มหาสมัยสูตร
คลิ๊กที่เครื่องเล่นเพื่อฟังคำนำมหาสมัยสูตร
คลิ๊กที่่ชื่อไฟล์เพื่อดาวน์โหลดค่ะ
ตำนานมหาสมัยสูตร
มหาสมัยสูตรปรากฎความในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกามหาวรรค ภายหลังการบรรลุอนุตราสัมมาสัมโพธิญาณของพระบรมศาสดา พระองค์ได้เสด็จจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก และเมื่อทราบทราบว่าพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาประชวรหนัก จึงเสด็จกลับสู่กรุงกบิลพัสดุ์อีกครั้งเพื่อเยี่ยมอาการพระพุทธบิดา พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเป็นจำนวนมาก ทรงถวายพยาบาลพระพุทธบิดาตามพุทธวิสัย และโปรดให้พระพุทธบิดาได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในกาลต่อมาพระพุทธบิดาก็ปรินิพพานบนพระแท่นบรรทมภายใต้เศวตฉัตรนั้งเอง ภายหลังถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธบิดา พระพุทธองค์ตรัสว่า "บุคคลใดมีจิตปรารถนาพระโพธิญาณ จงอุตสาหะภิบาลบำรุงบิดามารดา ประพฤติกุศลสุจริตธรรม จักสมปรารถนาทุกประการ"
รุ่งขึ้นอีกวัน ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ที่นิโครธาราม กรุงกบิลพันดุ์ เหล่าพระญาติข้างฝ่ายศากยะ และ โกลิยะที่ตั้งหลักแหล่งอยู่สองฝั่งแม่น้ำโรหิณีได้วิวาทกันเรื่องแย้งน้ำทำนา กษัตริย์ทั้งสองจึงยกกองทัพออกไปจะทำสงครามกัน เพราะไม่สามารถตกลงกันได้ พระพุทธองค์ทรงทราบเหตุการณ์นั้นด้วยพระญาณ ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ไม่ทรงแจ้งให้ใคร ๆ ทราบ เสด็จพุทธดำเนินแต่เพียงพระองค์เดียว ไปประทับนั่งขัดบัลลังก์ระหว่างกองทัพกษัตริย์ทั้งสองนคร
ครั้นกองทัพชาวเมืองกบิลพัสดุ์และชาวเมืองโกลิยะเห็นพระองค์นั้น ต่างก็คิดว่าพระศาสดาผู้เป็นพระญาติ ผู้ประเสริฐของพวกเราเสด็จมา จึงทิ้งอาวุธเขาไปเฝ้าพระพุทธองค์ทั้งที่พระองค์ทรงทราบสถานการณ์ขณะนั้นดีแต่ก็ตรัสถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น แล้วตรัสสอนว่า มหาบพิตร พวกพระองค์อาศัยน้ำที่มีค่าน้อยแล้วทำให้กษัตริย์ซึ่งหาค่ามิได้ให้ฉิบหายทำไมกัน
ครั้นแล้ว พระพุทธองค์ได้ตรัส ผันทนชาดก ทุททุภายชาดก และลฏุกิกชาดก เพื่อระงับการวิวาทของพระญาติทั้งสองฝ่าย และตรัสรุกขธรรมชาดก และวัฏฏชาดก เพื่อให้เกิดความสามัคคีพร้อมเพรียงกันว่า "หมู่ญาติยิ่งมากยิ่งดี ต้นไม้ที่เกิดในป่าแม้จะโตเป็นเจ้าป่า ถ้าตั้งอยู่โดดเดี่ยวย่อมถูกแรงลมพัดโค่นลงได้ และว่านกทั้งหลายมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ย่อมพาตาข่ายไปได"้ และในที่สุดก็ตรัส อัตตทัณฑสูตร
กษัตริย์เหล่านั้นได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว เกิดความสังเวชพากันทิ้งอาวุธกล่าวว่า หากพระบรมศาสดา ไม่เสด็จมา พวกเราก็จะฆ่าฟันซึ่งกันและกันเลือดไหลนองเป็นสายน้ำ ไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเห็นหน้าลูกเมียญาติพี่น้อง กษัตริย์ทั้งสองพระนครจึงถวายพระราชกุมาร ๕๐๐ องค์ คือ ฝ่ายละ ๒๕๐ องค์ ให้บรรพชา อุปสมบทกับพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
อรรถกถามหาสมัยสูตร เล่าถึงเหตุการณ์ที่ภิกษุราชกุมารเหล่านั้นบรรลุธรรมไว้ว่า เมื่อพระพุทธองค์นำภิกษุราชกุมารเหล่านั้นมาสู่ป่ามหาวัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ภิกษูปูถวาย ในโอกาสทีสงัด ตรัสบอก กัมมัฏฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับกัมมัฏฐานแล้ว ต่างแยกย้ายกันไปเจริญวิปัสสนาตามเงื้อมผา และโคนไม้ในโอกาสที่เงียบสงัด และก็ทยอยบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็ลุกขึ้นจากที่นั่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จนครบทั้ง ๕๐๐ รูป
อรรถถาได้อธิบายความคิดของพระที่ได้บรรลุพระอรหันต์ไว้ว่า พระผู้บรรลุพระอรหัตสิ้นกิเลสอาสวะทั้งหลายแล้ว ย่อมมีความคิดอยู่ ๒ อย่างคือ
๑. มีความคิดว่า คนทุกคนตลอดจนเทวดาทั้งหลาย ก็สามารถที่จะบรรลุธรรมตามที่เราบรรลุได้เช่นเดียวกัน
๒. พระที่บรรลุธรรมไม่ประสงค์จะบอกคุณธรรมที่ตนได้บรรลุแก่ผู้อื่น เหมือนคนที่ฝังขุมทรัพย์ไว้ไม่ต้องการให้ใครรู้ที่ฝังขุมทรัพย์ของตน
เมื่อเทวดาทั้งหลายทราบว่า พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่ป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหัตบวชจากราชตระกูล ต่างก็กล่าวว่า นี้เป็นสมัยแห่งการประชุมใหญ่ในป่ามหาวัน พวกเราจักไปชมความงดงามของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกผู้หมดจด ต่างก็แต่งคาถากล่าวสรรเสริญ พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก เทวดาที่มาประชุมกันใวนนั้นมีจำนวนมากมาย ภิกษุบางรูปก็เห็นเทวดาร้อยหนึ่ง บางรูปก็เห็นพันหนึ่ง บางรูปก็เห็นหมื่นหนึ่ง บางรูปก็เห็นแสนหนึ่ง บางรูปก็เห็นไม่มีที่สิ้นสุด แตกต่างกันไปตามกำลังญาณของแต่ละองค์
ในยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีการประชุมเทวดาจำนวนมากเช่นนี้ก็เพียงครั้งเดียว พระพุทธองค์ ได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า เทวดาในแสนจักรวาลมาประชุมกันเพื่อชมตถาคตและหมู่ภิกษุสงฆ์ เทวดาประมาณเท่านี้แหละได้เคยประชุมกันเพื่อชมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตกาลแล้ว และพวกเทวดาประมาณเท่านั้นแหละจักประชุมกันเพื่อชมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล แล้วพระองค์ก็ทรงแนะนำเทวดาแต่ละจำพวกให้ภิกษุทั้งหลายฟังตามลำดับ ตั้งแต่กุมมเทวดาไปจนถึงพรหมโลก
ขณะที่เทวดาจากหมื่นจักรวาลมาประชุมกันจนครบนั้น ท้องฟ้าโปร่งใส่ไม่มีเมฆหมอก ก็กลับเกิดเมฆฝนคำรณคำรามกึกก้องฟ้าแลบแปล๊บพราย พระพุทธองค์ทรงพิจารณาทราบว่า หมู่มารก็ได้มาด้วย จึงทรงแนะนำให้ภิกษุรู้จักพญามารเอาไว้
พญามารกำลังสั่งบังคับเสนามารให้ผูกเหล่าเทวดาไว้ในอำนาจแห่งกามราคะ แต่พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานไม่ให้เหล่าเทวดามองเห็น พญามารไม่ได้ดั่งใจจึงทำให้เกิดฟ้าร้องกึกก้องกัมปนาทไปทั่ว
โดยปกติในที่จะไม่มีการบรรลุมรรคผล พระพุทธองค์จะไม่ทรงห้ามมารแสดงสิ่งอันน่ากลัวของมาร แต่ในที่จะมีการบรรลุมรรคผล พระองค์จะทรงอธิษฐานไม่ให้ใครรู้เห็นสิ่งที่พญามารกำลังทำ เนื่องจากการประชุมใหญ่ของเทวดาครั้งนั้น จะมีเทพบรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก พระพุทธองค์จึงทรงอธิษฐานไม่ให้พวกเทวดา รับรู้สิ่งอันน่ากลัวของหมู่มารนั้น พญามารนั้นจึงกลับไปด้วยความเดือดดาลฯ
คำแปลมหาสมัยสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนแต่เป็นพระอรหัต ได้มีเทพจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ มาประชุมเป็นจำนวนมาก เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคและเยี่ยมชมภิกษุสงฆ์ ฯ
เมื่อเทพชั้นสุทธาวาส ๔ องค์ ได้รับรู้เช่นนั้น ก็เลยดำริว่า ทางที่ดีพวกเราก็ควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ แล้วกล่าวคาถาองค์ละคาถา ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเช่นกัน ทันใดนั้นเองเทพเหล่านั้น หายไปจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสปรากฎเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนคู้ออก หรือคู้แขนเข้า ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทพองค์หนึ่งกล่าวคาถาว่า
"การประชุมครั้งใหญ่ในป่าใหญ่มีหมู่เทพมาประชุมกันแล้ว พวกเราพากันมาสู่ธรรมสมัยนี้เพื่อได้เห็นหมู่ท่านผู้ชนะมาร"
จากนั้น เทพองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ว่า
"ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น มีจิตมั่นคง ทำจิตของตนให้ตรง ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ไว้เหมือนสารถีผู้กำบังเหียนขับรถม้า"
เทวดาอีกองค์หนึ่งกล่าวคาถานี้ว่า
"ภิกษุเหล่านั้น ตัดกิเลส ดุจตะปู ตัดกิเลสดุจลิ่มสลัก ถอนกิเลสดุจเสาเขื่อนได้แล้ว เป็นผู้ไม่หวั่นไหว บริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั่วไป เป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุทรงฝึกดีแล้วเหมือนช้างหนุ่มฯ"
เทวดาอีกองค์หนึ่งกล่าวคาถานี้ว่า
"เหล่าชนผู้นับถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ จักไม่ไปอบายภูมิ ครั้นละกายมนุษย์แล้ว ก็จะทำให้หมู่เทพเพิ่มจำนวนมากขึ้นเต็มที่"
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดา จากโลกธาตุ ๑๐ มาประชุมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเยี่ยมตถาคตและภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายพวกเทวดาได้มาประชุมกัน เพื่อ เฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตกาล ก็มีจำนวนมากเท่าที่ประชุมกันเพื่อเฝ้าเราในบัดนี้เช่นกัน พวกเทวดาที่มาประชุมกันเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล ก็มีจำนวนมากเท่าที่ประชุมกันเพื่อเฝ้าเราในบัดนี้ เราจักระบุชื่อของพวกเทวดา จักแสดงชื่อพวกเทวดา พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัส
ภุมมเทวดา
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถานี้ว่า เราจักกล่าวเป็นร้อยกรอง ภุมมเทวดาอาศัยอยู่ ณ ที่ใด พวกภิกษุก็อาศัยอยู่ที่นั้น ภิกษุเหล่าใดอาศัยซอกเขา มีความมุ่งมั่น มีจิตใจตั้งมั่น พวกเธอมีจำนวนมาก เร้นอยู่ราวกับพญาราชสีห์ ข่มความขนพองสยองเกล้าลงเสีย ได้มีจิตผุดผ่องหมดจด ผ่องใส ไม่ขุนมัว
พระศาสดาทรงทราบว่ามีพระภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป อยู่ ณ ป่ามหาวัน จึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีในพระศาสนามาตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย หมู่เทพมุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กระทำความเพียร จึงมีญาณทำให้เห็นพวกอมนุษย์ปรากฏขึ้น ภิกษุบางพวกเห็น ๑๐๐ ตน บวงพวกเห็น ๑,๐๐๐ ตน บางพวกเห็น ๗๐,๐๐๐ ตน บางพวกเห็น ๑๐๐,๐๐๐ ตน บางพวกเห็นมากมายจนไม่สามารถนับได้กระจายอยู่ไปทั่วทิศ พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงทราบเหตุนั้นทั้งหมด จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า หมู่เทพมุ่งกันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทพนั้น เราจะบอกพวกเธอด้วยวาจาตามลำดับ
ยักษ์ ๗,๐๐๐ ตน เป็นภุมมเทวดาอาศัยในพระนครกบิลพัสดุ์ ยักษ์ ๖,๐๐๐ ตนอยู่ที่เขาหิมพานต์ ยักษ์ ๓,๐๐๐ ตน อยู่ที่เขาสาตาคีรี ยักษ์เหล่านั้นรวมเป็น มีผิวพรรณต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างก็มีความยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย รวมทั้งยักษ์ ๕๐๐ ตน อยู่ที่เขาเวสสามิตตะ กุมภีร์ยักษ์ผู้รักษากรุงราชคฤห์อยู่ที่เขาเวปุลละ มียักษ์ ๑๐๐,๐๐๐ ตนเป็นบริวาร ก็เช่นเดียวกัน
ท้าวจตุโลกบาล
ท้าวธตรัฐปกครองทิศตะวันออก เป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ ท้าววิรุฬหกปกครองทิศใต้ เป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ ท้าววิรูปักษ์ปกครองของทิศตะวันตก เป็นอธิบดีของพวกนาค ท้าวกุเวรเป็นใหญ่ในทิศเหนือ ท้าวจตุมหาราชมีแสงสว่างรุ่งเรืองส่องไปโดยรอบทั่วทั้ง ๔ ทิศ เป็นมหาราชผู้มียศ แม้บุตรก็มีจำนวนมาก ต่างมีพลังมากมีชื่อว่า "อินท" มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างมีความยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
อนึ่ง เหล่านาคที่อยู่ในสระชื่อ อนาภสะ ในกรุงเวสาลีและที่อื่น เหล่าครุฑผู้เป็นทิพย์มีนัยน์ตาบริสุทธิ์ พวกอสุรอาศัยในสมุทร และพญามารก็มาด้วย
เทวนิกาย ๖๐
ในเวลานั้นเทพ ๑๐หมู่ คือ อาโป ปฐวี เตโช วาโย วรุณะ วารุณะ โสมะ ยสสะ เมตตา และกรุณา เป็นผู้มียศก็มาด้วย เทพ ๑๐ หมู่เหล่านี้แบ่งเป็น ๑๐พวก รวมทั้งหมู่เทวดา ๑๐ เหล่า แบ่งเป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอนุภาพ มีผิวพรรณางดงาม มียศ ต่างมีความยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย มาตามกำหนดชื่อหมู่เทพและเทพเหล่าอื่น ผู้มีผิวพรรณและชื่อเช่นนั้นก็มาพร้อมกัน ด้วยคิดว่า "พวกเราจะพบพระนาคะ ผู้ไม่มีการเกิดอีกต่อไป ไม่มีกิเลสดุจตะปู ก้าวข้ามโอฆะ คือ กิเลสได้แล้ว ไม่ม่อาสวะ พ้นโอฆะได้แล้ว ล่วงพ้นธรรมฝ่ายต่ำ ดุจดวงอาทิตย์พ้นจากเมฆ"
พรหมนิกาย
สุพรหมและปรมัตตพรหม ผู้เป็นบุตร ของพระพุทธเจ้าผู้มีฤทธิ์ก็มาด้วย และเมื่อเสนามารมาถึง พระศาสดาได้ตรัสบอกกับเทพทั้งหมดเหล่านั้น พร้อมทั้งพระอินทร์ และพระพรหมผู้ประชุมกันอยู่ว่า "ท่านจงดูความโง่เขลาของกัณหมาร พญามารได้ส่งไปในที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพพร้อมกำชับว่า พวกท่านจงไปจับหมู่เทพผูกไว้ด้วยราคะล้อมไว้ทุกด้าน อย่าปล่อยให้ผู้ใดหลุดพ้นไปได้" แล้วก็เอาฝ่ามือตบแผ่นดินทำเสียงหน้ากลัว เหมือนฝนตก ฟ้าแลบร้อง คำรามอยู่ แต่พญามารก็ไม่อาจทำให้ใครตกอยู่ในอำนาจได้จึงเกรี้ยวโกรธกลับไป
พระศาสดาผู้มีจักษุทรงทราบเหตุนั้นทั้งหมด ทรงกำหนดได้แล้วจึงตรัสเรียกพระสาวกผู้ยินดีในพระศาสนามาตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เสนามารมุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักเขา"
ภิกษุเหล่านั้นทูลสนองพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแล้ว พากันทำความเพียร มารและเสนามารหลีกไปจากเหล่าภิกษุผู้ปราศจากราคะ ไม่อาจแม้ทำขนของภิกษุเหล่านั้นให้ไหว
พญามารกล่าวสรรเสริญว่า หมู่พระสาวกพระพุทธเจ้าชนะสงครามแล้วทั้งสิ้น ล่วงพ้นความกลัวได้แล้ว มียศปรากฎในหมู่ชน บันเทิงอยู่กับพระอริยเจ้าในพระศาสนาของพระทศพล ฯ
สวดมหาสมัยสูตรเมื่อไร สวดมหาสมัยสูตรแล้วได้อะไร
พญามารกล่าวสรรเสริญว่า หมู่พระสาวกพระพุทธเจ้าชนะสงครามแล้วทั้งสิ้น ล่วงพ้นความกลัวได้แล้ว มียศปรากฎในหมู่ชน บันเทิงอยู่กับพระอริยเจ้าในพระศาสนาของพระทศพล ฯ
สวดมหาสมัยสูตรเมื่อไร สวดมหาสมัยสูตรแล้วได้อะไร
มหาสมัยสูตร เป็นสูตรว่าด้วยสมัยเป้นที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพ ในยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีการประชุมใหญ่ของเหล่าเทวดาทั้งหลายเช่นนี้เพียงครั้งเดียว เทวดาทั้งหลายจึงพากันคิดว่าพวกเราจะฟังพระสูตรนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงมหาสมัยสูตรจบ เทวดาจำนวนหนึ่งแสนโกฎิได้บรรลุพระอรหันต์
พระสูตรนี้จึงเป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา เทวดาทั้งหลายต่างก็คิดว่าพระสูตรของตน เมื่อสวดพระสูตรนี้จะทำให้เหล่เทวดาทั้งหลายประชุมกัน เมื่อเทวดาประชุมกันก็จะทำให้สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายถอยห่างออกไป เป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เข้ามาใกล้ตัวเรานั้นเอง
พระอรรถกถาจารย์จึงแนะนำว่า "มหาสมัยสูตรนี้ เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา ในสถานที่ใหม่เอี่ยม เมื่อจะกล่าวมงคลกถา ควรสวดพระสูตรนี้" หมายความว่าในสถานที่สำคัญที่จะประกอบกิจใหม่ หรือในสถานใดที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ เมื่อจะสวดมงคลกถาในสถานที่เช่นนี้ควรสวดมหาสมัยสูตรนี้
เนื่องจากมหาสมัยสูตรเป็นสูตรใหญ่ จึงไม่นิยมใช้สวดในงานทำบุญทั่ว ๆ ไป แต่จะนิยมนำไปสวดเฉพาะในพิธีที่เกี่ยวข้องกับความอยู่เย็นเป็นสุขของทางบ้านเมืองเป็นหลัก
นอกนั้นแล้ว การเจริญพระพุทธมนต์ยังเป็นรูปแบบของการเจริญสมาธิภาวนาอย่างหนึ่ง แต่แทนที่จะใช้วิธีนั่งบริกรรมให้จิตเกาะเกี่ยวอยู่กับคำใดคำหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นสื่อให้เข้าถึงความสงบ ก็ใช้วิธีจิตเกาะเกี่ยวไปกับอักขระเป็นเกาะแสเช่นนี้ ไม่ปล่อยให้ความรัก โลภ โกรธ หลง กามราคะ อาฆาตพยาบาท ได้โอกาสแทรกเข้ามาครอบงำจิต ทำให้จิตมีความผ่องใส เป็นจิตมีพลังในการต้านทานกิเลสที่จะเข้ามามีอำนาจเหนือสติปัญญา จิตเช่นนี้เป็นจิตสงบ คือสงบจากกามราคะ อาฆาตพยาบาท หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาณ เบื่อหน่าย จึงชื่อว่า "จิตเป็นสมาธิ"
จากหนังสือ "มหาสมัยสูตร" บทสวดมนต์เพื่อความร่มเย็นแห่งแผ่นดิน และเพื่อสันติภาพโลกรวบรวมโดย พระมหาเหลา ประชาษฎร์ เขียนบทบรรยายโดย ปิยโสภณ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ
คลิ๊กที่เครื่องเล่นเพื่อฟัง ตำนานมหาสมัยสูตร และ บทสวดมหาสมัยสูตร
คลิ๊กที่ชื่อไฟล์เพื่อดาวน์โหลดค่ะ
มะหาสะมะยะสุตตัง (บทสวดมหาสมัยสูตร) ได้พยายามพิมพ์ตัดคำแต่ละบันทัดตามจังหวะเว้นวรรคของการสวด
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุธธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุธธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุธธัสสะ
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสมิง มะหาวะเน
มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมะเตหิ ภิกขุสะเตหิ สัพเพเหวะ อะระหันเตหิ.
ทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ เทวะตา เยภุยเยนะ สันนิปะติตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ.
อะถะโข จะตุนนัง สุทธาวาสะกายิกานัง เทวานัง เอตะทะโหสิ.
อะยังโข ภะคะวา สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสมิง มะหาวะเน
มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ สัพเพเหวะ อะระหันเตหิ
ทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ เทวะตา เยภุยเยนะ สันนิปะติตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ
ยันนูนะ มะยัมปิ เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะเมยยามะ
อุปะสังกะมิตวา ภะคะวะโต สันติเก ปัจเจกะคาถา ภาเสยยามาติ.
อะถะโข ตา เทวะตา
เสยยะถาปิ นามะ พะละวา ปุริโส สัมมิญชิตัง วา พาหัง ปะสาเรยยะ
ปาสาริตัง วา พาหัง สัมมิญเชยยะ
เอวะเมวะ สุทธาวาเสสุ เทเวสุ อันตะระหิตา ภะคะวะโต ปุระโต ปาตุระหังสุ.
อะถะโข ตา เทวะตา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐังสุ.
เอกะมันตังฐิตา โข เอกา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ
มะหาสะมะโย ปะวะนัสมิง เทวะกายา สะมาคะตา
อาคะตัมหะ อิมัง ธัมมะสะมะยัง
ทักขิตาเยวะ อะปะราชิตะสังฆันติ.
อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ.
ตัตระ ภิกขะโว สะมาทะหังสุ จิตตัง อัตตะโน
อุชุกะมะกังสุ สาระถีวะ เนตตานิ คะเหตวาอินทริยานิ รักขันติ ปัณฑิตาติ.
อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ.
เฉตวา ขีลัง เฉตวา ปะลีฆัง อินทะขีลัง
โอหัจจะมะเนชา เต จะรันติ สุทธา วิมะลา จักขุมะตา สุทันตา
สุสู นาคาติ อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ.
เย เกจิ พุทธัง สะระณังคะตา เส
นะ เต คะมิสสันติ อะปายะภูมิง
ปะหายะ มานุสัง เทหัง เทวะกายัง ปะริปูเรสสันตีติ.
อะถะโข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ
เยภุยเยนะ ภิกขะเว ทะสะสุ โลกะธาตูสุเทวะตา สันนิปะติตา ตะถาคะตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ
เยปิ เต ภิกขะเวอะเหสุง อะตีตะมัทธานัง อะระหันโต สัมมาสัมพุทธา
เตสัมปิ ภะคะวันตานังเอตะปะระมาเยวะ เทวะตา สันนิปะติตา อะเหสุง.
เสยยะถาปิ มัยหัง เอตะระหิ เยปิ เต ภิกขะเว ภะวิสสันติ.
อะนาคะตะมัทธานัง อะระหันโต สัมมาสัมพุทธา,
เตสัมปิ ภะคะวันตานัง เอตะปะระมาเยวะ เทวะตา สันนิปะติตา ภะวิสสันติ.
เสยยะถาปิ มัยหัง เอตะระหิ
อาจิกขิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ.
กิตตะยิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ
เทสิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ.
ตัง สุณาถะ สาธุกัง มะนะสิกะโรถะ ภาสิสสามีติ.
เอวัมภันเตติ โข เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง.
ภะคะวา เอตะทะโวจะ.
สิโลกะมะนุสกัสสามิ
สิโลกะมะนุสกัสสามิ
ยัตถะ ภุมมา ตะทัสสิตา
เย สิตา คิริคัพภะรัง ปะหิตัตตา สะมาหิตา
ปุถู สีหาวะ สัลลีนา โลมะหังหาภิสัมภิโน
โอทาตะมะนะสา สุทธา
วิปปะสันนะมะนาวิลา
ภิยโย ปัญจะสะเต ญัตวา วะเน กาปิละวัตถะเว
ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต
เทวะกายา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะเว
เต จะอาตัปปะมะกะรุง
สัตวา พุทธัสสะ สาสะนัง
เตสัมปาตุระหุ ญาณัง
อะมะนุสสานะ ทัสสะนัง
อัปเปเก สะตะมัททักขุง
สะหัสสัง อะถะ สัตตะริง
สะตัง เอเก สะหัสสานัง
อะมะนุสสานะมัททะสุง
อัปเปเกนันตะมัททักขุง
ทิสา สัพพา ผุฏา อะหุง
ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ
วะวักขิตวานะ จักขุมา
ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต
เทวะกายา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะโว
เย โวหัง กิตตะยิสสามิ
คิราหิ อะนุปุพพะโส
สัตตะสะหัสสา วะยักขา
ภุมมา กาปิละวัตถะวา
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ฉะสะหัสสา เหมะวะตา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
สาตาคิรา ติสะหัสสา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
อิจเจเต โสฬะสะสะหัสสา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
เวสสามิตตา ปัญจะสะตา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
กุมภิโร ราชะคะหิโก
เวปุลลัสสะ นิเวสะนัง
ภิยโย นัง สะตะสะหัสสัง
ยักขานัง ปะยิรุปาสะติ
กุมภิโร ราชะคะหิโก
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.
ปุริมัณจะ ทิสัง ราชา
ปุริมัณจะ ทิสัง ราชา
ธะตะรัฏโฐ ปะสาสติ
คันธัพพานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส
ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา
วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ
กุมภัณฑานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส
ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา
วิรูปักโข ปะสาสติ
นาคานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส
ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา
กุเวโร ตัปปะสาสะติ
ยักขานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส
ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ
ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข
กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง.
จัตตาโร เต มะหาราชา
สะมันตา จะตุโร ทิสา
ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ
วะเน กาปิละวัตถะเว.
เตสัง มายาวิโน ทาสา
ยาคู วัญจะนิกา สะฐา
มายา กุเฎณฑุ เวเฏณฑุ
วิฏู จะ วิฏุโต สะหะ
จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ
กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ
ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ
เทวะสูโต จะ มาตะลิ
จิตตะเสโน จะ คันธัพโฑ
นะโฬราชา ชะโนสะโภ
อาคู ปัญจะสิโข เจวะ
ติมพะรู สุริยะวัจฉะสา
เอเต จัญเญ จะ ราชาโน
คันธัพพา สะหะ ราชุภิ
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิตัง วินัง.
อะถาคู นาภะสา นาคา
เวสาลา สะหะตัจฉะกา
กัมพะลัสสะตะรา อาคู
ปายาคา สะหะ ญาติภิ.
ยามุนา ธะตะรัฏฐา จะ
อาคู นาคา ยะสัสสิโน
เอราวัณโณ มะหานาโค
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.
เย นาคะราเช
เย นาคะราเช
สะหะสา หะรันติ
ทิพพา ทิชา ปักขิ วิสุทธะจักขู
เวหายะสา เต วะนะมัชฌะปัตตา
จิตรา สุปัณณา อิติ เตสะ นามัง
อะภะยันตะทา นาคะราชานะมาสิ
สุปัณณะโต เขมะมะกาสิ พุทโธ
สัณหาหิ วาจาหิ อุปะวะหะยันตา
นาคา สุปัณณา สะระณะมะกังสุ พุทธัง.
ชิตา วะชิระหัตเถนะ
สะมุททัง อะสุรา สิตา
ภาตะโร วาสะวัสเสเต
อิทธิมันโต ยะสัสสิโน
กาละกัญชา มะหาภิสมา
อะสุรา ทานะเวฆะสา
เวปะจิตติ สุจิตติ จะ
ปะหาราโท นะมุจี สะหะ
สะตัญจะ พะลิปุตตานัง
สัพเพ เวโรจะนามะกา
สันนัยหิตวา พะลิง เสนัง
ราหุภัททะมุปาคะมุง
สะมะโยทานิ ภัททันเต
ภิกขุนัง สะมิติง วินัง.
อาโป จะ เทวา ปะฐะวี จะ
เตโช วาโย ตะทาคะมุง
วะรุณา วารุณา เทวา
โสโม จะ ยะสะสา สะหะ
เมตตากะรุณากายิกา
อาคู เทวา ยะสัสสิโน
ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
เวณฑู จะ เทวา สะหะลี จะ
อะสะมา จะ ทุเว ยะมา
จันทัสสูปะนิสา เทวา
จันทะมาคู ปุรักขิตา
สุริยัสสูปะนิสา เทวา
สุริยะมาคู ปุรักขิตา
นักขัตตานิ ปุรักขิตวา
อาคู มันทะพะลาหะกา
วะสูนัง วาสะโว เสฏโฐ
สักโก ปาคะ ปุรินทะโท
ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
อะถาคู สะหะภู เทวา
ชะละมัคคิสิขาริวะ
อะริฏฐะกา จะ โรชา จะ
อุมมา ปุปผะนิภาสิโน
วะรุณา สะหะธัมมา จะ
อัจจุตา จะ อะเนชะกา
สุเลยยะรุจิรา อาคู
อาคู วาสะวะเนสิโน
ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
สะมานา มะหาสะมานา
มานุสา มานุสุตตะมา
ขิฑฑาปะทูสิกา อาคู
อาคู มะโนปะทูสิกา
อะถาคู หะระโย เทวา
เย จะ โลหิตะวาสิโน
ปาระคา มะหาปาระคา
อาคู เทวา ยะสัสสิโน
ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
สุกกา กะรุมหา อะรุณา
อาคู เวฆะนะสา สะหะ
โอทาตะคัยหา ปาโมกขา
อาคู เทวา วิจักขะณา
สะทามัตตา หาระคะชา
มิสสะกา จะ ยะสัสสิโน
ถะนะยัง อาคา ปะชุนโน
โย ทิสา อะภิวัสสะติ
ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
เขมิยา ตุสิตา ยามา
กัฏฐะกา จะ ยะสัสสิโน
ลัมพิตะกา ลามะเสฏฐา
โชติมานา จะ อาสะวา
นิมมานะระติโน อาคู
อะถาคู ปะระนิมมิตา
ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน
อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน
โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
สัฏเฐเต เทวะนิกายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน
นามันวะเยนะ อาคัญฉุง
เย จัญเญ สะทิสา สะหะ
ปะวุตถะชาติมักขีลัง
โอฆะติณณะมะนาสะวัง
ทักเข โมฆะตะรัง นาคัง
จันทังวะ อะสิตาสิตัง
สุพรัหมา ปะระมัตโต จะ
ปุตตา อิทธิมะโต สะหะ
สันนังกุมาโร ติสโส จะ
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.
สะหัสสะพรัหมะโลกานัง
มะหาพรัหมาภิติฏฐะติ
อุปะปันโน ชุติมันโต
ภิสมากาโย ยะสัสสิ โส.
ทะเสตถะ อิสสะรา อาคู
ปัจเจกะวะสะวัตติโน
เตสัญจะ มัชธะโต อาคา
หาริโต ปะริวาริโต.
เต จะ สัพเพ อะภิกกันเต
สินเท เทเว สะพรัหมะเก
มาระเสนา อะภิกกามิ
ปัสสะ กัณหัสสะ มันทิยัง
เอถะ คัณหะถะ พันธะถะ
ราเคนะ พันธมัตถุ โว
สะมันตา ปะริวาเรถะ
มา โว มุญจิตถะ โกจิ นัง.
อิติ ตัตถะ มะหาเสโน
กัณหะเสนัง อะเปสะยิ
ปาณินา ตะละมาหัจจะ
สะรัง กัตวานะ เภระวัง.
ยะถา ปาวุสสะโก เมโฆ
ถะนะยันโต สะวิชชุโก
ตะทา โส ปัจจุมาวัตติ
สังกุทโธ อะสะยังวะเส.
ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ
วิวักขิตวานะ จักจุมา
ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต
มาระเสนา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะโว.
เต จะ อาตัปปะมะกะรุง
สุตวา พุทธัสสะ สาสะนัง
วีตะราเคหิ ปักกามุง
เนสัง โลมัมปิ อิญชะยุง.
สัพเพ วิชิตะสังคามา
ภะยาตีตา ยะสัสสิโน
โมทันติ สะหะ ภูเตหิ
สาวะกา เต ชะเนสุตาติ.
มะหาสะมะยะสุตตัง นิฏฐิตัง.
พระสูตรที่เป็นธัมมาภิสมัย
พระสูตรที่เป็นธัมมาภิสมัย หมายถึงพระสูตรเมื่อแสดงออกมาแล้ว มีเทวดาบรรลุมรรคผลกันมาก อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ ๑๘ โกฏิ อย่างมากก็คือไม่สามารถจะนับจำนวนได้ มีอยู่ ๖ สูตรคือ
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
๒. มงคลสูตร
๓. มหาสมัยสูตร
๔. ราหุโลวาทสูตร
๕. ปราภวสูตร
๖. สมจิตตสูตร
ห้าสูตรแรกนั้น พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงแสดงเอง แต่สูตรสุดท้าย คือสมจิตตสูตรนั้น พระสารีบุตรผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาซึ่งเลิศด้วยปัญญาเป็นผู้แสดง
ความสำคัญของพระสูตรที่เป็นธัมมาภิสมัย ก็คือมีเทวดาบรรลุมรรคผลจากพระสูตรเหล่านี้เป็นจำนวนมาก และก็เป็นธรรมดาที่ว่า ผู้ใดบรรลุมรรคผลเพราะพระสูตรใด ก็จะมีความชอบในพระสูตรนั้นเป็นพิเศษ แสดงว่าเทวดาที่ชอบพระสูตรที่เป็นธัมมาภิสมัยนั้น จะมีมากกว่าพระสูตรทั่วๆ ไป ฉะนั้นท่านโบราณจารย์ท่านจึงแนะนำให้พุทธศาสนิกชน นำพระสูตรที่เป็นธัมมาภิสมัยมาสวดกันบ่อยๆ เพราะว่าผู้สวดจะเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาจำนวนมาก เทวดาทั้งหลายก็จะคุ้มครองรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุข จะประกอบกิจการอันใด ก็จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยเทวานุภาพ และเมื่อนำไปสวดในสถานที่ใด จะทำให้บังเกิดเป็นมงคลสถานเจริญรุ่งเรือง สถานที่นั้นและบุคคลในสถานที่นั้น จะได้รับการคุ้มครองรักษาจากเทวดาทั้งหลาย
พระสูตรที่เป็นธัมมาภิสมัยที่นิยมนำมาสวดกัน คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มงคลสูตร และมหาสมัยสูตร สำหรับธัมมจักกัปปวัตนตสูตรและมงคลสูตรนั้น มีพิมพ์เผยแพร่แพร่หลายตามหนังสือสวดมนต์ทั่วไป อย่างเช่นในหนังสือมนต์พิธี สามารถหาดูได้ง่าย แต่สำหรับมหาสมัยสูตรนั้น จะมีครบถ้วนเต็มสูตรอยู่ในหนังสือสวดมนต์ ๑๒ ตำนานและหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง ในหนังสือมนต์พิธีนั้นไม่มีมหาสมัยสูตรครบเต็มสูตรมีแต่ท่อนท้าย จะปรากฏอยู่ในหนังสือมนต์พิธีว่า ท้ายมหาสมัยสูตร.......
บัดนี้จะได้ชักนิทานมาแสดงแก่ท่านสาธุชน ให้เห็นถึงความที่มหาสมัยสูตรนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจแก่เทวดาทั้งหลาย เพื่อจะได้พอกพูนศรัทธาปสาทะแก่ท่านสาธุชน
นิทานเรื่องนี้มาในคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค ตอนมหาสมัยสูตร ท่านกล่าวว่า มหาสมัยสูตรนี้เป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา ฉะนั้นในสถานที่ใหม่เอี่ยม (เช่นวัดเริ่มสร้าง บ้านสร้างใหม่) เมื่อจะกล่าวมงคล ก็พึงกล่าวแต่พระสูตรนี้นั่นเทียว
ได้ยินว่า ในช่วงเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังแสดงมหาสมัยสูตรอยู่นั้น พวกเทวดาพากันคิดว่า พวกเราจะฟังพระสูตรนี้ แล้วก็เงี่ยโสตลงฟัง ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจบ เทวดาจำนวนหนึ่งแสนโกฏิได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ส่วนมรรคผลเบื้องต่ำทั้ง ๓ คือ อนาคามี สกิทาคามี โสดาบันนั้น จำนวนเทวดาที่บรรลุไม่สามารถที่จะนับได้ ฉะนั้นเพราะเหตุนี้มหาสมัยสูตรจึงเป็นสูตรหนึ่งที่เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลายเป็นอันมาก
ได้ยินว่า ในช่วงเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังแสดงมหาสมัยสูตรอยู่นั้น พวกเทวดาพากันคิดว่า พวกเราจะฟังพระสูตรนี้ แล้วก็เงี่ยโสตลงฟัง ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจบ เทวดาจำนวนหนึ่งแสนโกฏิได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ส่วนมรรคผลเบื้องต่ำทั้ง ๓ คือ อนาคามี สกิทาคามี โสดาบันนั้น จำนวนเทวดาที่บรรลุไม่สามารถที่จะนับได้ ฉะนั้นเพราะเหตุนี้มหาสมัยสูตรจึงเป็นสูตรหนึ่งที่เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลายเป็นอันมาก
มีเรื่องเล่าว่า ที่วัดโกฏิบรรพต มีเทพธิดาองค์หนึ่งอยู่ที่ต้นกากะทิง ใกล้ประตูถ้ำกากะทิง ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งท่องมหาสมัยสูตรภายในถ้ำ เทพธิดาองค์นั้นได้ฟังแล้ว ในเวลาจบพระสูตรเทพธิดาก็ได้ให้สาธุการด้วยเสียงอันดัง
ภิกษุหนุ่มจึงถามว่า "นั่นใคร"
เทพธิดาตอบว่า "ดิฉันเป็นเทพธิดาเจ้าค่ะ"
ภิกษุหนุ่มถามอีกว่า "ทำไมจึงได้ให้สาธุการ"
"ท่านเจ้าคะ ดิฉันได้ฟังพระสูตรนี้ในวันที่สมเด็จพระทศพลประทับนั่งแสดงในป่ามหาวัน วันนี้ได้ฟังอีก ธรรมบทนี้ท่านถือเอาดีแล้ว เพราะไม่ทำให้อักษรแม้ตัวเดียวคลาดจากคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ที่ป่ามหาวันเมื่อครั้งโน้นเลย"
ภิกษุถามอีกว่า "เมื่อพระทศพลกำลังแสดงอยู่ คุณได้ฟังหรือ"
"อย่างนั้น เจ้าค่ะ"
"เขาว่าเทวดาเข้าประชุมมาฟังกันมาก แล้วคุณยืนฟังที่ไหน"
"ท่านเจ้าคะ ดิฉันเป็นรุกขเทวดาอยู่ในป่ามหาวัน มีศักดิ์น้อย ก็เมื่อเทวดาชั้นผู้ใหญ่กำลังพากันมา ดิฉันไม่ได้ที่ว่างในชมพูทวีปเลย ต้องถอยร่นไปสู่ตามพปิณณิทวีป ยืนริมฝั่งที่ท่าชัมพูโกล แต่แม้จะถอยมาถึงท่านั้นแล้วก็ตาม เมื่อเทวดาชั้นผู้ใหญ่ทยอยมาเพิ่ม ดิฉันก็ต้องถอยร่นมาโดยลำดับ แช่น้ำทะเลลึกแค่คอ ทางส่วนหลังของหมู่บ้านใหญ่ในจังหวัดโรหณะ แล้วก็ยืนฟังในที่นั้น"
"จากที่ซึ่งคุณยืนอยู่มันไกลนัก แล้วคุณเห็นพระศาสดาหรือ เทพธิดา"
"ทำไมจะไม่เห็นท่าน ด้วยพุทธานุภาพนั้น ดิฉันรู้สึกว่า พระศาสดาซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมอยู่ในป่ามหาวัน ทรงแลดูดิฉันโดยเฉพาะเจาะจงอยู่เสมอ จนดิฉันรู้สึกเกรงและละอาย"
ภิกษุจึงถามต่อว่า "เขาเล่าว่า วันนั้นมีเทวดาแสนโกฏิสำเร็จพระอรหัตผล แล้วคุณล่ะตอนนั้นได้สำเร็จพระอรหัตผลด้วยหรอกหรือ"
"ไม่หรอกค่ะ ท่านผู้เจริญ"
"สำเร็จอนาคามิผล กระมัง"
"ไม่หรอกค่ะ ท่านผู้เจริญ"
"เห็นจะสำเร็จสกิทาคามิผล กระมัง"
"ไม่หรอกค่ะ ท่านผู้เจริญ"
"เขาว่า พวกเทวดาที่สำเร็จมรรคผลตั้งแต่โสดาบันไปจนถึงอนาคามีนั้นไม่สามารถนับจำนวนได้ แล้วคุณล่ะเทพธิดา สงสัยจะได้บรรลุโสดาบันกระมัง"
ซึ่งความจริง ในวันนั้นเทพธิดาองค์นี้ได้บรรลุโสดาปัตติผล เมื่อถูกภิกษุถามเจาะจงเข้าจึงรู้สึกเขินอาย เทพธิดาจึงได้กล่าวตัดบทว่า
"พระคุณเจ้าไม่น่าถามซอกถามแซก"
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นจึงกล่าวกับเทพธิดาว่า "นี่แน่ะ คุณเทพธิดา คุณจะสามารถแสดงกายให้อาตมาเห็นได้หรือไม่"
เทพธิดาตอบว่า "จะแสดงหมดทั้งตัวไม่ได้หรอกค่ะท่านผู้เจริญ ดิฉันจะแสดงแก่พระคุณเจ้าแค่ข้อนิ้วมือ"
ว่าแล้ว เทพธิดาก็เอานิ้วสอดเข้าไปในถ้ำ นิ้วมือก็ปรากฏแก่ภิกษุนั้นเหมือนกับว่าพระจันทร์พระอาทิตย์ขึ้นเป็นพันๆ ดวง
เทพธิดากล่าวว่า "จงอย่าประมาทในธรรมนะ ท่านเจ้าคะ" แล้วไหว้ภิกษุหนุ่ม ก่อนจากไป
อันว่ามหาสมัยสูตรนี้ ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลายอย่างนี้ เพราะว่าเทวดาทั้งหลายย่อมถือว่าพระสูตรนั้นเป็นของเราด้วยประการฉะนี้แล
อนึ่งมิใช่แต่มหาสมัยสูตร พระสูตรที่เป็นธัมมาภิสมัยย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของหมู่เทวดาทั้งหลายเช่นเดียวกัน ฉะนั้นท่านสาธุชนทั้งหลายจงปลูกศรัทธาให้บังเกิดขึ้นในดวงจิต หมั่นสวดสาธยายพระสูตรที่เป็นธัมมาภิสมัยอยู่เถิด ท่านจะเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา เทวดาทั้งหลายจะคอยคุ้มครองปกปักรักษาให้อยู่ดีมีสุขเจริญรุ่งเรือง คิดจะประกอบกิจการอันใดก็จะสำเร็จผลเป็นอัศจรรย์เหนือมนุษย์ทั้งปวง ด้วยอำนาจเทวานุภาพช่วยเหลือเกื้อกูลดังนี้แล