คลิ๊กที่เครื่องเล่นเพื่อฟัง
คลิ๊กที่ชื่อไฟล์เพื่อดาวน์โหลดค่ะ
ขอเชิญท่านสวดตามบทสวดที่ได้แสดงไว้ตอนท้ายในหน้านี้ค่ะ
บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
เสียงบทสวดที่เป็นภาษาบาลีที่นำมาแสดงนี้ ตรงกันกับบทสวดภาษาบาลีด้านล่าง แต่คำแปลภาษาไทยแตกต่างกันบ้างเนื่องจากวัดสังฆานใช้คำแปลไทยที่แตกต่าง แต่โดยความหมายแล้วไม่ต่างกัน ยังไม่สามารถหาไฟล์ต้นฉบับของวัดสังฆทานได้ค่ะ
พระสังคิณี
กุสะลา ธัมมา, พระธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
กุสะลา ธัมมา, พระธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
อะกุสะลา ธัมมา, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, ให้ผลเป็นความทุกข์,
อัพ๎ยากะตา ธัมมา, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต, เป็นจิตกลาง ๆ อยู่,
กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล
ยัส๎ะมิง สะมะเย, ในสมัยใด,
กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติโสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง, กามาวจรกุศลจิตที่ร่วมด้วยโสมนัส, คือความยินดี, ประกอบด้วยญาน คือ ปัญญาเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใด ๆ,
รูปารัมมะนัง วา, จะเป็นรูปารมณ์, คือยินดีในรูปเป็นอารมณ์ก็ดี,
สัททารัมมะนัง วา, จะเป็นสัททารมณ์, คือยินดีในเสียงเป็นอารมณ์ก็ดี,
คันธารัมมะนัง วา, จะเป็นคันธารมณ์, คือยินดีในกลิ่นเป็นอารมณ์ก็ดี,
ระสารัมมะนัง วา, จะเป็นรสารมณ์, คือยินดีในรสเป็นอารมณ์ก็ดี,
โผฏฐัพพารัมมะนัง วา, จะเป็นโผฏฐัพพารมณ์, คือยินดีในสิ่งที่กระทบถูกต้องกายเป็นอารมณ์ก็ดี,
ธัมมารัมมะนัง วา ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ, จะเป็นธรรมารมณ์, คือยินดีในธรรมเป็นอารมณ์ก็ดี,
ตัส๎ะมิง สะมะเย ผัสโส โหติ, อะวิกเขโป โหติ, เย วา ปะนะ ตัส๎ะมิง สะมะเย, อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา, ในสมัยนั้นผัสสะและความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี, อีกอย่างหนึ่ง ในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใด, แม้อื่นมีอยู่เป็นธรรมที่ไม่มีรูป, อาศัยกันและกันเกิดขึ้น,
อิเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
พระวิภังค์
ปัญจักขันธา, ขันธ์ห้าคือส่วนประกอบหน้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต ได้แก่,
รูปักขันโธ, รูปขันธ์คือส่วนที่เป็นรูปภายนอกและภายในคือร่างกายนี้, ประกอบด้วยธาตุ ๔,
เวทะนากขันโธ, เวทนาขันธ์คือความรู้สึกเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ,
สัญญากขันโธ, สัญญาขันธ์คือความจำได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖,
สังขารักขันโธ, สังขารขันธ์คือความคิดที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ,
วิญญาณักขันโธ, วิญญาณขันธ์คือความรู้แจ้งในอารมณ์ ทางอายตนะทั้ง ๖,
ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, บรรดาขันธ์ทั้งหมดรูปขันธ์เป็นอย่างไร,
ยังกิญจิ รูปัง, รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน,
อัชฌัตตัง วา, ภายในก็ตาม,
พะหิทธา วา, ภายนอกก็ตาม,
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
หีนัง วา ปะณีตัง วา, เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
ยัง ทูเร วา สันติเก วา, อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม,
ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิต๎วา อะภิสังขิปิต๎วา, ย่นกล่าวร่วมกัน,
อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ, เรียกว่ารูปขันธ์
พระธาตุกถา
สังคะโห อะสังคะโห, การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ,
สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง, สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์แล้ว,
อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง, สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง, สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้,
อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง, สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สัมปะโยโค วิปปะโยโค, การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากกัน คือ,
สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง, การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน
วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง, การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไป
อะสังคะหิตัง, จัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้
พระปุคคลปัญญัตติ
ฉะปัญญัตติโย, บัญญัติ ๖ ประการ, อันบัณฑิตผู้รู้พึงบัญญัติขึ้น คือ,
ขันธะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันเรียกว่าขันธ์ มี ๕,
อายะตะนะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมอันเป็นบ่อเกิด (แห่งทุกข์และไม่ทุกข์), เรียกว่าอายตนะ มี ๑๒,
ธาตุปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่ทรงตัวอยู่เรียกว่าธาตุ มี ๑๘,
สัจจะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นของจริงเรียกว่าสัจจะ มี ๔, คือ อริยสัจจ์ ๔,
อินท๎ริยะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นใหญ่เรียกว่าอินทรีย์ มี ๒๒,
ปุคคะละปัญญัตติ, การบัญญัติจำพวกบุคคลของบุคคลทั้งหลาย,
กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร,
สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต, ผู้พ้นในกาลบางคราว, ผู้พ้นอย่างเด็ดขาด,
กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม, ผู้มีธรรมที่กำเริบได้, ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้,
ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม, ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้, ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้,
เจตะนาภัพโพ อะนุรักขะนาภัพโพ, ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา, ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา,
ปุถุชชะโน โคต๎ระภู, ผู้เป็นปุถุชน, ผู้คร่อมโคตร,
ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต, ผู้เว้นชั่วเพราะกลัว, ผู้เว้นชั่วไม่ใช่เพราะกลัว,
ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน, ผู้ควรแก่มรรคผลนิพพาน, ผู้ไม่ควรแก่มรรคผลนิพพาน,
นิยะโต อะนิยะโต, ผู้เที่ยง, ผู้ไม่เที่ยง,
ปะฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต, ผู้ปฏิบัติอริยมรรค, ผู้ตั้งอยู่ในอริยผล,
อะระหา อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน, ผู้เป็นพระอรหันต์, ผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์
พระกถาวัตถุ
ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงหรือ ?,
อามันตา, ถูกแล้ว,
โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ, ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, ปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ ?
นะ เหวัง วัตตัพเพ, ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนั้น,
อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ มิจฉา, ท่านจงรู้นิคหะ (การข่ม ปราม) เถิด, ถ้าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงแล้ว, ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่าปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น, คำตอบของท่านที่ว่าปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นจึงผิด,
พระยมก
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพ เต กุสะละมูลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละมูลา, อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใด มีกุศลเป็นมูล,
สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล,
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพ เต กะสุละมูเลนะ เอกะมูลา, ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศล เป็นมูล,
สัพเพ เต ธัมมากุสะลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล
พระมหาปัฏฐาน
เหตุปัจจะโย, ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย,
อารัมมะณะปัจจะโย, ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย,
อะธิปะติปัจจะโย, ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย,
อะนันตะระปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัยไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง,
สะมะนันตะระปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน,
สะหะชาตะปัจจะโย, ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย,
อัญญะมัญญะปัจจะโย, ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน,
นิสสะยะปัจจะโย, ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย,
อุปะนิสสะยะปัจจะโย, ธรรมที่มีอุปนิสัยเป็นปัจจัย,
ปุเรชาตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเกิดก่อนเป็นปัจจัย,
ปัจฉาชาตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเกิดภายหลังเป็นปัจจัย,
อาเสวะนะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย,
กัมมะปัจจะโย, ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย,
วิปากะปัจจะโย, ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย,
อาหาระปัจจะโย, ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย,
อินท๎ริยะปัจจะโย, ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย,
ฌานะปัจจะโย, ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย,
มัคคะปัจจะโย, ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย,
สัมปะยุตตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
วิปปะยุตตะปัจจะโย, ธรรมที่ไม่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
อัตถิปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัย,
นัตถิปัจจะโย, ธรรมที่ไม่มีปัจจัย,
วิคะตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย,
อะวิคะตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย