ว่าด้วยเรื่อง... ขันธ์ ๕ และอุปาทาน

 
ว่าด้วยเรื่อง... ขันธ์ ๕ และอุปาทาน.

 

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนว่า.....

ขันธ์ ๕ เป็ตัวทุกข์ (ทุกขอริยสัจ

เป็นธรรมที่ควรรู้ (ต้องกำหนดรู้)

 

อุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕  เป็นสมุหทัย 

คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 

เป็นธรรมที่ควรละ

 

เจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อประหาณกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน

 

โดยการกำหนดรู้ธรรมที่ควรรู้ (ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒  ธาตุ ๑๘ เป็นต้น) 

 

ตามความเป็นจริง (ตามสภาวะ หรืออีกนัยหนึ่งคือปรมัตถธรรม หรือรูป นาม)  

 

โดยไม่ปรุงแต่ง (ด้วยการคิดนึก หรือปรุงแต่งด้วยเจตสิก)

 

เป็นปัจจุบัน  (สภาพจิตที่ "รู้"  โดยไม่ปรุงแต่ง ไม่คิดนึก จึงเท่าทันต่อสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเป็นปัจจุบัน)

 

ด้วยความปล่อยวาง (สภาพรู้ หรือผู้รู้ หรือจิตรู้ ที่ประกอบด้วยอุเบกขาเจตสิก)

 

จนเกิดปัญญา (ภาวนามยปัญญา)

 

ละกิเลสได้ชั่วคราว (ตทังคปหาน)

 

หรือดับกิเลสถาวร (สมุทเฉทปหาน ด้วยปัญญาในองค์มรรค)

 

 

ดังนั้นการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของครูอาจารย์ที่ให้  "จัดการดับเหตุ แล้วผลจะดับ ด้วยการเจริญองค์มรรค ๘ นั้น

ในทางปฏิบัติ จึง   "ไม่ได้หมายความว่าให้ ไปตั้งหน้าตั้งตาจัดการดับเหตุ จริงๆ" 

 

แต่  "ให้กำหนดรู้ทุกข์" แล้ว  "เหตุแห่งทุกข์จะถูกละ หรือดับไปได้เอง" ด้วยปัญญาในองค์มรรคเมื่อถึงพร้อมด้วยปัจจัย

 

เพราะ "การดับ หรือการละ เหตุแห่งทุกข์คือ ตัณหา-อุปาทาน"  นั้น 

เป็น "ผล" ของการกำหนดรู้ทุกข์ดังที่ได้กล่าวไว้โดยย่อข้างต้น

 

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  มื่อกำหนดรู้ได้ตรงสภาวะจนเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์

"ผล" คือการละ ตัณหา-อุปาทาน (เหตุแห่งทุกข์) จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องไปจัดการอะไร

 

หน้าที่ของผู้ปฏิบัติคือ...เพียง  กำหนดรู้ทุกข์ 

ดังคำสอนของพระพูทธองค์ที่ทรงกล่าวไว้ว่า

ทุกขัง อริยสัจจัง (ความทุกข์เป็นสัจจะ เป็นความจริงอันประเสริฐ)

จึงต้องทำความรู้จักความจริงอันประเสริฐนี้จนใจรู้แจ้ง

 

การปฏิบัติธรรมจึงไม่ใช้ไปจัดการกับเหตุแห่งทุกข์ (ตัณหา-อุปาทาน)

เพราะเหตุแห่งทุกข์จะดับได้ ก็ด้วยเหตุปัจจัยที่ถึงพร้อม

และเหตุปัจจัยที่จะทำให้เหตุแห่งทุกข์ (ตัณหา-อุปาทาน) ดับ

ก็คือ การกำหนดรู้ทุกข์ให้ตรงสภาวะ

 

แต่หากพยายามไปจัดการให้ ตัณหา-อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ดับเสียแล้ว

ก็เป็นธรรมตัณหา เป็นการเจริญตัณหา เป็นตัวเป็นตนขึ้นมาทันที

 

 

ดังที่หลววพ่อเอี้ยน สำนักวิปัสสนาวังสันติบรรพต พัทลุง ได้กล่าวไว้ว่า

"ไม่ใช่พยายามจะปล่อยอุปาทานในขันธ์ แต่เมื่อปล่อยความเห็นผิดที่จิตไปยึดถือจิต อุปาทานในขันธ์ก็หลุดออกทั้งหมด ยิ่งพยายามปล่อยขันธ์ เมื่อนั้นก็มีตัวตนอยู่นั่นเอง"

 

หมายเหตุ: คำว่า "เหตุ" และ "ผล"   

"เหตุดับ" และ "ผลดับ" ในที่นี้ หมายความตามนัย เหตุและผลในอริยสัจจธรรม

 

วิรังรอง

๓ มิย. ๕๕

 
 

Add comment


Security code
Refresh

Users
4012
Articles
271
Articles View Hits
3544718