× เรื่องเกี่ยวกับหลักธรรม คำสอนในทางพระพุทธศาสนา

สติมา ทุกขากระเด็น

09 Apr 2011 09:47 #46 by gluaynoman
สติมาแล้วทุกข์จะหมดไปได้ไง
ผมขอเขียนตามแบบฉบับของผม ตามแนวหลวงพ่อสมบูรณ์นะครับ
การมีสติ หมายถึงการดูความรู้สึก สุขทุกข์อะไรนี่อยู่ที่ความรู้สึกใช่ไม๊ครับ
ถามจัง มีใครเค้าจะตอบล่ะ เขียนๆ ไปเหอะ
ครับๆ ในขณะที่เรากำลังทุกข์ด้วยเรื่องอะไรก็ตาม
ก็ มาดูความรู้สึก ดูที่มันทุกข์นี่แหละครับ
พอเราดูความรู้สึกปั๊ป จิตจะเปลี่ยนหน้าที่ทันที
จากผู้กำลังทุกข์ เป็นผู้ดูความทุกข์ จากผู้รู้สึก เป็นผู้ดูความรู้สึก
เหมอนนักมวยกำลังถูกต่อยบนเวที กระโดดพึ่บ ออกมาเป็นคนดู
ก็ไม่ถูกต่อย ก็ไม่เจ็บ มายืนดูเฉยๆ
ขณะเดียวกัน ความทุกข์เองก็หมดความปรุงแต่ง
คือตอนที่ทุกข์นี่จิตปรุงแต่งมันอยู่ พอจิตกระโดดออกไปดู
มันก็หมดการปรุงแต่ง นักมวยไม่มีคู่ชกด้วย
มันก็เลยเลิก ดับไป นักมวยลงเวทีไป
นี่ก็เป็นขบวนการมีสติที่ถูกต้อง หยุดขบวนการปรุงแต่ง
ทุกข์ดับ มีแต่การดู ไม่มีผู้ทุกข์
นะครับ เปลี่ยนสถานะจากผู้ทุกข์ มาเป็นผู้ดู
สิ่งนี้เหมือนเป็นความลับของธรรมชาติ
แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงค้นพบมาจนได้

ทีนี้ก็มีการบ่นๆ เข้ามา ว่าทำไมมีสติแล้ว ทุกข์ไม่ดับ
ก็เพราะมีสติไม่ถูกวิธี ไม่ได้ออกจากการปรุงแต่ง
ไม่ได้โดดลงจากเวทีมวย ยังไปยืนดูอยู่บนเวที
เป็นไงล่ะครับ ก็ถูกชกต่อยน่ะซิครับ ยังอยู่บนเวทีนี่ ทุกข์ก็ไม่ดับ
ไม่ได้เป็นผู้ดูจริงๆ ยังมีการพัวพันอยู่กับความทุกข์อันนั้นอยู่
กระโดดออกมาไม่เป็น รู้ว่าต้องดู แต่ดันไปยืนดูบนเวที
ผู้ใดเป็นอย่างนี้ ต้องแก้ไขการฝึกสติใหม่ ทำไงล่ะครับ
ไม่บอก...ไปถามหลวงพ่อสมบูรณ์เอาเองครับ (พูดจาน่าต่อยไม๊ครับ)

มีอีกกรณีนะครับ ดูแล้วเห็นทุกข์แล้ว ทุกข์ลดลง แต่ยังไม่ดับ
ทุกข์ยังคาอยู่ในจิตใจ แต่เห็นนะ เป็นผู้ดู อันนี้คือ สติยังไม่แข็งแรงพอน่ะครับ
ยังครึ่งๆ กลางๆ อยุ่ เหมือนนักมวยจะออกจากเวที แต่ยังคาเชือกอยู่
ยังมีโดนต่อยประปราย ก็ยังเจ็บอยู่ ยังทุกข์อยู่แหละครับ
ถ้าเป็นอย่างนี้ต้องอาศัยคาถาช่วยนิดนึงครับ
"ทนได้" คาถานี้เลย คาถาของหลวงพ่อ ศักดิ์สิทธิ์มาก ไม่เชื่อลองดู
ไม่ใช่ "ต้องทน" นะครับ "ทนได้" ทนด้ายยยยยยย นั่นแหละ
ไม่เหลือวิสัยของเราหรอกครับ มันก็คือ ขันติ นั่นเอง
เรามักแปลกันว่า ขันติ คือความอดทน อันนั้นมันถูกนะครับ
แต่ไม่ work ครับ ต้อง ทนด้ายยยยยย นี่ขลังกว่า
กรณีที่ทุกข์มันแก่กล้ากว่าสติ ต้องใช้คาถาช่วย

ฝึกเข้านะครับ เป็นผู้ดู อย่าเป็น ผู้ทำ ฝึกๆๆๆ แล้วชีวิตจะดีขึ้น
ถ้าไม่มีทุกข์ซะอย่างอะไรๆ จะดีไปหมดเลยครับ
นะครับ ให้เก่งๆ ชนิดที่ว่า สติมา ทุกขากระเด็นไปเลยครับ

Please Log in or Create an account to join the conversation.

12 Apr 2011 07:15 #47 by chupark
สติเป็นเรื่องของปัจจุบันอารมฌ์ ทุกข์ตั้งอยู่ไม่ได้ในปัจจุบันอารมฌ์ ดังนั้นสติมาทุกข่จึงกระเด็น ขอตอบสั้นๆแบบโง่ๆ

Please Log in or Create an account to join the conversation.

12 Apr 2011 11:39 - 27 Apr 2011 15:12 #55 by analaya
ก่อนอื่นต้องขอเรียนว่า
พระพุทธองค์ทรงแสดงฐานของสติไว้ว่ามีทั้งกายและจิต
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจะมีสติอยู่ที่รูปก็ได้ นามก็ได้ คือที่กายก็ได้ ที่จิตก็ได้
"การมีสติ" จึงมิใช่หมายถึงเพียงการดูความรู้สึกเพียงอย่างเดียว

หากจะกล่าวให้ตรงคำสอนในทางพระพุทธศาสนา
คำว่า "ความรู้สึก" ท่านหมายถึง "เวทนา"
คือ ความรู้สึก สุข ทุกข์ และ เฉยๆ
ซึ่งก็ยังไม่ใช่การดูจิตทั้งหมด

แล้วจิตมีอะไรให้ดูบ้าง
มีอาการในจิต (ทรงใช้คำว่าเจตสิก) เช่น รัก โลภ โกรธ หลง สงสัย ศรัทธา เป็นต้น
มีความนึกคิด
มีสภาพรู้ หรือผู้รู้ (ครูอาจารย์บางท่านเรียกว่า "ผู้รู้" แต่อนาลยาเรียอกว่า "สภาพรู้")
จึงควรปฏิบัติให้มีสภาพรู้ หรือเป็นผู้รู้ทั้งในกาย ในเวนทนา(ความรู้สึก) ในจิต และในธรรม

เมื่อสติอยู่กับปัจจุบันอารมณ์อย่างต่อเนื่อง
มีสภาพรู้อารมณ์ที่มากระทบอยู่ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ทุกข์ในปัจจุบันอารมณ์ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ หรือตั้งอยู่ไม่ได้นาน
เรียกว่าดับทุกข์ได้ชั่วคราว
แต่มิใช่ใม่มีทุกข์ ทุกข์ยังมีอยู่ แต่เรายังไม่เห็นเพราะความไม่รู้ (อวิชชา)
มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ดับทุกข์ทางใจได้โดยถาวร
แม้กระนั้น ทุขเวทนาในสังขารคือร่างกายท่านก็ยังมีอยู่ แต่จิตท่านไม่ปรุงแต่งในทุกขเวทนาทางกายเหล่านั้น

ส่วนปุถุชน ตลอดจนถึงพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
แม้สามารถ "หยุดขบวนการปรุงแต่ง" และมีสติสัมปชัญญะที่เฉียบคมเพียงใด
ล้วนยังกล่าวไม่ได้ว่า "เป็นผู้ที่ทุกข์ดับแล้ว มีแต่การดู ไม่มีผู้ทุกข์"
เพราะยังไม่สามารถทับทุกข์ในสังสารวัฏได้ เป็นต้น

ก็อยู่ที่เจตนาว่า การปฏิบัตินี้ เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นอย่างถาวร
หรือเพื่อให้ "รู้สึก" ว่า ทุกข์ลดลง ปล่อยวางความทุกข์ได้ชั่วคราวเพราะการเป็นเพียงผู้เฝ้าดูจึงดูเหมือนไม่มีความทุกข์
หากดับทุกข์โดยถาวรได้ง่ายๆ ด้วยเพียงการฝึกสติให้แข็งกล้าทำให้มีแต่ผู้ดูที่ไม่รู้จักทุกข์ คือดูไปเรื่อยๆๆๆๆๆ
เช่นนี้คงมีพระอรหันต์เต็มโลก

การเป็นผู้มีสติ (อย่าลืมสัมปชัญญะด้วย) มีสภาพรู้ เห็นสภาพรู้ เห็นผู้รู้ เห็นผู้ดู ชัดเจน
แยกแยะออกได้ว่า ธรรมชาติใดเป็นสภาพรู้ สภาพใดเป็นอารมณ์ที่มากระทบ
อารมณ์ใดที่จิตปรุงแต่ง
การปฏิบัติได้เช่นนี้ จะว่ายาก... ก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย
มีนักปฏิบัติจำนวนมาก ปฏิบัติได้ เห็นได้ชัดเจนเช่นที่กล่าวมานี้
จนปล่อยวางความทุกข์ได้ระดับหนึ่ง

สะสมเพิ่มพูนตทังคปหาณคือการดับทุกข์โดยชั่วคราวนี้ให้ต่อเนื่องเป็นนิสัย
จงเป็นผู้เจริญทั้งสติ และสัมปชัญญะ
จนเห็นความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้่นแล้วดับไป เป็นธรรมดา
โยนิโสมนสิการให้ถูกว่า ทุกข์ไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ
แต่เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ทรงสอนให้กำหนดรู้
"กำหนดรู้" นี้มีความหมายที่ทรงอธิบายไว้โดยละเอียด
รู้ด้วยปัญญาโดยการทำกิจให้สมบูรณ์ กิจที่ต้องกระทำต่อทุกข์มีอะไรบ้าง
เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาให้เข้าใจ และปฏิบัติให้ถึง จึงจะดับทุกข์ได้จริง

สุดท้ายนี้ขอฝากความเห็นไว้ว่า
สติที่แข็ง แต่ไม่มีสามธิเข้าประกอบ ย่อมไม่ควรแก่การงาน
สติ สมาธิที่สมำ่เสมอกัน ประชุมกัน พร้อมเพรียงกันนั้นแหละ
ควรแก่การงาน

ขอบคุณและ อนุโมทนา คุณ Gluaynoman และ คุณ chupark ที่เข้ามาร่วมแชร์ค่ะ

อนาลยา

Please Log in or Create an account to join the conversation.

12 Apr 2011 13:01 #57 by chupark
ขอขยายความสักนิดเพื่อให้เข้าใจ ขออภัยที่เขียนตอบสั้นๆเพราะพิมพ์ไม่ถนัด ปกติใจของเราไม่อยู่ในปัจจุบันอารมฌ์หรอก มันไหวไปอดีตกับอนาคต แต่มันก็ไม่ได้นั่งไทม์เมชชีนไปไหนหรอก มันก็อยู่ในขันธ์ห้านี่แหละ เพียงแต่มันทรงตัวอยู่ในปัจจุบันไม่ได้ ท่านจึงให้เราฝึก ปัจจุบันเป็นที่เกิดของสติ อย่างอื่นเกิดไม่ได้ ทุกข์ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะปัจจุบันก็เปลื่ยนตลอด ดังนั้นถ้าเอาแค่สติให้จริง ให้ทันปัจจุบัน ให้ติดต่อ ให้เป็นสาย ทุกข์อยู่ไม่ได้หรอก คราวนี้ที่ว่าสติอันไม่ประกอบด้วยสมาธิ ไม่ควรแก่งาน พูดถูกแต่ไม่ถูกเพราะมันเป็นสติคนระดับ เพราะสติแบบนั้นมีทุกคนไม่ต้องฝึกก็มีกันตั้งแต่เกิดแล้ว ส่วนสติในปัจจุบันอารมฌ์นั้นต้องฝึกต้องอาศัยสมาธิเป็นบาทฐาน เอาล่ะนะ พอก่อนนะ พิมพ์ไม่ถนัด

Please Log in or Create an account to join the conversation.

12 Apr 2011 13:38 #58 by analaya

ขอขยายความสักนิดเพื่อให้เข้าใจ ขออภัยที่เขียนตอบสั้นๆเพราะพิมพ์ไม่ถนัด ปกติใจของเราไม่อยู่ในปัจจุบันอารมฌ์หรอก มันไหวไปอดีตกับอนาคต แต่มันก็ไม่ได้นั่งไทม์เมชชีนไปไหนหรอก มันก็อยู่ในขันธ์ห้านี่แหละ เพียงแต่มันทรงตัวอยู่ในปัจจุบันไม่ได้ ท่านจึงให้เราฝึก ปัจจุบันเป็นที่เกิดของสติ อย่างอื่นเกิดไม่ได้ ทุกข์ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะปัจจุบันก็เปลื่ยนตลอด ดังนั้นถ้าเอาแค่สติให้จริง ให้ทันปัจจุบัน ให้ติดต่อ ให้เป็นสาย ทุกข์อยู่ไม่ได้หรอก คราวนี้ที่ว่าสติอันไม่ประกอบด้วยสมาธิ ไม่ควรแก่งาน พูดถูกแต่ไม่ถูกเพราะมันเป็นสติคนระดับ เพราะสติแบบนั้นมีทุกคนไม่ต้องฝึกก็มีกันตั้งแต่เกิดแล้ว ส่วนสติในปัจจุบันอารมฌ์นั้นต้องฝึกต้องอาศัยสมาธิเป็นบาทฐาน เอาล่ะนะ พอก่อนนะ พิมพ์ไม่ถนัด


ค่ะ สติในปัจจุบันอารมฌ์นั้นต้องฝึกต้องอาศัยสมาธิเป็นบาทฐาน จึงได้กล่าวว่าสติอันประกอบด้วยสมาธินั้นควรแก่การงาน เพราะเมื่อเป็นบาทฐานแล้ว สมาธิก็มิได้หายไปไหน ถ้าปฏิบัติอย่างต่อเนื่องปล่อยวาง สมาธิก็ยังคงอยู่คู่กันกับสติในปัจจุบันอารมณ์

ส่วนที่ท่านกล่าวว่าสติระดับที่ตำ่กว่านั้น มีในทุกคนไม่ต้องฝึกก็มีตั้งแต่เกิด ข้อนี้ไม่ทราบค่ะ เพราะเริ่มเป็นบัญญัติที่ว่าหากจะให้เข้าใจตรงกัน คงต้องอธิบายความหมายของสติทีมีมาแต่เกิด และไม่แน่ใจว่าสติแบบไหนที่มีในทุกคนต่ั้งแต่เกิด และมีความเกื้่อกูลต่อการปฏิบัติธรรมเพียงใด ถ้ามีเวลาว่าง กรุณาอธิบายสั้นๆ ก็ได้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

อนาลยา

Please Log in or Create an account to join the conversation.

12 Apr 2011 15:53 - 12 Apr 2011 16:05 #59 by chupark
ขออภัยที่มีความเห็นแย้งท่านอนาลยาที่ว่าสติที่แข็ง แต่ไม่มีสมาะธิเข้าประกอบ ย่อมไม่ควรแก่การงาน เพราะผมมีความเห็นว่าสมาธิเข็งแต่ไม่มีสติเข้าประกอบ ย่อมไม่ควรแก่การงานต่างหาก เพราะสติยิ่งมากยิ่งดี สติเป็นวาสนาของมนุษย์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิต ที่ควรเจริญให้ยิ่ง ถึงไม่ฝึกมันก็มีอยู่เพียงแต่ไม่ทรงตัว มีเป็นขณะขาดบ่อย สติแบบนี้เกื้อกูลต่อการงานแต่ต้องเจริญให้ยิ่ง จนเป็นมหาสตินั้นแล

Please Log in or Create an account to join the conversation.

12 Apr 2011 16:04 #60 by analaya

ขออภัย


ขออภัยเช่นกันหากทำให้คุณรู้สึกว่าต้องขออภัยค่ะ
ซึ่งมิได้มีเจตนาค่ะ

ขอบคุณ และอนุโมทนาที่เข้ามาแชร์ค่ะ

อนาลยา
The following user(s) said Thank You: chupark

Please Log in or Create an account to join the conversation.

12 Apr 2011 16:11 #61 by chupark
ชื่นชมครับไม่ได้มีเจตนาให้ท่านต้องขออภัยผม เพียงผมไม่ถนัดการพิมพ์ครับเลยเข้าใจกันคลาดเคลื่อน

Please Log in or Create an account to join the conversation.

12 Apr 2011 16:15 #62 by analaya

ชื่นชมครับไม่ได้มีเจตนาให้ท่านต้องขออภัยผม เพียงผมไม่ถนัดการพิมพ์ครับเลยเข้าใจกันคลาดเคลื่อน


คุณมีจิตใจดีค่ะ

^__^

อนาลยา

Please Log in or Create an account to join the conversation.

27 Apr 2011 08:52 #63 by umaree
การกำหนดรู้ ทำให้สติเกิดขึ้นบ่อยๆ จึงค่อยๆ ตามทันสิ่งที่เกิด และเพิ่งดับไป ในจิต...การฝึกกำหนดรู้บ่อยๆ ทำให้เห็นสภาวะธรรมะที่เกิดได้ และมีความชำนาญในการพิจารณาตามดู รู้อารมณ์ที่ปรากฎ และดับไปได้...จึงจะเห็นความไม่เที่ยง โกรธไม่เที่ยง ขณะที่เห็นว่า โกรธ ขณะนั้นโกรธก็ดับไปแล้ว และพอหลงลืมสติ ไปนึกคิด โกรธก็กลับมา....เป็นต้น...เพราะฉะนั้นการกำนดรู้ จึงทำให้ สติมีกำลัง...ใช่หรือไม่ค่ะ....สาธุ สาธุ อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ...

Please Log in or Create an account to join the conversation.

27 Apr 2011 08:58 #64 by gluaynoman
การเจริญสติปัฎฐาน โดยส่วนมากมักจะมองไปที่ สติปัฎฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
ซึ่งการที่ผมพูดถึงการดูความรู้สึก ก็มักจะเข้าใจว่าดูเวทนาอย่างเดียว ไม่ครบทุกฐาน
ซึ่งมองแบบนี้ก็ถูก แต่ผมขอเสนอมุมมองแบบนี้นะครับ

ในปฏิจจสมุปบาท เมื่อผัสสะแล้วจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนา และก็จะปรุงตัณหา อุปาทานต่อไป
ปรุงไปจนถึงทุกข โทมนัส สุปายสาปิ ถ้าเราไม่มีสติ วงจรนี้ก็จะดำเนินไปจนครบ
เพราะฉะนั้น ต้นทางของความทุกข์จึงอยู่ที่เวทนา ถ้าเราดูที่ความรู้สึก ดูที่เวทนา
ดักต้นทางของมัน ดูด้วยจิตที่เป็นอุเบกขา ไม่ปรุงแต่งต่อ
ความทุกข์ย่อมเกิดไม่ได้ วงจรปฏิจจสมุปบาท ถูกหักลง เพราะขาดเหตุปัจจัย
เป็นทางปฏิบัติทางหนึ่ง ซึ่งแบบนี้ไม่ต้องพูดถึง กาย เวทนา จิต ธรรมเลย
มันเกิดขึ้นในตัวอยู่แล้ว การเห็นเวทนาจะเป็นประตู ไปสู่การเห็น กาย จิต และธรรม
เนื่องจาก เป็นต้นทางการปรุงแต่งทุกข์ มันมีความเชื่อมโยงกันอยู่แล้ว

วงจรปฏิจจฯ ถูกหักลงบ่อยๆ สติมากขึ้น เราจะพบวงจรใหม่
ปฏิจจฯ ฝ่ายดับครับ เวทนาดับ ผัสสะดับ ไล่ย้อนไปถึง อวิชชาดับ
แรกๆ อาจดับชั่วคราว เป็นตคังคะ ต่อไปบ่อยๆ ดับมากเข้า
จะเห็นความจริงของความดับนั้น เห็นความเกิด ดับ เห็นความไม่ใช่ตัวตน
เห็นว่าเป็นสักว่าธรรมชาติอย่างหนึ่งเท่านั้น
และเมื่อนั้นก็สามารถนำเราไปสู่จุดหมายปลายทาง ดับเป็นสมุทเฉท
เมื่อเห็นความจริงสูงสุด หมดทุกข์ได้
การมีสติ ดูความรู้สึกที่ผมหมายถึง มีอานิสงค์แบบนี้ครับ

Please Log in or Create an account to join the conversation.

27 Apr 2011 15:58 - 27 Apr 2011 16:10 #65 by analaya

การกำหนดรู้ ทำให้สติเกิดขึ้นบ่อยๆ จึงค่อยๆ ตามทันสิ่งที่เกิด และเพิ่งดับไป ในจิต...การฝึกกำหนดรู้บ่อยๆ ทำให้เห็นสภาวะธรรมะที่เกิดได้ และมีความชำนาญในการพิจารณาตามดู รู้อารมณ์ที่ปรากฎ และดับไปได้...จึงจะเห็นความไม่เที่ยง โกรธไม่เที่ยง ขณะที่เห็นว่า โกรธ ขณะนั้นโกรธก็ดับไปแล้ว และพอหลงลืมสติ ไปนึกคิด โกรธก็กลับมา....เป็นต้น...เพราะฉะนั้นการกำนดรู้ จึงทำให้ สติมีกำลัง...ใช่หรือไม่ค่ะ....สาธุ สาธุ อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ...


ค่ะ คุณ umaree การกำหนดรู่้คือการเจริญสติ สติมีกำลังมากขึ้น กระชั้นขึ้นด้วยการเจริญสติให้ตรงสภาวะ คือสภาพรู้ที่ไม่มีการเรียกชื่อในใจ เป็นต้น และเจริญสติอย่างต่อเนื่อง เป็นจจุบันจิตก็ไม่ไหลไปสู่อดีต-อนาคต ด้วยความปล่อยวางเป็นกลาง ก็จะทำให้สติมีกำลังมากขึ้นๆ พร้อมสมาธิก็บวกขึ้นมา เป็นมหาสติ มหาสมาธิค่ะ ถึงตอนนั้น ไม่ต้องจัดแจง ทุกอย่างดำเนินไปอย่างธรรมชาติ รับรู้ เฝ้าดู ได้อย่างละเอียดละออ

เห็นความเกิดขึ้นและดับไป ดีค่ะ.... เรียกว่าเห็นวิเศษณลักษณะของธรรมชาติที่แตกต่างกันเกิดขึ้นและดับไป

เห็นไตรลักษณ์ ยิ่งดีค่ะ เรียกว่าเห็น สามัญญลักษณะ คือความเป็นธรรมดาของธรรมชาตินั้นๆ ว่าเปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้

เห็นช่นนี้เรียกว่า เห็นถูก เป็นสัมมาทิฏฐิค่ะ ซึ่งเป็นข้อแรกในองค์มรรค ๘

เพิ่มเติมอีกนิดค่ะ ขณะที่เห็นการเกิดดับโดยสภาวะนะไม่มีชื่อเรียกนะคะ มีแต่สภาพรู้ แต่ไม่มีชื่อเรียก ไม่มีมโนภาพ มีแต่สภาพรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง พยายามกำหนดรู้อาการในจิต กำหนดรู้ความรู้สึกในจิต โดยไม่ต้องพากย์ในใจว่าคืออะไรดูนะคะ เพราะถ้ายังพากย์อยู่ในใจว่ารู้อะไร อะไรเกิด อะไรดับ ก็ยังเกี่ยวเนื่องด้วยใช้ความคิดอยู่ เดี่๋ยวจะเป็นวิปัสสนึก ไม่ใช่วิปัสสนาค่ะ ตัวอย่างเช่นอาการโกรธอย่างที่คุณเล่ามา ต่อไปลองสังเกตุดูว่า ที่ขณเห็นความโกรธเกิดขึ้นแล้วดับไปน่ะ มีพากย์ในใจบ้างไหมคะ หรือว่าแค่รู้ ว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะให้รู้สึกในจิตได้เช่นนี้ๆๆๆ เป็นอาการอย่างหนึ่งเกิดขึ่้นแล้วดับไป เช่นนี้ และเนื่องจากจิตว่องไวมากจึงทำให้เกิดการคิดต่อไปแล้วรู้ว่า ที่เพิ่งดับไปนั้นคือโกรธ หมายความว่ารู้ว่าคือโกรธหลังจากเห็นความเกิดดับแล้วน่ะค่ะ อธิบายยากเหมือนกันค่ะ ไม่ทราบว่าทำให้คุณงงหรือเปล่าค่ะ

ขออนุโมทนาในความปฏิบัติดีด้วยค่ะ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ

อนาลยา

Please Log in or Create an account to join the conversation.

27 Apr 2011 18:04 #66 by analaya

การเจริญสติปัฎฐาน โดยส่วนมากมักจะมองไปที่ สติปัฎฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
ซึ่งการที่ผมพูดถึงการดูความรู้สึก ก็มักจะเข้าใจว่าดูเวทนาอย่างเดียว ไม่ครบทุกฐาน
ซึ่งมองแบบนี้ก็ถูก แต่ผมขอเสนอมุมมองแบบนี้นะครับ

ในปฏิจจสมุปบาท เมื่อผัสสะแล้วจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนา และก็จะปรุงตัณหา อุปาทานต่อไป
ปรุงไปจนถึงทุกข โทมนัส สุปายสาปิ ถ้าเราไม่มีสติ วงจรนี้ก็จะดำเนินไปจนครบ
เพราะฉะนั้น ต้นทางของความทุกข์จึงอยู่ที่เวทนา ถ้าเราดูที่ความรู้สึก ดูที่เวทนา
ดักต้นทางของมัน ดูด้วยจิตที่เป็นอุเบกขา ไม่ปรุงแต่งต่อ
ความทุกข์ย่อมเกิดไม่ได้ วงจรปฏิจจสมุปบาท ถูกหักลง เพราะขาดเหตุปัจจัย
เป็นทางปฏิบัติทางหนึ่ง ซึ่งแบบนี้ไม่ต้องพูดถึง กาย เวทนา จิต ธรรมเลย
มันเกิดขึ้นในตัวอยู่แล้ว การเห็นเวทนาจะเป็นประตู ไปสู่การเห็น กาย จิต และธรรม
เนื่องจาก เป็นต้นทางการปรุงแต่งทุกข์ มันมีความเชื่อมโยงกันอยู่แล้ว

วงจรปฏิจจฯ ถูกหักลงบ่อยๆ สติมากขึ้น เราจะพบวงจรใหม่
ปฏิจจฯ ฝ่ายดับครับ เวทนาดับ ผัสสะดับ ไล่ย้อนไปถึง อวิชชาดับ
แรกๆ อาจดับชั่วคราว เป็นตคังคะ ต่อไปบ่อยๆ ดับมากเข้า
จะเห็นความจริงของความดับนั้น เห็นความเกิด ดับ เห็นความไม่ใช่ตัวตน
เห็นว่าเป็นสักว่าธรรมชาติอย่างหนึ่งเท่านั้น
และเมื่อนั้นก็สามารถนำเราไปสู่จุดหมายปลายทาง ดับเป็นสมุทเฉท
เมื่อเห็นความจริงสูงสุด หมดทุกข์ได้
การมีสติ ดูความรู้สึกที่ผมหมายถึง มีอานิสงค์แบบนี้ครับ


ขอบคุณค่ะคุณ gluaynoman ทีเข้ามาแชร์
ดิฉันเข้าใจแนวทางการปฏิบัติที่คูณเขียนมาค่ะ
แต่ขออนุญาติแสดงความเห็นในส่วนที่คุณอธิบายมาค่ะ

เรื่องที่ว่า "การเจริญสติปัฎฐาน โดยส่วนมากมักจะมองไปที่ สติปัฎฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม" นั้น ดิฉันกลับคิดว่า

พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงการเจริญสติปัฎฐาน คือสติปัฎฐาน 4 ไว้ว่า มี กาย เวทนา จิต ธรรม
แต่โดยส่วนมากมักจะมองไปที่ฐานใดฐานหนึ่งที่ตนถนัด แล้วยึดปฏิบัติที่ฐานเดียว เช่นอานาปานสติ ซึ่งเป็นกาย ก็ดูที่ลมหายใจอย่างเดียว เป็นต้น
การจะเอาสติกำหนดไว้ที่ฐานใด ก็ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติเช่น ถ้าอยู่ที่กาย ถือว่าเป็นกรรมฐานที่ง่าย เพราะกายเป็นสภวะที่หยาบ เห็นได้ง่าย เช่นอิริยาบทต่างๆ หรือลมหายใจเป็นต้น

ส่วนเวทนา เหมาะสำหรับผู้ที่จิตใจเข้มเข็งกล้าหาญ ยิ่งเมื่อเกิดเวทนาทางกายเช่นนั่งสมาธินานๆ แล้วปวดเมื่อย บางท่านก็ประจันบานกับเวทนา บางท่านก็หนีเวทนาเพราะสู้ไม่ไหว ส่วนเวนทาที่เป็นสุขเรามักชอบไม่ค่อยมีปัญหา มีจิตพระอรหันต์เท่านั้นที่ เป็นปกติอุเบกขา

ส่วนปุถุชนที่ "ดูที่เวทนา ดักต้นทางของมัน ดูด้วยจิตที่เป็นอุเบกขา ไม่ปรุงแต่งต่อ ความทุกข์ย่อมเกิดไม่ได้" การปฏิบัติเช่นนี้อาจจะต้องทบทวนว่า กำลังจัดแจงหรือไม่ การปฏิบัติวิปัสสนาไม่ต้องดักต้นทางปลายทาง ต้องไม่เจตนาจัดแจงสภวาวะว่าจะดู หรือไม่ดูอะไร หากว่าตั้งต้นหรือตั้งธงไว้เช่นนั้น จะเรียกว่าดูด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาไม่ปรุงแต่งได้อย่างไรคะ ในเมื่อปรุงแต่งตั้งแต่ยังไม่ปฏิบัติแล้ว
ดิฉันไม่ได้กล่าวว่า การดูเวทนาโดยไม่ดูฐานอิื่นเลยเป็นการผิด หรือเป็นอุปสรรคต่อการเห็นธรรม แต่ตรงนี้คงต้องถามต่อว่า แล้วมีใครบ้างที่ดูเวทนาอย่างเดียวได้ทั้งวัน เวทนาเกิดกับจิตทุกดวงจริง แต่ใครดูเวทนาในจิตได้ทันทุกดวง ที่จริงแล้ว...เมื่อไม่ทันก็ไม่เป็นไร แต่ระหว่างที่ไม่ทันนั้น หมายความว่าไม่ต้องดูอะไรเลยหรือ....

ดังนั้นจึงทรงแสดงไว้ถึง สี่ฐาน
เพื่อผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องตามสมควร ครูอาจารย์หลายท่านก็สอนสติปัฏฐานทั้งสี่ ซึ่งทำให้ปฏิบัติไปได้ทั้งวัน เช่นดังที่หลวงพ่อสมบูรณ์ ท่านได้สอนไว้ ได้เข้าไปศีกษาคำสอนของท่านโดยละเอียดตามที่คุณ? gluaynoman แนะนำมาค่ะ ท่านก็มิได้จัดแจงสภาวะ มิได้สอนให้ดูเวทนาอย่างเดียว ท่านเน้นการเจริญสติอยู่กับปัจจุบัน ให้เท่าทันกายใจโดยไม่มีการตั้งธงว่าจะดูอะไร ท่านเน้นให้เจริญสติในทุกอิริยาบท และความรู้สึกควบคู่กันไป เช่นนี้ที่ครูอาจารย์ท่านสอนก็เพื่อให้สติเจริญอย่างต่อเนื่อง เป็นธรรมชาติและไม่ขาดตอน เพราะความต่อเนื่องเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความเจริญขึ้นของสติ เมื่อใดไม่เท่าทันจิต ก็ดูกาย มีกายเป็นที่เกาะ ก็จะได้สติ ได้สมาธิระดับหนึ่ง แล้วเมื่อจิตกระเพื่อมก็เห็นก็กลับมาดูจิต ดูเวทนา เป็นต้น

ส่วนธรรมนั้น การเจริญสติไว้ที่ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นเป็นธัมมารมย์ ต้องเป็นผู้มีปัญญามาก ผู้ที่จะเข้าใจสามารถพิจารณาขันธ์ ๕ อายตนะ ธาตุ โดยความเป็นสภาวะ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิปัสสนาภูมิ ภูมิที่เกิดของวิปัสสจนาโดยตรงนี้ ต้องเป็นผู้มีปัญญามาก

พระองค์จึงทรงแสดงไว้หลายๆ ฐานแล้วแต่ความสามารถ จริต และปัญญาของผู้ปฏิบัติ

ที่คุณ gluaynoman กล่าวมาถึงวงจรปฏิจจสมุปบาทนั้น ก็ถูก เพียงแต่ยังไม่เคลียร์ค่ะ ว่าที่คุณแนะนำมาให้ตัดวงจรปฏิจจฯ ด้วยวิธีที่คุณกล่าวมานั้นจะถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธองค์หรือไม่ ด้วยเหตุผลที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น นอกจากนี้อ่านที่คุณอธิบายมาแล้วยังคิดได้อีกว่าการปฏิบัติด้วยใจที่เป็นอุเบกขา ด้วยการไม่ปรุงแต่งนั้น เหมือนการข่มไว้ด้วยสมาธิ การดูด้วยอุเบกขา ไม่ปรุงแต่ง ฟังดูก็ดี จริงๆ แล้วก็ดีค่ะ แต่ถ้าจิตเฉยเป็นอุเบกขาอย่างเดียวไม่เห็นความปรุงแต่งเสียเลย จะเห็นทุกข์ได้หรือคะ ไม่เห็นทุกข์ไม่เห็นธรรม เพราะทรงกล่าวว่าทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ ถ้าไม่รู้จักทุกข์ไม่เห็นทุกข์ไฉนจะละเหตุแห่งทุกข์คือตัณหาได้เล่า

เอาเป็นว่า...เพียงแค่มีปัญญาวิปัสสนาณาณที่ ๑ เกิดขึ้นแก่บุคคลใด ได้เห็นรูป เห็นนามว่าเป็นธรรมที่ต่างกันโดยสภาวะจริงๆแล้ว... วิปัสสนาญาณที่ ๑ ซึ่งจะเปลี่ยนทัศนะเหมือนสายฟ้าฟาดนี้ ก็สามารถทำให้เกิดความสลดสังเวชถึงที่สุดในชีวิตได้ โดยเฉพาะในขณะทันทีที่ทบทวนความรู้หลังจากที่ได้เข้าใจในรูปนามเป็นครั้งแรกในชีวิตนั้นเอง ตอนนั้นจิตไม่เป็นอุเบกขา ทั้งที่มีปัญญา จึงไม่ควรตั้งธงไว้ล่วงหน้า เหมือนกับว่าจิตต้องไม่ปรุงแต่งและควรเป็นอุเบกขาเสมอ แต่ที่จริงนั้น ดิฉันเข้าใจว่าการเจริญวิปัสสนานั้น ควรปล่อยให้่จิตดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ แม้เผลอไปปรุงแต่ง ก็เพียงระลึกรู้ด้วยความเป็นกลาง บางครั้งจิตไม่อุเบกขาก็เป็นธรรมชาติของจิตเช่นนั้น ก็เพียงระลึกรู้เช่นกัน ที่สุดแล้วเมื่อสัมมาสติ สัมมาสมาธิเสมอกัน องค์มรรค ๘ ประชุมพร้อมกัน นั้นแหละอุเบกขาตัวจริง ไม่ต้องตั้งท่า ไม่ต้องตั้งธง ไม่ต้องตั้งใจ ก็เป็นไปโดยธรรมชาติ ส่วนวงจรปฏิจจสมุปบาทถูกตัดทอนด้วยภาวนามยปัญญาไปเองตามการลำดับปฏิบัติ

ที่กล่าวมานี้ก็อาจจผิดก็ได้นะคะ เพียงแต่เห็นต่างกับวิธีที่คุณแสดงมาบางประการเท่านั้นค่ะ

ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปค่ะ

อนาลยา

Please Log in or Create an account to join the conversation.

28 Apr 2011 02:44 #67 by chupark
ใช้ได้ เข้าใจตอบนะ คุณไม่อาลัย ขอชม การปฎิบัติ ถ้าเห็นแล้วมันก็รู้ได้เองเพราะใจมันมีหน้าที่รู้ ไม่ให้รู้มันก็รู้ เพียรให้เห็นรูปนามเกิดดับเถอะ แค่นี้ก็เห็นทางเดินแล้วท่านผู้เดินทางไกลทั้งหลาย ขอให้กำลังใจ อย่าไปคิดไปพูดกันให้ซับซ้อนเลย เดี๋ยวจะมันพันกันนะ เอาง่ายๆแค่ประคองความรู้ใขณะกระทบก็พอ รู้ที่ไหนเอาที่นั้น มันจะเห็นรูปเห็นนามหรือไม่ช่างมัน มีหน้าที่รู้ก็รู้ไป อย่าไปตามตัวนึกตัวคิดเพราะเป็นนามธรรม ถ้าปัญญาไม่เข้มแข็งมันจะไม่ทันกัน เพียรไว้แค่นี้เดี๋ยวมันก็พอกพูนไปเอง ออ แล้วอย่าลืมรักษาศีลกันให้ดีนะ โยคาวจรทั้หลายเพราะมันเป็นกำลังส่งกัน ขอให้กำลังใจนะ

Please Log in or Create an account to join the conversation.

28 Apr 2011 03:59 #68 by umaree
:laugh: ไม่งงค่ะ...อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ....สาธุ:silly: :woohoo:

Please Log in or Create an account to join the conversation.

09 Jun 2011 14:40 #83 by Mr.M
อันที่จริงแล้ว ทุกข์นั้นเกิดตลอดเวลา เพียงแต่คนทั่วไปนั้นไม่ได้
เห็นว่ามันเป็นความทุกข์ ปวดอึ นั่นคือความทุกข์ พระอรหันต์ก็ปวด
ท้องเสียก็ทุกข์ พระพุทธเจ้า ก็เคยท้องเสีย แต่ทุกข์เหล่านั้น
เป็นทุกข์ที่เกิดกับกาย พระอรหันต์ และพระอริยะบุคคล ที่ปฎิบัติ
ขั้นเซียนแล้ว จะไม่ทำให้ทุกข์นั้นเกิดกับใจ
สำหรับคนปฎิบัตินะครับ ทุกขเวทนา ปวดขา ปวดเข่า ปวดจน
ขาแทบขาด เหมือนคนถูกรางวัลที่หนึ่งเลย
ขอขยายนิด เมื่อเวทนามา เราต้องทนดูมันจนจบ หายปวด ผม
สาบานได้ว่าขาไม่ขาด ไม่เน่าไม่อะไรทั้งสิ้น เมื่อจบแล้ว เดินป๋อ
ตอนนั้นนะ ท่านจะมี อินทรีย์ 5 หรือ พละ5 อย่างแก่กล้ามาก
ท่านเพียงแต่ระวังความคิดเท่านั้น กำหนดไป ดูให้ลึกซึ้ง
ดูลายละเอียดมัน เอาชนิดเป็นตารางเซนต์เลย อย่าวิจารย์
อย่าสงสัย แล้วมหัศจรรย์จะเกิดกับท่าน
.......... อาจารย์ของอาจารย์ของอาจารย์ของอาจารย์ คือพระมหาสีสยาดอ
รุ่นใหนน๋อ เรา

ข่าวบุญ 17-27/6/54 ปฎิบัติธรรม พุโพธิ์ วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
มีแบบ ปริวาส และ แบบเข้มข้น(ผมอยู่ชั้น3)

Please Log in or Create an account to join the conversation.

10 Jun 2011 07:16 #84 by analaya
ขอบคุณและอนุโมทนาคุณ Mr.M ค่ะ

เคารพพระอาจารยร์พระมหาสีสยาดอ ค่ะ ได้อ่านหนังสือ

ข่าวบุญ 17-27/6/54 ปฎิบัติธรรม พุโพธิ์ วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
มีแบบ ปริวาส และ แบบเข้มข้น(ผมอยู่ชั้น3) ที่บอกมา ต้องขอบคุณมากค่ะ
แต่ช่วงนี้ไม่สามารถไปร่วมได้

หากมีครั้งต่อๆ ไป กรุณาโพสอีกนะคะ เพื่อนๆ จะได้ไปปฏิบัติธรรมกัน

อนาลยา

Please Log in or Create an account to join the conversation.

Time to create page: 0.866 seconds
Users
3949
Articles
271
Articles View Hits
3517993