× เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หรือเรื่องธรรมะอื่นๆ

ท่านชอบใจธรรมะของพระอาจารย์รูปใด

27 Sep 2010 01:58 - 04 Oct 2010 02:49 #10 by analaya
คำถามนี้เป็นคำถามที่คุณวิชัย ใจนา ถามมาใน Facebook และได้นำมารวมไว้ที่นี้เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ค่ะ
ขอบคุณ คุณวิชัย ใจนา ค่ะ

คุณวิชัย ใจนา > กระผมอยากจะถามว่า: ท่านชอบใจธรรมะของพระอาจารย์รูปใด?

อนาลยาตอบ >
ท่านแรกคือสมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน เสียงท่านดังฟังชัด ช้าๆ ต่อเนื่องไปตามลำดับธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง แต่ฟังง่าย ไม่มีการพูดผิดหรือย้อนไปย้อนมาให้สับสน ฟังไปปฏิบัติไป พิจารณาต...ามไปด้ย คิดเอาเองนะคะว่าท่านเจริญสติตลอดเวลาขณะที่ท่านเทศน์ คำสอนทุกคำเป็นธรรมะ ไม่มีคำฟุ่มเฟือย

ธรรมะและปฏิปทาการดำเนินชีวิตที่เอาพระธรรมเป็นที่ตั้ง สันโดษเป็นแบบอย่างที่ดีของครูอาจารย์รุ่นก่อนๆ ทั้งหลายเข่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ดู่ หลวงปู่บุดดา หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ชา หลวงปู่ขาว ท่านเจ้าคุณณร เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเช่น หลวงพ่อพุธ ท่านเทศน์เรื่องสภาวะการดำเนินไปของจิตภาวนาไว้อย่างละเอียดมาก นอกจากนี้ท่านเข้มงวด เคร่งครัดเรื่องการปฏิบัติ หมู่คณะ และวินัยสงฆ์เป็นอย่างยิ่ง

หลวงพ่อวิริยังค์ บางท่านบอกว่าที่วัดธรรมมงคลสอนแต่สมาธิภาวนา แต่หากได้ฟังหลวงพ่อวิริยังค์ท่านสอนโดยละเอียดแล้ว จะเข้าใจว่าท่านสอนสมาธิ และเน้นให้ต่อยอดวิปัสสนาด้วยเสมอ โดยสอนอย่างละเอียดตามสภวะของการปฏิบัติด้วยคำที่ฟังง่าย สอดแทรกอารมณ์ดีแบบผู้ใหญ่อารมณ์ดี เบิกบานอยู่เสมอ ทำให้ฟังได้ไม่เบื่อ

พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
แตกฉานมากทั้งปริยัติและปฏิบัติ เทศน์เยอะมากนานับประการ ท่านยกบาลีมาสอนอย่างยาวเหยีดได้อย่างไพเราะ แล้วอ้างพระไตรปิฎกโดยอาศัยความจำล้วนๆ บอกเล่ม บอกหน้าให้ด้วยเสมอ จำได้อย่างไรไม่ทราบ ไม่มีโอกาสเข้ากรรมฐานกับท่าน แต่ได้ยินว่าท่านเป็นพระอาจารย์กรรมฐานที่สอบอารมณ์กรรมฐานเก่งมาก

พะรอาจารย์ปสันโน ภิกขุ คำสอนของท่านต้องพิจารณาตาม ท่านสอนเรื่องมหาสติปัฏฐานสี่ให้ฟังดูง่าย แม่้คนไม่มีพื้นฐานก็เข้าใจได้ ท่านสอดแทรกคำสอนต่างๆ ของหลวงปู่ชาและตัวอย่างจากชีิวิตจริงตามที่สัมพันธ์กับ หัวข้อธรรม ท่านสอนไปเรื่อยๆๆๆๆๆ และเรื่อยๆๆๆ พอจบจึงเห็นภาพว่า อ้อ!!!! มหาสิปักฐานสี่ครบเลย ท่านแจ่มใสเบิกบานอยู่เสมอ ครั้งหนึ่งท่านไม่สบายมากเข้าขั้นอันตราย เกื่ยวกับเส้นเลือดในสมอง บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายกลับดูป่วยมากกว่าท่านเสียอีกด้วยจิตใจที่เป็นห่วงพระอาจารย์ก็ส่งออกมาทางสีหน้ากิริยา แต่พระอาจารย์กลับดูร่าเริงแจ่มใสมาก ไม่เหมือนคนป่วยเลย

พระครูเกษฒธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี) เป็นอีกหนึ่งที่สุดของพระวิปัสสนาจารย์ เป็นครูอาจารย์ท่านแรกที่สอนให้เห็นว่า ปริยัติไม่ใช่จะอยู่แต่ในตำรา เมื่อท่านชี้แนะอบรมสั่งสอนทำให้เข้าใจปริยัติได้มากขึ้นจากการปฏิบัติ และไม่เห็นปริยัติกับการปฏิบั...ติเป็นธรรมที่แยกจากกัน ท่านถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธองค์ได้ละเอียดชัดเจน สอบอารมร์กรรมฐานทำให้ผู้ปฏิบัติแก้ไขข้อขัดข้องได้อย่างตรงๆ หลายครั้งที่ข้าพเจ้าเคยได้รับคำตอบสั้นๆ หรือบางทีก็คำเดียว แต่มีความหมายมากมายไขข้อข้องใจได้หมด ยังไม่เคยเห็นท่านตอบคำถามเกี่ยวกับการเจริญภาวนาให้แก่ผู้ปฏิบัติไม่ได้เลยสักข้อเดียว ท่านเทศน์ไว้มากมาย ควรฟังซ้ำๆ แล้วปฏิบัติ แล้วกลับมาฟังอีก จะพบว่าคำสอนที่เคยฟังก่อนหน้านี้ ที่คิดว่าทราบแล้ว เข้าใจแล้วนั้น ที่จริงเป็นเพียงความเข้าใจจาการฟังและการคิดตามเท่านั้นเมื่อได้ปฏิบัติจึงเห็็นลงไปถึงสภาวะว่าเป็นเช่นนี้ๆ เอง จึงได้พบว่าคำสอนเป็นเพียงสมมุติ แม้ครูอาจารย์จะอธิบายชัดเจนอย่างไร แต่เมื่อเข้าใจจากการปฏิบัติแล้วจะพบว่าสมมุติเป็นเรื่องคับแคบ แต่สภาวะที่อยู่เบื้องหลังคำสมมุติที่ท่านสอนนั้นต่างหากมีสาระกว้างขวางยิ่งใหญ่ละเอียดละออชัดเจน และนี้แหละที่ครูอาจารย์พยายามสอนพวกเรา ชี้แนะโดยสมมุติ เพื่อให้เราข้ามพ้นสมมุติด้วยตนเอง

อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ เก่งมากๆๆๆ ดุดีด้วย จำได้ว่าฟังเทปท่านแล้วเกือบจะตกใจตอนที่ท่านถามคำถามลูกศิษย์แล้วไม่มีใครตอบได้ ท่านก็บอกว่า อะไรกัน???(ท่านทำเสียงสูงๆๆๆ) เพิ่งสอนไปเมือสามปีที่แล้ว ทำไมจำไม่ได้
นี่ดีนะคะที่เรียนทางเทปม้วนๆ ถ้าเรียนกับท่านจริงๆ คงจะต้องอายจนไม่ทราบเอาหน้าไปไว้ที่ไหน เพราะทุกวันนี้ ขนาดเพิ่งเรียนวันนี้ พรุ่งนี้ก็ลืมแล้ว

พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก และท่านอาจารย์ชัยวัฒน์ กบิลกาญจน์ สองท่านนี้สอนโดยยึดพระธรรมเป็นหลัก พระอาจารย์สมบัติ สอนทั้งพระสูตร และพระอภิธรรม ส่วนอาจารย์ชัยวัฒน์สอนพระอภิธรรม ท่านสอนได้เป็นชั่วโมงๆ อ้างอิงบาลีและ พระไตรปิฏกโดยไม่ต้องมีโน๊ตย่อไว้ดู ท่านอาจาย์ชัยวัฒน์นี้เคยถือกระดาษใบเดียว(แต่ไม่ได้ดู) แล้วสอนหลายชั่วโมงจนจบ ลูกศิษย์จดไม่ทัน

ครูอาจารย์ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

อนาลยา

Please Log in or Create an account to join the conversation.

Time to create page: 0.366 seconds
Users
3537
Articles
271
Articles View Hits
3194134