากการปวดเข่าอย่างมาก)ขณะที่แยกรูปหนึ่งกองและนามหนึ่งกอง อยู่นั้นเอง ใจคิดว่าการที่ตัวเรากำลังปวดเข่ามากอยู่นี้เพราะเราเองที่ไปรับเอาทุกขเวทนา(นาม)มาไว้รวมกับหัวเข่า(รูป)ของเราเอง เมื่อใจคิดดังนั้นแล้ว ใจก็คิดใหม่ว่า เราไม่จำเป็นต้องให้รูปกับนามมาอยู่รวมกันก็ได้นี่นา รูปก็ให้อยู่ส่วนรูป นามก็ให้อยู่ส่วนนาม ทันใจนั้น รู้สึกว่าความปวดเข่าหายไปเกือบครึ่ง ใจก็ปลอดโปร่งโล่งเบาเป็นอย่างมาก เป็นต้น
กระผมอยากจะถามว่า:
-พอจะจัดเป็นกลุ่ม ตามแนวทางของสภาวะต่างๆของสมาธิ เช่นครูอาจารย์สอนทำนองว่า มาถึงขั้นนี้จะมีสภาวะนี้ แล้วต่อไปจะเข้าถึงขั้นนี้จะมีสภาวะนี้ ว่าท่านไหนคล้ายคลึงกันบ้าง.
ขอบคุณ คุณวิชัย ใจนา ค่ะ
คุณวิชัย ใจนา > การภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนานั้น ของแต่ละครูอาจารย์ย่อมมีความหลากหลาย/แตกต่างกันบ้างไม่มากก็น้อย เช่น
บางครูอาจารย์สอนให้ข้ามทุกขเวทนาเช่น ปวดขาตอนนั่งขัดสมาธิ ให้ได้จึงจะดี
บางครูอาจารย์สอนให้สร้างนินิตเช่น เห็นดวงแก้วบ้าง เห็นองค์พระบ้าง...
บางครูอาจารย์สอนให้เคลื่อนไหวโดยมีconceptว่า "กายเคลื่อนไหวใจคิดนึก"เป็นต้น
แล้วแต่ละครูอาจารย์ก็จะบอกถึงสภาวะต่างๆของจิต แต่ละขั้น แต่ละขั้น
เช่น จิตเริ่มเข้าสู่สมาธิจะมีสภาวะเป็นอย่างไร
จิตเข้าสู่สมาธิจนมีสภาวะแยกรูป แยกนามออกจากกันได้(สามารถแยกเข่าที่ปวดนั้นเป็นเพียงกองสังขารร่างกายกองหนึ่ง ซึ่งถูกแยกเป็นอิสระกับกองของนามกองหนึ่งคือทุกขเวทนาอันเกิดจากการปวดเข่าอย่างมาก)ขณะที่แยกรูปหนึ่งกองและนามหนึ่งกอง อยู่นั้นเอง ใจคิดว่าการที่ตัวเรากำลังปวดเข่ามากอยู่นี้เพราะเราเองที่ไปรับเอาทุกขเวทนา(นาม)มาไว้รวมกับหัวเข่า(รูป)ของเราเอง เมื่อใจคิดดังนั้นแล้ว ใจก็คิดใหม่ว่า เราไม่จำเป็นต้องให้รูปกับนามมาอยู่รวมกันก็ได้นี่นา รูปก็ให้อยู่ส่วนรูป นามก็ให้อยู่ส่วนนาม ทันใจนั้น รู้สึกว่าความปวดเข่าหายไปเกือบครึ่ง ใจก็ปลอดโปร่งโล่งเบาเป็นอย่างมาก เป็นต้น
กระผมอยากจะถามว่า:
-พอจะจัดเป็นกลุ่ม ตามแนวทางของสภาวะต่างๆของสมาธิ เช่นครูอาจารย์สอนทำนองว่า มาถึงขั้นนี้จะมีสภาวะนี้ แล้วต่อไปจะเข้าถึงขั้นนี้จะมีสภาวะนี้ ว่าท่านไหนคล้ายคลึงกันบ้าง.
อนาลยา
Last edit: 04 Oct 2010 02:56 by analaya.
Please Log in or Create an account to join the conversation.
27 Sep 2010 02:08 #12
by analaya
อนาลยา
Replied by analaya on topic Re:คำสอนของครูอาจารย์ เหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร
อนาลยาตอบ > ค่ะ พิจารณณาเช่นนั้นก็ทำให้ข้ามเวทนาได้บางส่วน ด้วยใจที่ปล่อยวาง ถ้าเข้าใจเรื่องจิตเกิดดับทีละดวง ก็จะเข้าใจว่าทำไมความปวดหายไปเกือบครึ่ง ก็เพราะขณะที่จิตพิจารณาแยกรูป แยกนาม จิตที่ประกอบด้วยโทมสัสเวนาในทุกขเวทนาทางกายก็ดับไป เมื่อพิจารณาแย...กรูปนามเป็นสายติดต่อกันเช่นนั้น จิตก็อยู่ที่การพิจารณา จิตปรุงแต่งในทุขเวทนาก็น้อยลง(ยังมีแว็ปๆ เพราะที่บอกมาว่าหายไม่หมดแสดงว่ายังมีรับรู้อยู่แว็ปๆ) ทุกขเวทนาก็เหมือนจะเบาบางไป
หรืออีกทางหนึ่งเมื่อสมาธิเข้าสู่อุปจารสมาธิ นิวรณ์ก็จะหายไป ทุกขเวทนาทางกายไม่มี ส่วนหนึ่งที่ครูอาจารย์ท่านสอนให้ทำสมาธิก่อนทำวิปัสสนา ก็เพื่อให้นิวรณ์เบาบางลง จะได้ไม่ต้องประจันบานกับทุขเวทนามากจนท้อ เพราะบางท่านเจริญวิปัสสนาแล้ว เครียดจัด ด้วยคอยแต่จดจ้องสภวาวะมาก แบบว่าจะเอาให้ได้ มันก็ไม่เป็นธรมชาติ ก็จะฟุ้งซ่านมาก ซัดส่ายมากไปตามสภาวะ เพราะไม่รู้จักปล่อยวาง สมาธิก็ไม่เกิด นิวรณ์ก็เข้าครอบงำ
ประโยคข้างต้นที่ว่า "จิตเข้าสู่สมาธิจนมีสภาวะแยกรูป แยกนามออกจากกันได้"
ขอเรียนว่าน่าจะเป็นดังนี้ค่ะ
๑. เมื่อจิตเข้าสู่สมาธิ จะมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีปีติ สุข เอกัคคตา แต่ไม่สามารถแยกรูปนามได้
๒. การแยกรูปนาม เป็นวิปัสสนา มิใช่สมาธิค่ะ
๓. สภาวะที่ผู้ปฏิบัติสมามารถเห็นรูปนามแยกจากกันนั้น เป็นวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๑ ค่ะ ซึ่งหมายถึงว่าได้ปฏิบัติมามาก ทั้งสติ และสมาธิเจริญขึ้น (ไม่มีนิวรณ์)เห็นความเกิดดับของรูปนาม และเห็นจิต ถ้าไม่เห็นจิตแล้วจะเห็นว่าจิตกับกายนั้นเป็นคนละอย่างกันได้อย่างไรใช่มั้ยคะ
๔.การพิจารณาแยกรูปแยกนามด้วยความนึกคิด เป็นการพากย์ในใจ เป็นสมมุติไปหมด แต่ปัญญาในวิปัสสนา ไม่มีภาษา ไม่่ต้องคิดนึก เป็นสภาวะที่ไม่มีชื่อเรียก แต่ผู้ปฏิบัติก็จะเข้าใจด้วยการรู้เฉพาะหน้า ไม่ต้องคิดนึก ปฏิบัติไห้ตรงสภาวะ พยายามละสมมุติ เมื่อปัญญาจะเกิด เราไม่ทราบหรอกค่ะว่าวิปัสสนาปัญญาจะเกิดเมื่อใด ท่านจึงกล่าวว่าเป็นอกาลิโก ถ้ายังคิดนึกในสมมุติบัญญัติก็เป็นวิปัสสนึก เหมือนเดินทางอ้อมๆ เป็นการเสียเวลาเนิ่นนานในการปฏิบัติ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ปฏิบัติเลยนะคะ
หรืออีกทางหนึ่งเมื่อสมาธิเข้าสู่อุปจารสมาธิ นิวรณ์ก็จะหายไป ทุกขเวทนาทางกายไม่มี ส่วนหนึ่งที่ครูอาจารย์ท่านสอนให้ทำสมาธิก่อนทำวิปัสสนา ก็เพื่อให้นิวรณ์เบาบางลง จะได้ไม่ต้องประจันบานกับทุขเวทนามากจนท้อ เพราะบางท่านเจริญวิปัสสนาแล้ว เครียดจัด ด้วยคอยแต่จดจ้องสภวาวะมาก แบบว่าจะเอาให้ได้ มันก็ไม่เป็นธรมชาติ ก็จะฟุ้งซ่านมาก ซัดส่ายมากไปตามสภาวะ เพราะไม่รู้จักปล่อยวาง สมาธิก็ไม่เกิด นิวรณ์ก็เข้าครอบงำ
ประโยคข้างต้นที่ว่า "จิตเข้าสู่สมาธิจนมีสภาวะแยกรูป แยกนามออกจากกันได้"
ขอเรียนว่าน่าจะเป็นดังนี้ค่ะ
๑. เมื่อจิตเข้าสู่สมาธิ จะมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีปีติ สุข เอกัคคตา แต่ไม่สามารถแยกรูปนามได้
๒. การแยกรูปนาม เป็นวิปัสสนา มิใช่สมาธิค่ะ
๓. สภาวะที่ผู้ปฏิบัติสมามารถเห็นรูปนามแยกจากกันนั้น เป็นวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๑ ค่ะ ซึ่งหมายถึงว่าได้ปฏิบัติมามาก ทั้งสติ และสมาธิเจริญขึ้น (ไม่มีนิวรณ์)เห็นความเกิดดับของรูปนาม และเห็นจิต ถ้าไม่เห็นจิตแล้วจะเห็นว่าจิตกับกายนั้นเป็นคนละอย่างกันได้อย่างไรใช่มั้ยคะ
๔.การพิจารณาแยกรูปแยกนามด้วยความนึกคิด เป็นการพากย์ในใจ เป็นสมมุติไปหมด แต่ปัญญาในวิปัสสนา ไม่มีภาษา ไม่่ต้องคิดนึก เป็นสภาวะที่ไม่มีชื่อเรียก แต่ผู้ปฏิบัติก็จะเข้าใจด้วยการรู้เฉพาะหน้า ไม่ต้องคิดนึก ปฏิบัติไห้ตรงสภาวะ พยายามละสมมุติ เมื่อปัญญาจะเกิด เราไม่ทราบหรอกค่ะว่าวิปัสสนาปัญญาจะเกิดเมื่อใด ท่านจึงกล่าวว่าเป็นอกาลิโก ถ้ายังคิดนึกในสมมุติบัญญัติก็เป็นวิปัสสนึก เหมือนเดินทางอ้อมๆ เป็นการเสียเวลาเนิ่นนานในการปฏิบัติ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ปฏิบัติเลยนะคะ
อนาลยา
Please Log in or Create an account to join the conversation.
27 Sep 2010 02:10 #13
by analaya
อนาลยา
Replied by analaya on topic Re:คำสอนของครูอาจารย์ เหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบคำถามว่า อาจารย์ท่านไหนสอนคล้ายคลึงกันบ้างนั้น
คำถามถามถึง "สภาวะของสมาธิ" อันนี้กว้างมากนะคะ เพราะวิธีการทำสมาธินั้นต้องมีการบริกรรม หรือเพ่งนิมิต และผลของสมาธิคือความสงบและอภิญญา เมื่อมีการเพ่งนิมิต สภาวะที่จะเกิดเป็นเรื่องส่วนบุคคลมากๆ... บางท่านก็พบกับสภาวะที่โลดโผน บางท่านก็สงบเรียบๆ เงียบในสมาธิดิ่งไปอย่างเดียว
แต่หากจะกล่าวถึงว่า "ขั้น" ของสมาธิ อย่างที่ถามมา ก็อาจกล่าวได้ว่า
อาจารย์ที่ถ่ายทอดคำสอนตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้นั้น ท่านสอนเหมือนกันหมดค่ะ เพราะการเจริญสมาธิ ในขั้นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมธิ ก็เป็นไปตามลำดับ มีวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข อกัคคตา เป็นต้น ก็ได้ยินได้ฟังครูอาจารย์ท่านก็สอนเช่นนี้ทุกท่าน แต่รายละอียดของสภวะการดำเนินไปของจิตจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด คิดว่าท่านสอนตามประสพการณ์ของแต่ละท่าน แต่โดยรวมหลักๆ แล้ว ไม่ต่างกัน ค่ะ
เคยฟังของท่านหลวงพ่อพุธดูหรือไม่คะ ท่านอธิบายเรื่องทางดำเนินจิตในการเจริญสมาธิไว้ละเอียดมาก และบอกขั้นๆไว้ด้วยค่ะ จะได้ทบทวนกับการปฏิบัติที่ทำอยู่ได้ค่ะ ท่านอธิยายถึงจิตที่รวมแบบสมาธิ ว่าแตกต่างกับจิตที่รวมในวิปัสสนาไว้ด้วย อันนี้จะได้ไม่หลงทางกัน
หวังว่าคงตอบตรงที่ตั้งใจถามนะคะ
อนุโมทนาค่ะ
คำถามถามถึง "สภาวะของสมาธิ" อันนี้กว้างมากนะคะ เพราะวิธีการทำสมาธินั้นต้องมีการบริกรรม หรือเพ่งนิมิต และผลของสมาธิคือความสงบและอภิญญา เมื่อมีการเพ่งนิมิต สภาวะที่จะเกิดเป็นเรื่องส่วนบุคคลมากๆ... บางท่านก็พบกับสภาวะที่โลดโผน บางท่านก็สงบเรียบๆ เงียบในสมาธิดิ่งไปอย่างเดียว
แต่หากจะกล่าวถึงว่า "ขั้น" ของสมาธิ อย่างที่ถามมา ก็อาจกล่าวได้ว่า
อาจารย์ที่ถ่ายทอดคำสอนตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้นั้น ท่านสอนเหมือนกันหมดค่ะ เพราะการเจริญสมาธิ ในขั้นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมธิ ก็เป็นไปตามลำดับ มีวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข อกัคคตา เป็นต้น ก็ได้ยินได้ฟังครูอาจารย์ท่านก็สอนเช่นนี้ทุกท่าน แต่รายละอียดของสภวะการดำเนินไปของจิตจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด คิดว่าท่านสอนตามประสพการณ์ของแต่ละท่าน แต่โดยรวมหลักๆ แล้ว ไม่ต่างกัน ค่ะ
เคยฟังของท่านหลวงพ่อพุธดูหรือไม่คะ ท่านอธิบายเรื่องทางดำเนินจิตในการเจริญสมาธิไว้ละเอียดมาก และบอกขั้นๆไว้ด้วยค่ะ จะได้ทบทวนกับการปฏิบัติที่ทำอยู่ได้ค่ะ ท่านอธิยายถึงจิตที่รวมแบบสมาธิ ว่าแตกต่างกับจิตที่รวมในวิปัสสนาไว้ด้วย อันนี้จะได้ไม่หลงทางกัน
หวังว่าคงตอบตรงที่ตั้งใจถามนะคะ
อนุโมทนาค่ะ
อนาลยา
Please Log in or Create an account to join the conversation.
12 Apr 2011 09:17 #54
by chupark
Replied by chupark on topic ตอบกลับ: คำสอนของครูอาจารย์ เหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร
ครูบาจารย์ในที่นี้หมายถึงพระอริยะสงฆ์ขององค์บรมสุคต สอนโดยการให้อุบายต่างกันในเบื้องต้นแต่ที่สุดเหมือนกันคือให้เห็นรูปนามขันธ์ห้าเป็นไตรลักษณ์และเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ทุกท่าน สั้นๆง่ายๆนะ
The following user(s) said Thank You: analaya
Please Log in or Create an account to join the conversation.
12 Apr 2011 11:42 #56
by analaya
อนาลยา
Replied by analaya on topic ตอบกลับ: คำสอนของครูอาจารย์ เหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร
สาธุค่ะคุณ chupark
อนาลยา
Please Log in or Create an account to join the conversation.
Time to create page: 0.404 seconds