lp-man-framesmall

ธรรมเทศนาในปัจฉิมสมัยของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

ซึ่งพระภิกษุทองคำ ญาโณภาโส และ พระภิกษุวัน อุตตโม จดบันทึกไว้

ผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์วินัยมาก มีอุบายมากเป็นปริยายกว้างขวาง

ครั้นมาปฏิบัติทางจิต จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย ฉะนั้นต้องให้เข้าใจว่าความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้วต้องเก็บใส่ตู้ใส่หีบไว้เสียก่อน ต้องมาหัดผู้รู้คือจิตนี้

หัดสติให้เป็นมหาสติ

หัดปัญญาให้เป็นมหาปัญญา

กำหนดรู้เท่ามหาสมบัติ-มหานิยม อันเอาออกไปตั้งไว้ว่าอันนั้นเป็นอันนั้น เป็นวันคืนเดือนปี เป็นดินฟ้า อากาศกลางหาว ดาวนักขัตฤกษ์สารพัดสิ่งทั้งปวง อันเจ้าสังขารคืออาการจิต

หากออกไปตั้งไว้บัญญัติไว้ว่าเขาเป็นนั้นเป็นนี้ จนรู้เท่าแล้ว เรียกว่า กำหนดทุกข์ สมุทัย เมื่อทำให้มาก-เจริญให้มาก รู้เท่าเอาทันแล้ว จิตก็จะรวมลงได้

เมื่อกำหนดอยู่ก็ชื่อว่าเจริญมรรค หากมรรคพอแล้ว นิโรธ ก็ไม่ต้องกล่าวถึง หากจะปรากฏชัดแก่ผู้ปฏิบัติเอง เพราะศีลก็มีอยู่ สมาธิก็มีอยู่ ปัญญาก็มีอยู่ในกาย วาจา จิต นี้ที่เรียกว่าอกาลิโก ของมีอยู่ทุกเมื่อโอปนยิโก เมื่อผู้ปฏิบัติมาพิจารณาของที่มีอยู่ ปจฺจตฺตํ จึงจะรู้เฉพาะตัว คือ มาพิจารณากายอันนี้ให้เป็นของอสุภะเปื่อยเน่า แตกพังลง ไป ตามสภาพความเจริญของภูตธาตุ ปุเพสุ ภูเตสุ ธมฺเมสุ ในธรรมอันมีมาแต่เก่าก่อนสว่างโร่อยู่ทั้งกลางวันและ กลางคืน

ผู้มาปฏิบัติพิจารณาพึงรู้อุปมารูปเปรียบดังนี้ อันบุคคลผู้ทำนาก็ต้องทำลงไปในแผ่นดิน ลุยตมลุยโคลนตากแดดกรำฝน จึงจะเห็นข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าว สุกมาได้และได้บริโภคอิ่มสบาย  ก็ล้วนทำมาจากของมีอยู่ทั้งสิ้นฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ก็อยู่ใน กาย วาจา จิต ของ ทุกคน


Add comment


Security code
Refresh

Users
3929
Articles
271
Articles View Hits
3493390