- Thank you received: 5
- กระทู้
- หัวข้อกระทู้
- เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หรือเรื่องธรรมะอื่นๆ
- พระอภิธรรมมีกี่วิชา เหมือนนักธรรมหรือไม่ สอบพระอภิธรรมคืออะไร อ่านหนังสือไปสอบเองได้ไหม
×
เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หรือเรื่องธรรมะอื่นๆ
พระอภิธรรมมีกี่วิชา เหมือนนักธรรมหรือไม่ สอบพระอภิธรรมคืออะไร อ่านหนังสือไปสอบเองได้ไหม
15 Dec 2010 14:58 - 15 Dec 2010 15:05 #24
by analaya
อนาลยา
พระอภิธรรมมีกี่วิชา เหมือนนักธรรมหรือไม่ สอบพระอภิธรรมคืออะไร อ่านหนังสือไปสอบเองได้ไหม was created by analaya
ข้อความด้านล่างเป็นโพสเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาพระอภิธรรม ที่มีผู้ถามมาใน Facebook และได้นำมาลงไว้ที่นี้เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ค่ะ
ขอบคุณ คุณ Peech Lfc และ คุณ Yupaporn Wealveerakup ผู้ถามค่ะ คำถามมีสองคำถาม จะตอบเรียงกันไปในกระทู้เดียวกันนี้ค่ะ
คุณ Peech Lfc ถาม:
สอบพระอภิธรรมคืออะไรครับช่วยอธิบาย
อนาลยา ตอบ:
พระไตรปิฎก แบ่งเป็น ๓ หมวดค่ะ คือพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม
การศึกษาพระอภิธรรมเป็นหมวดที่กล่าวถึงคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงเกี่ยวกับสภาวะต่างๆที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม คือ กายใจของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย โดยละเอียด จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาเพ่ื่อเป็นแนวทางในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานค่ะ
การสอนพระอภิธรรมมีสถานที่สอนทั่วประเทศค่ะ ส่วนใหญ่เป็นในวัดค่ะ สำหรับกุรุงเทพฯ ก็มีที่วัดมหาธาต์ วัดสามพระยา วัดเพลงวิปัสสนา วัดศรีสุดารามเป็นต้นค่ะ เปิดสอนให้บุคคลทั่วไปเรียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีทั้งวันธรรมดา และเสาร์อาทิตย์ค่ะ
หลักสูตรมี ๙ ชั้นค่ะ คือ
ชั้นจูฬะ สามชั้น (จูฬะ หมายถึงเล็กๆ ค่ะ)
ชั้นมัชฌิมะ สามชั้น (มัชฌิิมะ หมายถึงกลางๆ ค่ะ)
และมหาอีกสามชั้นค่ะ (มหาก็ใหญ่กว่ามัชฌิมะค่ะ)
ได้แก่
จูฬตรี จูฬโท จูฬเอก
มัชฌิมตรี มัชฌิมโท มัชฌิมเอก
มหาตรี มหาโท มหาเอก
ระยะเวลาการศึกษาประมาณ ๗ - ๙ ปีค่ะ ทุกปลายปีจะมีการสอบ
ชั้น จูฬตรี จูฬโท จูฬเอก แต่ละชั้นสอบข้อเขียนชั้นละ ๑ วัน สอบสัมภาษณ์ ๑ วันค่ะ
ส่วนชั้น มัชฌิมตรี มัชฌิมโท มัชฌิมเอก มหาตรี มหาโท มหาเอก แต่ละชั้นสอบข้อเขียนชั้นละ ๒ วัน สอบสัมภาษณ์ ๑ วันค่ะ
ถ้าสอบปีละครั้งก็จะจบภายมใน ๙ ปีค่ะ แต่สำหรับชั้นจูฬโทและเอกมีการสอบได้ปีละสองครั้ง ถ้าสอบได้ก็จะจบได้เร็วขึ้นคือ ๗ ปีค่ะ
เรียนแล้วไม่สอบก็ได้ค่ะ แต่ถ้าสอบทุกชั้นจนจบก็จะได้รับปริญญาเทียบเท่าปริญญาตรี สาขาพระอภิธรรม เรียกว่า ปริญญาอภิธรรมบัณฑิต (ป.อ.บ.) ค่ะ
ถ้าสนใจศึกษาพระอภิธรรม และต้องการคำแแนะนำ ยินดีอย่างยิ่งค่ะที่จะให้ข้อมูลเท่าที่จะสามารถให้ได้ค่ะ
คุณ Yupaporn Wealveerakup ถาม:
สนใจการเรียนพระอภิธรรมค่ะ อยากทราบว่าข้อสอบจะยากกว่าการเรียนนักธรรมเอกมากไหมค่ะ ถ้าอ่านหนังสือเองแล้วไปสอบแบบนักธรรมเอกจะพอไหวไหมค่ะ เพราะจะไม่สะดวกเข้าไปเรียนเองค่ะ ขอคำแนะนำด้วยน่ะค่ะ เพิ่งสอบนักธรรมเอกผ่านไป คิดว่าผลคงผ่านมั่นใจกับผลสอบของตัวเอง ใช้วิธีอ่านเองมาตลอด 3 ปีค่ะ ขอข้อมูลเป็นแนวทางก่อนไม่ทราบว่าจะเรียนต่อไหวหรือเปล่าค่ะ
ถ้าเรียนอภิธรรมจะยากกว่ามากหรือเปล่าค่ะ เวลาสอบจะสอบคล้ายกับนักธรรมเลยใช่ไหมค่ะ มีกี่วิชาค่ะ
อนาลยา ตอบ:
นักธรรม ตรี โท เอก เป็นการศึกษาของพระสงฆ์และสามเณร เกีี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจะเรียนในช่วงเข้าพรรษา ชั้นละพรรษา มีเนื้อหา เช่น
พุทธประวัติ
หลักธรรมะที่สำคัญๆที่ชาวพุทธควรทราบ
พุทธศาสนสุภาษิต
การเขียนเรียงความ-กระทู้ธรรม เช่น
ให้แต่งกระทู้ของบาลี อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ แปลว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ก็ต้องเรียงความอธิบายความหมายพร้อมยกตัวอย่างว่าจะเอาธรรมใดมาอธิบาย เช่น ตนจะเป็นที่พึ่งของตนได้้ด้วยปัญญา แล้วขยายความ เป็นต้น
เมื่อสอบผ่านนักธรรมเอก กระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิให้เทียบเท่าประถมศึกษาตอนปลาย
สำหรับฆราวาสก็เรียนได้แต่เรียกว่า ธรรมศึกษาตรี ธรรมศึกษาเอก ธรรมศึกษาโท แต่ไม่มีการเทียบวุฒิค่ะ
มีการศึกษาอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่าเปรียญ มีตั้งแต่ เปรียญ ๑-๙ ประโยค เป็นการศึกษาพระบาลี เมื่อจบ เทียบเท่าปริญญาตรี
การเรียนักธรรมตรี โท เอก นั้น หรือธรรมศึกษานั้น เป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับชาวพุทธ อย่างน้อยก็จะได้มีพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนพุทธ พระภิกษุสามเณรที่ได้เรียน เวลาแสดงธรรมให้ญาติโยมฟัง ก็จะอธิบายอ้างอิงหลักธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจได้ยิ่งขึ้น เป็นต้น ส่วนฆราวาสที่เรียนก็มีความรู้ที่จะเป็นหลักครองเรือน หลักในการดำเนินชีวิตให้มีความสงบสุขยิ่งขึ้นได้
ส่วนการเรียนพระอภิธรรมนั้น เป็นการศึกษาที่ต่างจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นค่ะ เช่น
พระอภิธรรมไม่เรียนพุทธประวัติ อันที่จริง พระอภิธรรมไม่มีการกล่าวถึงสัตว์ บุคคล ซึ่งเป็นบัญญัติทางโลกค่ะ แต่กล่าวถึงหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชา
ล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ เช่นกล่าวถึง รูปธรรม นามธรรม คือ กายกับจิตปรมัตถ์ เมื่อกล่าวถึงกาย (รูป) ในพระอธิธรรมหมายถึงรูปธรรม เช่นรูปขันธ์ จักขุปสาท เช่นนี้ เป็นต้นค่ะ
หลักสูตรพระอภิธรรม มี ๓ ระดับ แบ่งเป็น ๙ ชั้นค่ะ
๑. จูฬอภิธรรมิกะตรี
เรียนเรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน
๒. จูฬอภิธรรมิกะโท
เรียน สองหมวด คือ
ปกิณณกสังคหะ เกี่ยวกับประเภทและความสัมพันธ์ ระหว่างจิตและ เจตสิกที่มีต่อเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
สมุจจยสังคหะ ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ของธรรมต่างๆ โดยละเอียด เช่น อกุศล มิสสกะ (เหตุ ๖ ฌานังคะ มัคคังคะ อินทรีย์ พละ เป็นต้น) โพธิปักขิยะ (สติปัฏฐาน โพชฌงค์ เป็นต้น) สัพพะสังคหะ (ขันธ์ ๕ อุปาทาน อายตนะ ธาตุ อริยสัจจ์) ฃ
๓. จูฬอาภิธรรมิกะเอก
เรียน ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ) (แม่บท) คือเรียนข้อธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นหมวดหมู่ แล้วอธิบายทีละหมวดหมู่เป็นชุดๆ เช่น
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง
อดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง
สังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง
โลกียธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่ง เป็นต้น
รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา
จากนั้นจึงขยายความตั้งแต่มาติกาที่ ๑ แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรมที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน เป็นต้น
ชั้นที่ ๑-๓ นี้ใช้เวลาศึกษาชั้นละ ๖ เดือน แต่ละชั้นมีการสอบปีละสองครั้ง หากไม่พร้อมที่จะสอบรอบแรก ก็สอบปลายปีได้ค่ะ สำหรับผู้ที่ทำงาน ก็สามารถเรียนไปทั้งปี ไม่ต้องเรียน ๖ เดือนเพื่อให้ความรู้แน่นๆก่อนไปสอบ โดยเฉพาะชั้นที่ ๑ ควรให้เข้าใจให้ดีเพราะชั้นนี้เป็นพิื้นฐานของทุกชั้นที่จะต้องเรียนสูงขึ้นต่อไปค่ะ
๔. มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี
เรียน ๒ เรื่อง
คือวีถีสังคหะ คือเรื่งอวิถีจิต เช่น ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี กามชวนมโนทวารวิถี อัปปนาชวนมโนทวารวิถี แแล้วจำแนก วิถีจิตโดยภูมิและบุคคลอย่างละเอียด
วิมุตตสังคหะ เรียนวิมุตตสังคหะภูมิจตุกกะ ปฏิสนธิจตุกกะ กัมมจตุกกะ มรณุปปัตติจตุกกะโดยละเอียด
๕. มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท
เรียน ๒ เรื่อง
ปัจจยสังคหะ คือเรียนเรื่องปฏิจจสมุปบาท
กัมมัฏฐานสังคหะ เรียนเกี่ยวกับสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ
พระอภิธรรมนั้นมีทั้งหมด ๗ คัมภีร์ เมื่อเรียนจบชั้นมัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท นับว่าเรียนพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริเฉท ๑-๙ จบบริบูรณ์ และพระอภิธรรมมัตถสังคหะที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นการแสดงเรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน บัญญัติ โดยย่อ จากที่ทรงแสดงไว้ใพระอภิธรรม ๗ คำภีร์เท่านั้น เป็นการเรียนเพื่อปูพื้นฐานสำหรับการศึกษาอภิธรรมปกรณ์ชั้นสูงในพระอธิธรรม ๗ คัมภีร์ ดังนี้
๖. มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก
เรียนเรื่อง ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ คือประเภทของธาตุกถา ในนยมาติกา อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา โดยย่อคือ การสงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
๗. มหาอาภิธรรมมิกะตรี
เรียน ยมกสรูปัตถนิสสยะ ภาค ๑ (มูลยมก) (ยมก แปลว่า คู่)
คำภีร์ยมก เป็นคัมภีร์ที่ ๖ แห่งอภิธัมมปิฎก ๗ คัมภีร์ ซึ่งเกี่ยวกับการยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ เกี่ยวกับข้อธรรมที่เป็นคู่อันเป็นมูล (เหตุ) เช่นถามว่า
ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งปวง ชื่อว่ากุศลมูลใช่หรือไม่? เป็นต้น
๘. มหาอาภิธรรมมิกะโท
เรียน ยมกสรูปัตถนิสสยะ ภาค ๒-๓ คือเรียนเกี่ยวกับ
ขันธยมก (ธรรมเป็นคู่คือขันธ์)
อายตนยมก (ธรรมเป็นคู่คืออายตนะ)
ธาตุนยมก (ธรรมเป็นคู่คือธาตุ) และ
สัจจยมก(ธรรมเป็นคู่คือความจริง)
เช่นถามว่า ทุกขสัจจ์เกิดขึ้นแก่ผู้ใด สมุทยสัจจ์ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? เป็นต้น
๙. มหาอาภิธรรมมิกะเอก
เรียนเรื่อง มหาปัฏฐาน (ปัจจัยโชติกะ)
คำภีร์มหาปัฏฐาน เป็นคัมภีร์ที่ ๗ แห่งอภิธัมมปิฎก ๗ คัมภีร์ ซึ่งแสดงถึง :
ธรรมที่เป็นเหตุ (ปัจจัย) ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดขึ้น เรียกว่าปัจจัย ๒๔ หรือ ๔๗ (โดยพิสดาร)
ความเป็นเหตุ และผล แก่กันและกันแห่งธรรมทั้งหลาย คือธรรมที่เป็น "เหตุ" ช่วยอุปการะให้เกิดธรรมที่เป็น"ผล" ด้วยปัจจัยต่างๆ อันมีถึง ๔๗ ปัจจัย แตกต่างกันอย่างไรบ้าง เช่น
กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย (เช่นทำกุศลแล้วกุศลนั้นกลับเป็นปัจจัยให้เกิดผลเป็นอกุศลกรรมได้ เช่น รักษาศีลเจริญภาวนา แล้วคิดว่าตนดีกว่าผู้อื่น หรือผู้อื่นที่ไม่ได้ทำไม่มีความดีเท่าตน เป็นต้น
คัมภีร์มหาปัฏฐานจึงเป็นคัมภีร์ที่มีความสลับซับซ้อนที่สุด ทำให้มีความรู้เรื่องเหตุปัจจัยอย่างละเอียด
ชั้นที่ ๔-๙ ใช้เวลาศึกษาชั้นละ ๑๒ เดือน เพราะมีเนื้อหามากกว่าสามปีแรกค่ะและมีการสอบเพียงปีละหนึ่งคร้ั้ง รวมเวลาเรียนจนจบหลักสูตร ถ้าช่วงสามปีแรกสอบทุกครึ่งปี ก็จะจบภายใน ๗ ปีครึ่งค่ะ แต่หากว่าเรียนชั้นละ ๑ ปี ก็จะจบภายในเก้าปีค่ะ (ถ้าสอบไม่ตกนะคะ ^__^)
ตอบมายาวเหยียดเช่นนี้ หวังว่าเมื่อเห็นวิชาที่เรียนอย่างคร่าวๆ แล้วคงทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น อยากเรียนกันบ้างนะคะ จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับกายและจิตของเรานี้เองทั้งสิ้น และเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติล้วนๆ หากนำมาใช้เป็น
การที่จะเข้าใจพระอภิธรรมได้อย่างลึกซึ้งนั้น ต้องอาศัยการปฏิบัติด้วย ถ้าเรียนเอาแต่ท่องจำไปสอบเป็นตู้พระไตรปิฎกเคลื่อนที่ ก็นับว่าน่าเสียดาย และมิใช่พระประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ทรงถ่ายทอดมรดกธรรมอันงดงามนี้ไว้แก่พวกเราชาวพุทธเลย
สำหรับท่านที่ได้อ่านแค่หัวข้อวิชาแล้วอ่อนใจ ก็อาจจะมีอยู่บ้าง ก็ขอเรียนว่า ลองดู ลองเรียนชั้นที่ ๑ ดู ว่าเป็นอย่างไร เรียนจบแล้วถึงตอนนั้นค่อยคิดว่าจะเรียนต่ออีกไหม เรียนเท่าที่เรียนได้ก็ยังดีค่ะ
หากคุณแวะไปที่อภิธรรมโชติกวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ ทาพระจันทร์ จะพบว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมาก บางท่่านอายุกว่า ๗๐ ปี ไปนั่งเรียนพระอภิธรรม บางท่านบ้านอยู่นครปฐม อยุธยา ขวนขวายนั่งรถเมลล์ ต่อเรือมาท่าพระจันทร์ มาถึงกรุงเทพฯแต่ ๘ โมงเช้า เพราะหาที่เรียนที่นครปฐม อยุธยาไม่ได้ (ชั้นสูๆ บางจังหวัดไม่มีคุณครูสอนค่ะ) ได้เห็นภาพอย่างนี้ก็จะทำให้เรามีกำลังใจที่จะเรียนยิ่งขึ้นค่ะ
ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่เพิ่งสอบไปนี้ ถ้าทราบมาไม่ผิด มีนักศึกษาชั้นมหาเอก เข้าสอบทั่วประเทศ มากที่สุดปีหนึ่ง คือตั้ง ๑๐๘ คนค่ะ ซึ่งนับว่ามากกว่าปีก่อนๆ (ต่างกับธรรมศึกษาที่มีผู้สอบถึง ๒.๓ ล้านคน) ถ้าเราไม่สนใจเรียน ไม่รักษา ไม่ช่วยกันสืบต่อคำสอนอันวิจิตร พิสดารละเอียดลึกซึ้งแห่งพระสัพพัญญุตญาณนี้ไว้ และเผยแผ่ต่อๆ กันไป ก็จะไม่มีทั้งครูผู้มีความรู้ความสามารถแตกฉานที่สอนได้ ไม่มีทั้งนักเรียนที่สนใจเรียน เชื่อแน่ว่าต่อไปการศึกษาพระอภิธรรมคงจะหมดสิ้นไปจากเมืองไทยอย่างแน่นอน ไม่ต้องพูดถึงการปฏิบัติ ถึงตอนนั้น การเรียน การสอนการปฏิบัติกรรมฐาน ก็คงเป็นไปตามความคิดนึก ความเข้าใจและประสพการณ์ของผู้สอนแต่ละท่าน (ปัจเจกบุคคล) มากกว่าตามคำสอนของพระพุทธองค์
ก็น่าเป็นห่วงผู้ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ไม่ได้ศึกษาพระธรรมมาก่อน ที่อาจจะยึดติดกับบุคคลคือครูอาจารย์มากกว่าแนวทางที่ทรงชี้แนะไว้ตรงดีแล้ว หากครูอาจารย์สอนผิดจากคำสอนของพระพุทธองค์ บุคลเหล่านั้นก็มิอาจจะทราบได้ ก็จะปฏิบัติตามไปอย่างผิดๆ ทำให้เสียเวลาเวียนว่ายในสังสารวัฏนี้อีกยาวนานไม่จบสิ้น
ถึงตรงนี้คุณ Yupaporn Wealveerakup คงพอเข้าใจว่าเรียนพระอภิธรรมเอง ท่องเอง เมือนที่คุณเรียนนักธรรมได้หรือไม่นะคะ แต่ทั้งนี้หากคุณไม่มีเวลาศึกษาอย่างเต็มหลักสูตร และไม่คิดที่จะสอบ ก็หาอ่านเอาตามใน internet ได้มากมายค่ะ อย่างน้อย พื้นฐานที่ควรเข้าใจ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน และ เรื่อง สมถะ วิปัสสนา เพียงเท่านี้ ถ้าอ่านเอง หรือฟังซีดีจากครูอาจารย์เแล้วเข้าใจ ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการเริ่มการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ให้นึกเสมอว่า ศึกษาพระอภิธรรมเพื่อเป็นปัจจัย คือช่วยอุปการะแก่การปฏิบัตินะคะ ไม่ใช่เพื่อเหตุอื่น เรียนแล้วปฏิบัติ จะรู้สึกซาบซึ้งและรักพระพุทธเจ้ามากที่สุดในชีวิต ไม่เบื่อหน่ายที่จะเรียนเลยค่ะ
ขออนุโมทนาที่เรียนจบธรรมศึกษาเอก และหวังว่าคุณจะศึกษาพระอภิธรรมต่อไปนะคะ
ขอบคุณ คุณ Peech Lfc และ คุณ Yupaporn Wealveerakup ผู้ถามค่ะ คำถามมีสองคำถาม จะตอบเรียงกันไปในกระทู้เดียวกันนี้ค่ะ
คุณ Peech Lfc ถาม:
สอบพระอภิธรรมคืออะไรครับช่วยอธิบาย
อนาลยา ตอบ:
พระไตรปิฎก แบ่งเป็น ๓ หมวดค่ะ คือพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม
การศึกษาพระอภิธรรมเป็นหมวดที่กล่าวถึงคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงเกี่ยวกับสภาวะต่างๆที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม คือ กายใจของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย โดยละเอียด จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาเพ่ื่อเป็นแนวทางในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานค่ะ
การสอนพระอภิธรรมมีสถานที่สอนทั่วประเทศค่ะ ส่วนใหญ่เป็นในวัดค่ะ สำหรับกุรุงเทพฯ ก็มีที่วัดมหาธาต์ วัดสามพระยา วัดเพลงวิปัสสนา วัดศรีสุดารามเป็นต้นค่ะ เปิดสอนให้บุคคลทั่วไปเรียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีทั้งวันธรรมดา และเสาร์อาทิตย์ค่ะ
หลักสูตรมี ๙ ชั้นค่ะ คือ
ชั้นจูฬะ สามชั้น (จูฬะ หมายถึงเล็กๆ ค่ะ)
ชั้นมัชฌิมะ สามชั้น (มัชฌิิมะ หมายถึงกลางๆ ค่ะ)
และมหาอีกสามชั้นค่ะ (มหาก็ใหญ่กว่ามัชฌิมะค่ะ)
ได้แก่
จูฬตรี จูฬโท จูฬเอก
มัชฌิมตรี มัชฌิมโท มัชฌิมเอก
มหาตรี มหาโท มหาเอก
ระยะเวลาการศึกษาประมาณ ๗ - ๙ ปีค่ะ ทุกปลายปีจะมีการสอบ
ชั้น จูฬตรี จูฬโท จูฬเอก แต่ละชั้นสอบข้อเขียนชั้นละ ๑ วัน สอบสัมภาษณ์ ๑ วันค่ะ
ส่วนชั้น มัชฌิมตรี มัชฌิมโท มัชฌิมเอก มหาตรี มหาโท มหาเอก แต่ละชั้นสอบข้อเขียนชั้นละ ๒ วัน สอบสัมภาษณ์ ๑ วันค่ะ
ถ้าสอบปีละครั้งก็จะจบภายมใน ๙ ปีค่ะ แต่สำหรับชั้นจูฬโทและเอกมีการสอบได้ปีละสองครั้ง ถ้าสอบได้ก็จะจบได้เร็วขึ้นคือ ๗ ปีค่ะ
เรียนแล้วไม่สอบก็ได้ค่ะ แต่ถ้าสอบทุกชั้นจนจบก็จะได้รับปริญญาเทียบเท่าปริญญาตรี สาขาพระอภิธรรม เรียกว่า ปริญญาอภิธรรมบัณฑิต (ป.อ.บ.) ค่ะ
ถ้าสนใจศึกษาพระอภิธรรม และต้องการคำแแนะนำ ยินดีอย่างยิ่งค่ะที่จะให้ข้อมูลเท่าที่จะสามารถให้ได้ค่ะ
คุณ Yupaporn Wealveerakup ถาม:
สนใจการเรียนพระอภิธรรมค่ะ อยากทราบว่าข้อสอบจะยากกว่าการเรียนนักธรรมเอกมากไหมค่ะ ถ้าอ่านหนังสือเองแล้วไปสอบแบบนักธรรมเอกจะพอไหวไหมค่ะ เพราะจะไม่สะดวกเข้าไปเรียนเองค่ะ ขอคำแนะนำด้วยน่ะค่ะ เพิ่งสอบนักธรรมเอกผ่านไป คิดว่าผลคงผ่านมั่นใจกับผลสอบของตัวเอง ใช้วิธีอ่านเองมาตลอด 3 ปีค่ะ ขอข้อมูลเป็นแนวทางก่อนไม่ทราบว่าจะเรียนต่อไหวหรือเปล่าค่ะ
ถ้าเรียนอภิธรรมจะยากกว่ามากหรือเปล่าค่ะ เวลาสอบจะสอบคล้ายกับนักธรรมเลยใช่ไหมค่ะ มีกี่วิชาค่ะ
อนาลยา ตอบ:
นักธรรม ตรี โท เอก เป็นการศึกษาของพระสงฆ์และสามเณร เกีี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจะเรียนในช่วงเข้าพรรษา ชั้นละพรรษา มีเนื้อหา เช่น
พุทธประวัติ
หลักธรรมะที่สำคัญๆที่ชาวพุทธควรทราบ
พุทธศาสนสุภาษิต
การเขียนเรียงความ-กระทู้ธรรม เช่น
ให้แต่งกระทู้ของบาลี อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ แปลว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ก็ต้องเรียงความอธิบายความหมายพร้อมยกตัวอย่างว่าจะเอาธรรมใดมาอธิบาย เช่น ตนจะเป็นที่พึ่งของตนได้้ด้วยปัญญา แล้วขยายความ เป็นต้น
เมื่อสอบผ่านนักธรรมเอก กระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิให้เทียบเท่าประถมศึกษาตอนปลาย
สำหรับฆราวาสก็เรียนได้แต่เรียกว่า ธรรมศึกษาตรี ธรรมศึกษาเอก ธรรมศึกษาโท แต่ไม่มีการเทียบวุฒิค่ะ
มีการศึกษาอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่าเปรียญ มีตั้งแต่ เปรียญ ๑-๙ ประโยค เป็นการศึกษาพระบาลี เมื่อจบ เทียบเท่าปริญญาตรี
การเรียนักธรรมตรี โท เอก นั้น หรือธรรมศึกษานั้น เป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับชาวพุทธ อย่างน้อยก็จะได้มีพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนพุทธ พระภิกษุสามเณรที่ได้เรียน เวลาแสดงธรรมให้ญาติโยมฟัง ก็จะอธิบายอ้างอิงหลักธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจได้ยิ่งขึ้น เป็นต้น ส่วนฆราวาสที่เรียนก็มีความรู้ที่จะเป็นหลักครองเรือน หลักในการดำเนินชีวิตให้มีความสงบสุขยิ่งขึ้นได้
ส่วนการเรียนพระอภิธรรมนั้น เป็นการศึกษาที่ต่างจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นค่ะ เช่น
พระอภิธรรมไม่เรียนพุทธประวัติ อันที่จริง พระอภิธรรมไม่มีการกล่าวถึงสัตว์ บุคคล ซึ่งเป็นบัญญัติทางโลกค่ะ แต่กล่าวถึงหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชา
ล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ เช่นกล่าวถึง รูปธรรม นามธรรม คือ กายกับจิตปรมัตถ์ เมื่อกล่าวถึงกาย (รูป) ในพระอธิธรรมหมายถึงรูปธรรม เช่นรูปขันธ์ จักขุปสาท เช่นนี้ เป็นต้นค่ะ
หลักสูตรพระอภิธรรม มี ๓ ระดับ แบ่งเป็น ๙ ชั้นค่ะ
๑. จูฬอภิธรรมิกะตรี
เรียนเรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน
๒. จูฬอภิธรรมิกะโท
เรียน สองหมวด คือ
ปกิณณกสังคหะ เกี่ยวกับประเภทและความสัมพันธ์ ระหว่างจิตและ เจตสิกที่มีต่อเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
สมุจจยสังคหะ ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ของธรรมต่างๆ โดยละเอียด เช่น อกุศล มิสสกะ (เหตุ ๖ ฌานังคะ มัคคังคะ อินทรีย์ พละ เป็นต้น) โพธิปักขิยะ (สติปัฏฐาน โพชฌงค์ เป็นต้น) สัพพะสังคหะ (ขันธ์ ๕ อุปาทาน อายตนะ ธาตุ อริยสัจจ์) ฃ
๓. จูฬอาภิธรรมิกะเอก
เรียน ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ) (แม่บท) คือเรียนข้อธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นหมวดหมู่ แล้วอธิบายทีละหมวดหมู่เป็นชุดๆ เช่น
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง
อดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง
สังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง
โลกียธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่ง เป็นต้น
รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา
จากนั้นจึงขยายความตั้งแต่มาติกาที่ ๑ แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรมที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน เป็นต้น
ชั้นที่ ๑-๓ นี้ใช้เวลาศึกษาชั้นละ ๖ เดือน แต่ละชั้นมีการสอบปีละสองครั้ง หากไม่พร้อมที่จะสอบรอบแรก ก็สอบปลายปีได้ค่ะ สำหรับผู้ที่ทำงาน ก็สามารถเรียนไปทั้งปี ไม่ต้องเรียน ๖ เดือนเพื่อให้ความรู้แน่นๆก่อนไปสอบ โดยเฉพาะชั้นที่ ๑ ควรให้เข้าใจให้ดีเพราะชั้นนี้เป็นพิื้นฐานของทุกชั้นที่จะต้องเรียนสูงขึ้นต่อไปค่ะ
๔. มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี
เรียน ๒ เรื่อง
คือวีถีสังคหะ คือเรื่งอวิถีจิต เช่น ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี กามชวนมโนทวารวิถี อัปปนาชวนมโนทวารวิถี แแล้วจำแนก วิถีจิตโดยภูมิและบุคคลอย่างละเอียด
วิมุตตสังคหะ เรียนวิมุตตสังคหะภูมิจตุกกะ ปฏิสนธิจตุกกะ กัมมจตุกกะ มรณุปปัตติจตุกกะโดยละเอียด
๕. มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท
เรียน ๒ เรื่อง
ปัจจยสังคหะ คือเรียนเรื่องปฏิจจสมุปบาท
กัมมัฏฐานสังคหะ เรียนเกี่ยวกับสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ
พระอภิธรรมนั้นมีทั้งหมด ๗ คัมภีร์ เมื่อเรียนจบชั้นมัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท นับว่าเรียนพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริเฉท ๑-๙ จบบริบูรณ์ และพระอภิธรรมมัตถสังคหะที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นการแสดงเรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน บัญญัติ โดยย่อ จากที่ทรงแสดงไว้ใพระอภิธรรม ๗ คำภีร์เท่านั้น เป็นการเรียนเพื่อปูพื้นฐานสำหรับการศึกษาอภิธรรมปกรณ์ชั้นสูงในพระอธิธรรม ๗ คัมภีร์ ดังนี้
๖. มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก
เรียนเรื่อง ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ คือประเภทของธาตุกถา ในนยมาติกา อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา โดยย่อคือ การสงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
๗. มหาอาภิธรรมมิกะตรี
เรียน ยมกสรูปัตถนิสสยะ ภาค ๑ (มูลยมก) (ยมก แปลว่า คู่)
คำภีร์ยมก เป็นคัมภีร์ที่ ๖ แห่งอภิธัมมปิฎก ๗ คัมภีร์ ซึ่งเกี่ยวกับการยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ เกี่ยวกับข้อธรรมที่เป็นคู่อันเป็นมูล (เหตุ) เช่นถามว่า
ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งปวง ชื่อว่ากุศลมูลใช่หรือไม่? เป็นต้น
๘. มหาอาภิธรรมมิกะโท
เรียน ยมกสรูปัตถนิสสยะ ภาค ๒-๓ คือเรียนเกี่ยวกับ
ขันธยมก (ธรรมเป็นคู่คือขันธ์)
อายตนยมก (ธรรมเป็นคู่คืออายตนะ)
ธาตุนยมก (ธรรมเป็นคู่คือธาตุ) และ
สัจจยมก(ธรรมเป็นคู่คือความจริง)
เช่นถามว่า ทุกขสัจจ์เกิดขึ้นแก่ผู้ใด สมุทยสัจจ์ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? เป็นต้น
๙. มหาอาภิธรรมมิกะเอก
เรียนเรื่อง มหาปัฏฐาน (ปัจจัยโชติกะ)
คำภีร์มหาปัฏฐาน เป็นคัมภีร์ที่ ๗ แห่งอภิธัมมปิฎก ๗ คัมภีร์ ซึ่งแสดงถึง :
ธรรมที่เป็นเหตุ (ปัจจัย) ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดขึ้น เรียกว่าปัจจัย ๒๔ หรือ ๔๗ (โดยพิสดาร)
ความเป็นเหตุ และผล แก่กันและกันแห่งธรรมทั้งหลาย คือธรรมที่เป็น "เหตุ" ช่วยอุปการะให้เกิดธรรมที่เป็น"ผล" ด้วยปัจจัยต่างๆ อันมีถึง ๔๗ ปัจจัย แตกต่างกันอย่างไรบ้าง เช่น
กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย (เช่นทำกุศลแล้วกุศลนั้นกลับเป็นปัจจัยให้เกิดผลเป็นอกุศลกรรมได้ เช่น รักษาศีลเจริญภาวนา แล้วคิดว่าตนดีกว่าผู้อื่น หรือผู้อื่นที่ไม่ได้ทำไม่มีความดีเท่าตน เป็นต้น
คัมภีร์มหาปัฏฐานจึงเป็นคัมภีร์ที่มีความสลับซับซ้อนที่สุด ทำให้มีความรู้เรื่องเหตุปัจจัยอย่างละเอียด
ชั้นที่ ๔-๙ ใช้เวลาศึกษาชั้นละ ๑๒ เดือน เพราะมีเนื้อหามากกว่าสามปีแรกค่ะและมีการสอบเพียงปีละหนึ่งคร้ั้ง รวมเวลาเรียนจนจบหลักสูตร ถ้าช่วงสามปีแรกสอบทุกครึ่งปี ก็จะจบภายใน ๗ ปีครึ่งค่ะ แต่หากว่าเรียนชั้นละ ๑ ปี ก็จะจบภายในเก้าปีค่ะ (ถ้าสอบไม่ตกนะคะ ^__^)
ตอบมายาวเหยียดเช่นนี้ หวังว่าเมื่อเห็นวิชาที่เรียนอย่างคร่าวๆ แล้วคงทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น อยากเรียนกันบ้างนะคะ จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับกายและจิตของเรานี้เองทั้งสิ้น และเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติล้วนๆ หากนำมาใช้เป็น
การที่จะเข้าใจพระอภิธรรมได้อย่างลึกซึ้งนั้น ต้องอาศัยการปฏิบัติด้วย ถ้าเรียนเอาแต่ท่องจำไปสอบเป็นตู้พระไตรปิฎกเคลื่อนที่ ก็นับว่าน่าเสียดาย และมิใช่พระประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ทรงถ่ายทอดมรดกธรรมอันงดงามนี้ไว้แก่พวกเราชาวพุทธเลย
สำหรับท่านที่ได้อ่านแค่หัวข้อวิชาแล้วอ่อนใจ ก็อาจจะมีอยู่บ้าง ก็ขอเรียนว่า ลองดู ลองเรียนชั้นที่ ๑ ดู ว่าเป็นอย่างไร เรียนจบแล้วถึงตอนนั้นค่อยคิดว่าจะเรียนต่ออีกไหม เรียนเท่าที่เรียนได้ก็ยังดีค่ะ
หากคุณแวะไปที่อภิธรรมโชติกวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ ทาพระจันทร์ จะพบว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมาก บางท่่านอายุกว่า ๗๐ ปี ไปนั่งเรียนพระอภิธรรม บางท่านบ้านอยู่นครปฐม อยุธยา ขวนขวายนั่งรถเมลล์ ต่อเรือมาท่าพระจันทร์ มาถึงกรุงเทพฯแต่ ๘ โมงเช้า เพราะหาที่เรียนที่นครปฐม อยุธยาไม่ได้ (ชั้นสูๆ บางจังหวัดไม่มีคุณครูสอนค่ะ) ได้เห็นภาพอย่างนี้ก็จะทำให้เรามีกำลังใจที่จะเรียนยิ่งขึ้นค่ะ
ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่เพิ่งสอบไปนี้ ถ้าทราบมาไม่ผิด มีนักศึกษาชั้นมหาเอก เข้าสอบทั่วประเทศ มากที่สุดปีหนึ่ง คือตั้ง ๑๐๘ คนค่ะ ซึ่งนับว่ามากกว่าปีก่อนๆ (ต่างกับธรรมศึกษาที่มีผู้สอบถึง ๒.๓ ล้านคน) ถ้าเราไม่สนใจเรียน ไม่รักษา ไม่ช่วยกันสืบต่อคำสอนอันวิจิตร พิสดารละเอียดลึกซึ้งแห่งพระสัพพัญญุตญาณนี้ไว้ และเผยแผ่ต่อๆ กันไป ก็จะไม่มีทั้งครูผู้มีความรู้ความสามารถแตกฉานที่สอนได้ ไม่มีทั้งนักเรียนที่สนใจเรียน เชื่อแน่ว่าต่อไปการศึกษาพระอภิธรรมคงจะหมดสิ้นไปจากเมืองไทยอย่างแน่นอน ไม่ต้องพูดถึงการปฏิบัติ ถึงตอนนั้น การเรียน การสอนการปฏิบัติกรรมฐาน ก็คงเป็นไปตามความคิดนึก ความเข้าใจและประสพการณ์ของผู้สอนแต่ละท่าน (ปัจเจกบุคคล) มากกว่าตามคำสอนของพระพุทธองค์
ก็น่าเป็นห่วงผู้ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ไม่ได้ศึกษาพระธรรมมาก่อน ที่อาจจะยึดติดกับบุคคลคือครูอาจารย์มากกว่าแนวทางที่ทรงชี้แนะไว้ตรงดีแล้ว หากครูอาจารย์สอนผิดจากคำสอนของพระพุทธองค์ บุคลเหล่านั้นก็มิอาจจะทราบได้ ก็จะปฏิบัติตามไปอย่างผิดๆ ทำให้เสียเวลาเวียนว่ายในสังสารวัฏนี้อีกยาวนานไม่จบสิ้น
ถึงตรงนี้คุณ Yupaporn Wealveerakup คงพอเข้าใจว่าเรียนพระอภิธรรมเอง ท่องเอง เมือนที่คุณเรียนนักธรรมได้หรือไม่นะคะ แต่ทั้งนี้หากคุณไม่มีเวลาศึกษาอย่างเต็มหลักสูตร และไม่คิดที่จะสอบ ก็หาอ่านเอาตามใน internet ได้มากมายค่ะ อย่างน้อย พื้นฐานที่ควรเข้าใจ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน และ เรื่อง สมถะ วิปัสสนา เพียงเท่านี้ ถ้าอ่านเอง หรือฟังซีดีจากครูอาจารย์เแล้วเข้าใจ ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการเริ่มการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ให้นึกเสมอว่า ศึกษาพระอภิธรรมเพื่อเป็นปัจจัย คือช่วยอุปการะแก่การปฏิบัตินะคะ ไม่ใช่เพื่อเหตุอื่น เรียนแล้วปฏิบัติ จะรู้สึกซาบซึ้งและรักพระพุทธเจ้ามากที่สุดในชีวิต ไม่เบื่อหน่ายที่จะเรียนเลยค่ะ
ขออนุโมทนาที่เรียนจบธรรมศึกษาเอก และหวังว่าคุณจะศึกษาพระอภิธรรมต่อไปนะคะ
อนาลยา
Last edit: 15 Dec 2010 15:05 by analaya.
Please Log in or Create an account to join the conversation.
- กระทู้
- หัวข้อกระทู้
- เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หรือเรื่องธรรมะอื่นๆ
- พระอภิธรรมมีกี่วิชา เหมือนนักธรรมหรือไม่ สอบพระอภิธรรมคืออะไร อ่านหนังสือไปสอบเองได้ไหม
Time to create page: 0.288 seconds