''อารมณ์'' ในทางพระพุทธศาสนา

 
''อารมณ์'' ในทางพระพุทธศาสนา….....โดยวิรังอง ทัพพะรังสี

 

ความหมายของ คำว่า "อารมณ์" ในทางพระพุทธศาสนานั้นต่างจากคำว่าอารมร์ที่เราในชีวิตประจำวัน 

ในชีวิตประจำวันเรามักใช้คำว่า "อารมณ์" ในความหมายว่าเป็นความรู้สึก เช่น อารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี อารมณ์ร้าย อารมณ์เฉยๆ อารมณ์ฟุ้งซ่าน หรือไม่มีอารมณ์ เป็นต้น

แต่ในทางพระพุทธศาสนานั้น พระอภิธรรมนั้นได้แสดงไว้ว่า ''อารมณ์'' เป็นสิ่งที่ถูกรู้โดยจิต จิตจึงเป็นธรรมชาติที่รู้ ''อารมณ์'' 

จึงควรทำความเข้าใจต่อไปว่า จิตรับรู้อารมณ์อะไรบ้าง ??? 

''อารมรณ์'' หรือสิ่งที่จิตรู้น้ั้น มีดังนี้ :
ทางกายได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส 
และ ทางใจ คือ ธรรมารมณ์ อันได้แก่ความนึกคิดต่งๆ เป็นต้น 

ดังนั้น ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่ตาเห็น (รูป/สีต่างๆ) นั้น ท่านจึงเรียกว่า "อารมณ์" 
เช่น เมื่อตาเห็น :
โต๊ะ เก้าอี้ ประตูหน้าต่าง บ้าน เด็ก คนชรา คอมพิวเตอร์ อาหาร รถยนตร์ เป็นต้น 
โต๊ะ เก้าอี้ ประตูหน้าต่าง บ้าน เด็ก คนชรา คอมพิวเตอร์ อาหาร รถยนตร์เหล่านั้น เรียกว่า "อารมณ์ " เพราะเป็นอารมณ์ของจิต คือเป็นสิ่งที่จิตรับรู้ 

ในทำนองเดียวกัน 

รสต่างๆ ก็เป็นอารมณ์ 
กลิ่นต่างๆ ก็เป็นอารมณ์ 
เสียงต่างๆ ก็ป็นอารมณ์ 
สัมผัสต่างๆ ที่ถูกต้องร่างกาย ก็เป็นอารมณ์ 
สัมผัสต่างๆ ที่เกิดขึ้นทางใจ อันได้แก่ความคิดนึก เรื่องราวต่างๆ และพระนิพพาน ก็เป็นอารมณ์ เช่นกัน ดังเราอาจจะเคยอ่าน หรือได้ยินมาบ้างว่า ผลจิตของพระอริยะบุคคลนั้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

ดังนั้น จะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่เรามองเห็น และ มองไม่เห็น เป็นอารมณ์ทั้งสิ้น 
อารมณ์ในทางพะรพุทธศาสนา จึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก และเราจะต้องกระทบกับอามรณ์ทั้ง ๖ (เว้นพระนิพพาน) อยู่ตลอดเวลา 

พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า อารมณ์ทั้ง ๖ เกิดดับ แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา 
ไม่มีใครที่จะสามรถกำหนดให้ตนเองเห็นแต่ภาพทีดี ได้ลิ้มรส ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ได้สัมผัสทางกาย ทางใจ ที่ดีดังใจชอบได้ตลอดเวลา 

เราไม่สามารถบังคับให้เป็นไปอย่างที่ต้องการได้เพราะอารมรณ์ทั้งหลายเกิดดับเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 

อารมรมณ์ ๖ (ยกเว้นพระนิพพาน) จึงเป็นทุกข์ และ 
อุปาทาน คือการยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้ง ๖ นั้น เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ 

แต่ถ้าจะพิจารณาให้ละเอียดลงไปแล้ว อารมณ์ทั้ง ๖ ก็ทำหน้าที่ของเขาอยู่อย่างนั้น คือเกิดขึ้น และดับไปเป็นธรรมชาติตามเหตุปัจจัย เมื่อเหตุดับ ปัจจัยก็ดับ แต่จิตเรานั่นแหละที่รับอารมณ์แล้วไปปรุงแต่งว่าดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ขอบ คือไป ''ให้ค่า'' กับอารมณ์ต่างๆเองทั้่งๆที่อารมรณ์นั้นๆ ดับไปแล้ว หรือยังมาไม่ถึง (คือนึกคิดปรุงแต่งไปถึงเรื่องในอนาคต) 

พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ปล่อยว่างในอารมณ์ต่างๆ คือ ปล่อยวาง อารมณ์ั้ทั้ง ๖ ดังที่กล่าวมาแล้ว ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส คิดนึก 

ปล่อยว่าง......คือไม่ยึดมั่น ถือมั่น นั่นเอง

สำหรับผู้ที่เจริญวิปัสสนาด้วยการดูจิตนั้น จิตที่ปล่อยวางคือจิตรับรู้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน คือเพียงรู้.... รู้ ....รู้ .....รู้เท่าทันอารมณ์ แต่ไม่ปรุงแต่ง และ จิตก็ไม่หน่วงอารมณ์ที่ผ่านไปแล้วในอดีต หรือคิดถึงเรื่องในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง จิตจึงเป็นปัจจุบัน

เคยอ่านผ่านตาที่ผู้ปฏิบัติท่านหนึ่งอธิบาย่ความเป็นกลางของจิตว่า "รับรู้โดยไม่มีอารมณ์ " เข้าใจว่าท่านน่าจะหมายถึง "รับรู้โดยไม่ได้ปรุงแต่ง" หรือ "รับรู้อารมณ์อย่างปล่อยวาง" มากกว่า เพราะการรับรู้โดยไม่มีอารมณ์ โดยสภาวะของการปฏิบัติแล้ว ยังนึกไม่ออกว่าเป็นเช่นไร

เพราะแม้แต่ผลจิตของพระอรหันต์ ก็ยังต้องมีนิพพานเป็นอารมณ์

จิตนี้ ผ่องใสโดยธรรมชาติ แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา จิตจะผ่องใสเบิกบาน ด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา จนเกิิดวิปัสสนาปัญญา เห็นว่าอารมรณ์ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนี่ง จิตที่เข้าใปรู้อารมณ์ก็เป็นอีกสภาพหนึ่งที่ต่างกัน มีความเข้าใจว่าทั้งอารมณ์ และจิตที่รับอารมณ์ทั้งหลาย ก็แปรปรวนเปลี่ยนแปร เกิด ดับ บังคับไม่ได้ตามธรรมชาติกิเลสตัณหาก็จะค่อยๆ ถูกขัดเกลาให้เบาบางลงตามกำลัง จนถึงที่สุดของการปฏิบัติคือ ตัดกิเลสให้หมดสิ้นไปเป็นสมุเฉทประหาณ จิตเดิมที่ประภัสสรผ่องใส เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จึงปรากฏ

 

 

วิรังรอง ทัพพะรังสี

๓ เมษยน ๒๕๕๓

 

อ่านคอมเมนท์เพิ่มเติม https://www.facebook.com/notes/วิรังรอง-ทัพพะรังสี/อารมณ์-ในทางพระพุทธศาสนา/10150164298120228

Add comment


Security code
Refresh

Users
3943
Articles
271
Articles View Hits
3512813