พระะพุทธศาสอนอะไร

อนาลยา Hits: 49215

 

sarana

พระพุทธศาสนาสอนอะไร

พระไตรปิฎกกับพระสัทธรรม ๓

ก่อนจะปรินิพพาน  พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า

"อานนท์  เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว  เธอทั้งหลายอาจจะคิดว่า  บัดนี้พวกเธอไม่มีศาสดาแล้วจะพึงว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง  อานนท์เอย  พึงประกาศให้ทราบทั่วกันว่า  ธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญัติแล้ว  ขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป  เธอทั้งหลายจงมีธรรมวินัยเป็นที่พึ่ง  อย่าได้มีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย"

ากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ปรารถนาที่จะศึกษาพระธรรมแต่ไม่สามารถใช้เวลาทั้งหมดให้แก่การศึกษาได้เหมือนข้าพเจ้า  หรือท่านมีความสงสัยว่าพระพุทธศาสนาสอนอะไร  และควรจะเริ่มศึกษาพระพุทธสาสนาอย่างไร  บทความนี้อาจจะเป็นประโยชน์ เพีื่อที่ท่านจะได้เลือกหมวดธรรมที่จะศึกษา  เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติบนพื้นฐานของความเข้าใจในความหมายตามหลักพระสัทธรรม ๓ 

ระธรรม ในทางพระทุทธศาสนา อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่าว่า "พระสัทธรรม"

ในพระไตรปิฎกได้อธิยบายคำว่าพระสัทธรรมไว้หลายนัย ได้แก่สัทธรรม ๓ สัทธรรม ๔  สัทธรรม๗  สัทธรรม ๘  และสัทธรรม ๑๐

ในที่นี้จะกล่าวถึงสัทธรรม ๓ ซึ่งถือเป็นหลักคำสอนของศาสนาพุทธ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๕๑ หน้า ๑๒๑ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ท่านได้แสดงไว้ว่าสัทธรรม 3  หมายถึง ธรรมอันดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของสัตบุรุษ, หลักหรือแก่นศาสนา ( good law; true doctrine of the good; essential doctrine)

รรมอันดี  หรือธรรมของสัตบุรุษ มี ๓ คือ

 

 

 



๑. ปริยัติสัทธรรม คือคำสอนของพระพุทธองค์ที่พุทธศานิกชนควรจะศึกษาเล่าเรียน  ได้แก่พระบาลี และอรรถกถา รวมเรียกว่า พระไตรปิฎก ซึ่งแบ่งเป็น ๓ หมวด  คือ

(๑) พระวินัยปิฎก คือประมวลกฎระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับศีลหรือสิกขาบท  ตลอดจนพิธีกรรมและธรรมเนียมของสงฆ์ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ สำหรับภิกษุ และภิกษุณี  อันเป็น กฎระเบียบ ที่พระภิกษุ และพระภิกษุณี จะต้องปฏิบัติ

(๒) พระสุตตันตปิฎก  หรื่อเรียกว่าสั้นๆว่า  พระสูตร ได้แก่พระพุทธพจน์ที่เป็นบุคลาธิษฐาน คือเป็นเรื่องราวที่ประกอบไปด้วย เนื้อหาสาระ ที่เกี่ยวกับบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ ตลอดจนบทประพันธ์ชาดกหรือ เรื่องราวชีวประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นต้น

(๓) พระอภิธรรมปิฎก คือธรรมอันยิ่ง เป็นประมวลคำสอนที่เป็นธรรมาธิษฐาน ป็นหลักวิชาการล้วนๆ ว่าด้วยเรื่องของสภาวธรรม เรียกอีกนัยหนึ่งว่า ปรมัตธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน หรือเรื่องอริยสัจ ๔ ประการ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ปัจจัย ๒๔ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น พระธรรมในหมวดพระอภิธรรมจึงไม่มีสัตว์บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ หรืิอเรื่องราวที่เป็นสมมุติบัญญัติประกอบเลย

พระไตรปิฎกมีเนื้อหารวมทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมเป็น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  ซึ่งหาก จะศึกษาค้นคว้าเล่าเรียนพระไตรปิฎกให้แจ่มแจ้งถ้วนทั่ว  ก็คงต้องอุทิศเวลาให้ทั้งชีวิต  หรือมิฉะนั้นก็ค่อยๆ  ศึกษาไปและเวียนว่ายไปจนกระทั่งหาที่สุดมิได้ การเริ่มต้นศึกษาและสะสมความรู้ความเข้าใจไปในขณะนี้เท่าที่ทำได้  จึงย่อมดีกว่าที่จะทอดทิ้งไม่สนใจศึกษาเส ียเลย  และเพียงแค่ความคิดจะศึกษาพระธรรมเกิดขึ้นในใจครั้งหนึ่งแล้วระลึกรู้  ก็นับได้ว่าจิตเป็นกุศลแล้ว

เมื่อพระไตรปิฎกมีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  แล้วเราจะเลือกศึกษาอย่างไร

พระพุทธพจน์ข้างต้นดังว่า ".....ธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญัติแล้ว  ขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอ...."  จะเห็นว่าทรงกล่าวถึงทั้ง  ธรรม  และวินัย  ธรรมนั้นหมายถึงพระสูตร และพระอภิธรรม  วินัยก็คือหมวดแรกในพระไตรปิฎก  คือ พระวินัยปิฎก

สำหรับพระวินัยนนั้น  แม้ทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นระเบียบข้อบังคับสำหรับพระภิกษุสงฆ์  แต่พุทธศาสนิกฝ่ายคฤหัสถ์ก็ควรรู้จักพระวินัยบางข้อของพระภิกษุสงฆ์ไว้บ้าง  เพื่อที่จะช่วยให้พระภิกษุสงฆ์จะรักษาตัวให้บริสุทธิ์  มิให้มีโทษทางพระวินัย  ทั้งนี้  หากฆราวาสไม่ทราบพระวินัยของพระเอาเสียเลย  ก็อาจจะปฏิบิติต่อพระภิกษุสงฆ์อย่างไม่ถูกต้อง  ทำให้ท่านต้องอาบัติ  และฆราวาสเองก็ได้บุญน้อย หรืออาจถึงขั้นเป็นบาปโดยไม่ทราบตัว

ด้วยเหตุนี้  ชาวพุทธจึงควรจะได้ศึกษาพระวินัยไว้บ้าง   ข้าพเจ้าขอแนะนำตัอย่างหนังสือ ๒ เล่ม ที่ท่านผู้เขียนได้รวบรวมพระวินัยบางข้อ ที่คฤหัสถ์ทั้งบุรุษและสตรีควรทราบมาแสดงพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติ คือ วินัยของพระภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรทราบ และ  วินัยพระน่ารู้คู่มือโยม

 


สำหรับพระสูตรนั้น คำสอนในพระสูตรมีทั้งที่เป็นเรื่องราวที่อ่านง่าย ฟัง่าย เข้าใจง่าย เช่นในอังคุลีมาลสูตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปโปรดองคุลิมาลโจร เป็นต้น  โดยส่วนตัวข้าพเจ้า นั้นเห็นว่า  ฆราวาสที่สนใจศึกษาพระสูตรมีน้อย  ส่วนใหญ่เป็นพะภิกษุสงฆ์ที่ค้นคว้่าเรื่องราวในพระสูตรที่ไม่ยากนัก เพื่อนำมาประกอบการแสดงพระธรรมเทศนา ทำให้การแสดงธรรมนั้นน่าสนใจ  ไม่น่าเบื่อ แม้แต่เด็กๆ ก็สามารถเข้าใจและจดจำเรื่องราวในพระสูตรและสามารถเปรียบเทียบเรื่องราวนำมาอุปมาอุปมัยกับชีวิตจริงได้  พระสูตรจึงเป็นคำสอนที่เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างศรัทธา  เพื่อโน้มน้าวความสนใจผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐานในการศึกษาพระธรรมให้มีความสนใจในพระธรรมเป็นเบื้องต้น

นอกจากนี้  พระสูตรยังประกอบด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักธรรม หรือแนวทางสำหรับการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา เช่น วิปัสสีสูตร ซึ่งเกี่ยวกับเหตุปัจจัย  และอวิชชาสูตร ซึ่งเกี่ยวกับอาหารของ อวิชชา วิชชา และวิมุตติ เป็นต้น

ความแตกต่างกันระหว่างพระสุตรกับอภิธรรมนั้น  คือพระสูตรใช้ถ้อยคำร้อยเรียงเป็นเรื่องราวมีการยกตัวอย่างเป็นสัตว์ บุคคล สถานที่  ส่วนพระอภิธรรมนั้นเป็นการกล่าวโดยใช้ปรมัตถสัจจะในการอธิบาย  แต่เนื้อหาของพระธรรมในทั้งสองหมวดเป็นไปในทำนองเดียวกัน  ต่างกันเพียงวิธีการสาธยาย

หากท่านมีความสนใจศึกษาพระสูตรจากการฟัง  ข้าพเจ้าขอแนะนำให้ท่านฟังการบรรยายพระสูตรจากอาจารย์ที่เป็นเลิศทางการบรรยายพระสูตรท่านหนึ่ง  คือพระอาจารย์สมบัติ นนฺทิโก ซึ่งท่านสามารถติดต่อสอบถามขอซีดีพระธรรมเทศนาได้ที่มูลนิธิรักษ์ธรรมที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๗๑๑-๕๙๙๗-๘

สุดท้ายคือพระอภิธรรม พอเอ่ยถึงพระอภิธรรม  บางท่านก็ร้องว่า  ยาก  เป็นธรรมที่ยาก  เป็นเรื่องที่มากเกิน  ไม่จำเป็นที่จะศึกษา  ความเป็นจริงก็คือ  ข้าพเจ้าไม่เถียงว่าพระอภิธรรมไม่ยาก เนื่องจากพระอภิธรรมปิฎก เป็นพระพุทธวจนะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแต่ปรมัตถธรรม  เป็นสภาวธรรมล้วนๆ  ไม่มีสมมติบัญญัติเจือปนเลย  ดังนั้นจึงเป็นธรรมที่พึงรู้ได้โดยยาก  ผู้ที่จะศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรมให้มีความฉลาดรอบรู้ได้เป็นอย่างดีนั้น จึงต้องเป็นบุคคลที่เป็นติเหตุกะปฏิสนธิเท่านั้น คือบุคคลที่เกิดมาด้วยเหตุ ๓  ได้แก่  อโลภะ  อโทสะ  และอโมหะ  ส่วนบุคคลที่เป็นทุเหตุกะปฏิสนธินั้น  ไม่สามารถจะศึกษาเล่าเรียนให้มีความฉลาดรอบรู้ได้ และหากถามว่าจำเป็นต้องศึกษาไหม  ข้าพเจ้าขอตอบด้วยหัวใจว่า  จำเป็นอย่างยิ่ง  ยิ่งกว่าการเรียนวิชาใดๆ ในโลกนี้  แต่หากถามว่า  การศึกษาพระอภิธรรมแค่ไหนที่จะเรียกว่าไม่มากเกินไปนั้น  คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ท่านสร้างมา  และเป็นเรื่องความพอใจของแต่ละท่านซึ่งยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกัน   ในเรื่องนี้  ข้าพเจ้าจำแนกบุคคลออกเป็น  ๖  ประเภท  คือ

  • ผู้ที่ไม่สนใจศึกษาพระอภิธรรมเลย  ด้วยไม่เคยทราบ ไม่เเคยแม้จะได้ยินชื่อนี้มาก่อน หรือเคยได้ยิน แต่ไม่ทราบว่าคืออะไร  ประเภทหนึ่ง
  • ผู้ทีทราบว่าพระอภิธรรมคืออะไร  แต่สำคัญผิดเห็นว่าเป็นเพียงคำสอนที่เกจิอาจารย์รจนาขึ้นเพื่อสั่งสอนศิษย์ในภายหลังเท่านั้น  ไม่ใช่พุทธพจนะ  จึงไม่ศึกษาเล่าเรียน  อีกประเภทหนึ่ง
  • และอีกประเภทหนึ่ง ผู้ที่ไม่สนใจศึกษา  เพราะมีความเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องศึกษา  ไม่เห็นประโยชน์  บุคคลประเภทที่สามนี้  นอกจากตนเองไม่ศึกษาแล้วยังมักจะไม่สนับสนุน  หรือไม่เห็นด้วยกับผู้ที่ศึกษา 
  • ส่วนอีกประเภทหนึ่ง  คือผู้ที่มีความสนใจที่จะศึกษาแต่คิดว่ายาก  กลัวว่าจะต้องท่องจำ  คิดว่าตนคงไม่สามารถศึกษาพระอภิธรรมได้
  • หรืออีกประเภทหนึ่ง  คือผู้ที่มีความสนใจเพราะคิว่าเป็นธรรมที่ควรศึกษา  แต่ไม่มีเวลา  หรือสนใจพอประมาณ  ศึกษาบ้าง  แต่มิได้ขวนขวาย  หรือแสวงหาครูอาจารย์
  • อีกประเภทหนึ่ง  คือผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติกรรมฐาน 
  • ประเภทสุดท้าย  คือบุคคลที่ทุ่มเทกาย  ใจให้กับการศึกษาพระอภิธรรมเป็นอย่างมาก  แสวงหาครูอาจารย์  และสถานที่เรียน  ทั้งท่อง  ทั้งจำ  ทั้งยังเผยแผ่แก่ผู้อื่น  บุคคลเหล่านี้ก็มีมาก  ข้าพเจ้าได้แต่อนุโมทนาเมื่อได้ยินว่าท่านเหล่านี้ (เพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียนพระอภิธรรมของข้าพเจ้าเอง)  เช้าวันเสาร์ไปเรียนที่วัดเพลงวิปัสสนาฯ  บ่ายไปเรียนที่วัดสามพระยา  เย็นไปติวที่วัดมหาธาตุฯ รุ่งขึ้นวันอาทิตย์เช้าไปเรียนที่วัดสังเวชฯ  แล้วตอนบ่ายกับตอนเย็น  ก็ไปเรียนที่อื่นๆ อีก เป็นต้น  เรียกว่าเรียนได้วันละ ๓ เวลา

โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้่าคิดว่า  เหตุที่สำคุญที่สุดที่ทำให้พุทธศาสนิกชนไม่สนใจศึกษาพระอภิธรรมก็เพราะว่าไม่ทราบว่าพระอภิธรรมเป็นการศึกษาเรื่องอะไร  เกี่ยวข้องกับชีวิตที่เป็นอยู่อย่างไร  เมื่อไม่เข้าใจว่าพระอภิธรรมเกี่ยวข้องกับชีวิตอย่างไร  คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว  ก็ไม่เห็นประโยชน์ของการศึกษาพระอภิธรรม  จึงไม่ศึกษา
ดังนั้นข้าพเจ้าจะกล่าวถึงการศึกษาพระอภิธรรม  และประโยชน์  และข้อคิดในการศึกษาพระอภิธรรมโดยย่อ หากท่านอ่านมาถึงบันทัดนี้  ข้าพเจ้าเข้าใจว่าท่านเป็นผู้ที่มีความสนใจในการศึกษาพระธรรมพอสมควร  ท่านคิดหรือไม่่ว่าท่านจัดอยู่ในประเภทใดข้างต้น    ถ้าท่านอยู่ในประเภทที่ ๑ - ๔   ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  เมื่อท่านอ่านบทความนี้จบลงแล้ว  ท่านจะเปลี่ยนทัศนคติมาเป็นอย่างน้อยก็ประเภทที่  ๕

การศึกษาพระอภิธรรมนั้น  ข้าพเจ้าหมายถึงการศึกษาด้วย สุตตะ และ  จินตา  ซึ่งหมายความถึง  การศึกษาด้วยการฟัง  การอ่าน  แล้วใคร่ครวญพิจารณา  ซึ่งท่านอาจจะค้นคว้าหาฟัง หาอ่านได้จากอินเทอร์เนทด้วยตนเอง  จากซีดีของสถาบันที่สอนพระอภิธรรมต่างๆ (ดังจะได้ค่อยๆ รวบรวมไว้ในเว็ปไซต์นี้ต่อไป) จากซีดีพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับพระอภิธรรมที่ครูอาจารย์บันทึกไว้  ตลอดจนการพูดคุยสนทนา  ศึกษาโดยตรงกับผู้มีความรู้ในทางพระอภิธรรม โดยเลือกศึกษาเฉพาะหมวดธรรมที่สนใจ  หรือเข้ารับการศึกษาแบบเป็นหลักสูตรได้ที่โรงเรียนสอนพระอภิธรรมต่างๆ ที่เปิดอยู่ทั่วประเทศ ทั้งยังมีการศึกษาพระอภิธรรมโดยย่อทางไปรษณีย์อีกด้วย
คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ คือ  พระอภิธรรมสอนอะไร  ทำไมต้องเรียน ไม่เรียนได้ไหม ทำไมครูอาจารย์บางท่านกล่าวว่าไม่จำเป็นต้องเรียน แต่ให้ปฏิบัติไปเลยก็ได้  และเรียนแล้วมีประโยชน์อย่งไร
คำถามแรก  พระอภิธรรมสอนอะไร  มีอะไรในพระอภิธรรม หลายครั้งที่เพื่อนธรรมทั้งหลาย ได้กล่าวกับข้าพเจ้าด้วยความตื่นเต้นว่า  ได้ฟังพระธรรมเทศนา  เรื่องนั้น  เรื่องนี้  ดีจริงๆ  มีประโยชน์มาก  แล้วท่านเหล่านั้นก็เล่าให้ข้าพเจ้าฟังในรายละเอียดของพระธรรมเทศนานั้นๆ ด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยปีติ  หลังจากที่ข้าพเจ้าฟังจบแล้ว  ก็ได้กล่าวถามกลับไปว่า  ชอบฟังพระธรรมในทำนองนี้ใช่ใหม  ก็ได้คำตอบว่าใช่  ข้าพเจ้าจึงแนะนำว่า  สิ่งที่ได้อธิบายให้ฟังนี้  มีในคำสอนของพระพุทธองค์  ถ้าสนใจอยากเรียนรู้เพิ่มเติมก็เรียนพระอภิธรรม
ผลลัพธ์ที่ได้คือ  หลายท่านกล่าวกับข้าพเจ้าว่า  จริงหรือ  พระอภิธรรมสอนสิ่งเหล่านี้หรือ  ไม่เคยทราบเลยว่านี้เป็นพระอภิธรรม  แต่ถึงแม้จะทราบแล้วก็ตาม  ก็ยังมีส่วนน้อยที่สนใจจะศึกษา  ส่วนใหญ่ได้ยินคำว่า  พระอภิธรรมก็สวัสดีแล้ว  บางท่านก็ว่า  ไม่มีเวลา  บางท่านก็บอกว่ายากต้องท่องจำ บางท่านก็แบ่งรับแบ่งสู้  ผลัดไปเรื่อยๆ  ท่านที่เป็นนักปฏิบัติก็ว่า  เอาเวลาไปปฏิบัติดีกว่า  จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน สำเร็จได้ด้วยจิต บรมครูอาจารย์หลายท่านก็ไม่ต้องเรียนท่านก็ยังปฏิบัติรู้แจ้งเห็นธรรมได้  อันนี้ก็นานาจิตตัง
ข้าพเจ้าเชื่อว่า  ความไม่เที่ยง  ความไม่แน่นอนเป็นสิ่งที่แน่นอน  ดังนั้นจึงตั้งใจเขียนบทความนี้  หวังว่าจะทำให้บางท่านที่ไม่สนใจเรียนพระอภิธรรม  เปลี่ยนใจมาสนใจขวนขวายที่จะศึกษาบ้าง
ระอภิธรรมสอนอะไร
พระอภิธรรมมิได้สอนสิ่งที่อยู่นอกโลก  หรือนอกตัวเรา  คำสอนในพระอภิธรรมทั้งหมดเป็นความรู้เกี่ยวกับความเกิดขึ้น  ตั้งอยู่ และดับไปของร่างกายและจิตใจอย่างละเอียดทั้งนามธรรม และรูปธรรม   พร้อมทั้งอธิบายเหตุและปัจจัยของการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปนั้นๆ  ตลอนจนแสดงแนวทางที่จะสร้างเหตุที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขสงบ  จนถึงที่สุดคือดับเหตุปัจจัยที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิด  เข้าถึงความพ้นทุกข์  คือพระนิพพาน
ความรู้ในพระอภิธรรมมีเพียง ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เท่่านั้น  เมื่อเทียบกับวิชาการความรู้ทางโลกๆ ที่มีเป็นแสนเป็นล้านๆ เรื่อง สอนสารพัดความรู้ไปถึงนอกโลก  นอกจักรวาล  มีความรู้ใหม่ๆให้ติดตามเล่่าเรียนกันได้มิจบสิ้น  แต่ก็ไม่สามารถทำให้ที่ผู้เรียนรู้ออกจากทุกข์ได้   ส่วนความรู้ในทางพระอภิธรรมที่ทรงแสดงไว้เรื่องกาย เรื่องใจเพียง ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เท่านี้ สำหรับผู้ที่มีศรัทธา  มีความเพียรเรียนเพื่อนำไปปฏิบัติ  ก็สามารถเลือกศึกษาเฉพาะหมวดธรรมที่เป็นหัวใจของการปฏิบัติ  เพื่อเป็นแนวทาง  เสมือนเป็นแผนที่นำทางเดินไปสู่มรรค ผล นิพพานได้
ตัวอย่างธรรมที่สอนในพระอภิธรรม ที่ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างยิ่ง :
 
  • ความแตกต่างระหว่าง บัญญัติธรรม  และ ปรมัตถธรม พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เห็นความแตกต่างระหว่าง ความจริงสองอย่าง  คือ  ความจริงโดยสมมุติ  และความจริงโดยสภาวะหรือโดยปรมัตถ์
ความจริงโดยสมมุติโวหาร หรือสมมุติสัจจะมี ๒ ประการคือ

๑.  สมมุติสัจจะที่พระองค์ทรงแสดงไว้ในพระสูตร  คือเรื่องราวในพระสูตร ที่ประกอบด้วยสัตว์ บุคคล  ตัวตนเราเขา เชาดก  พุทธประวัติ เป็นต้น

๒.  สมมุติสัจจะที่ชาวโลกใช้พูดกัน  เช่น  ชื่อนาย ก นาย ข  ชื่อเรียกว่าพ่อ ว่าแม่ ว่าโต๊ะ ว่าเก้าอี้ ว่าต้นไม้ก็เป็นชื่อสมมุติที่กลุ่มชนตกลงกันใช้  เป็นต้น  จึงเห็นได้ว่า กลุ่มชนต่างกลุ่มกันก็สร้างสุมมุติซึ่งเป็นที่เข้าใจในกลุ่มของตนเอง  ที่เห็นได้ชัดคือ  คำที่ใช้เรียกสิ่งเดียวกันก็จะแตกต่างกันในแต่ละภาษา  สมมุติจึงเป็นจริงตามที่สมมุติขึ้นเท่านั้น  ยังไม่ใช่ความจริงแท้เหมือนปรมัตถธรม ดังจะกล่าวต่อไป

ปรมัตถธรรมมี ๔ ได้แก่  "ธรรมชาติ" ของ จิต  เจตสิก รูป นิพพาน  ซึ่งเป็นความจริงโดยสภาวะ ให้สังเกตุว่าข้าพเจ้าใช้คำว่า "ธรรมชาติ"  เนื่องจาก "คำว่า"  จิต  เจตสิก รูป นิพพาน   เป็นบัญญัติ  แต่ "ธรรมชาติ หรือสภาวะ" ของ  จิต  เจตสิก รูป นิพพาน เป็นความจริงโดยปรมัตถ์  หากจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่างบัญญัติ และปรมัตถ์ก็  เช่นประโยคที่ว่า

"นาย ก  เป็นบิดาของนาง ข และเป็นลูกจ้างนาย ค  ขับรถไปทำงานทุกวัน"  เป็นความจริงโดยสมมุติ

ความจริงโดยสภาวะหรือโดยปรมัตถ์นั้น  ไม่มีนายก ไม่มีนาง ข ไม่มีนาย ค และไม่มีแม้กระทั่งรถยนตร์  เพราะความจริงก็คือ เมื่อแยกแยะความเป็นกลุ่มเป็นก้อนออกมาแล้ว นาย ก นาง ข นาย ค และรถยนตร์ เป็นเพียงที่ประชุมกันของ ธาตุ ดิน น้ำ  ลม  ไฟเท่านั้น เป็นเพียงธาตุ ดิน น้ำ  ลม  ไฟที่่รวมกันขึ้นมาเป็นอวัยวะ  เป็นกระดูก เลือด เนื้อ เล็บ ขน ฟัน หนัง ตับ ไต ลำไส้ใหญ่ ลำใส้เล็ก ฯ เป็นชิ้นส่วนของร่างกายต่างๆ จนประกอบกันขึ้นมาเป็นรูปร่างหญิง ชาย แล้วเราก็บัญญัติเรียกรุปร่างนั้นว่า นาย ก นาง ข นาย ค เหมือนบิดามารดาตั้งชื่อให้บุตรที่เกิดใหม่  ต่างกันตรงที่  วัตถุสิิ่งของ  มีเพียงรูป  แต่คนและสัตว์มีทั้งรูป และความรู้สึกคือจิตใจด้วย  นี้แหละคือปรมัตถธรรม นี่แหละความเป็นจริงของชีวิต  คือดินน้ำลมไฟ  กับ จิต และความปรุงแต่งในจิตที่เสื่อมสลายแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยจนสิ้นอายุขัย

 

แล้วความรู้เรื่องบัญญัติ ปรมัตถ์นี้  มีประโยชน์อย่างไร

มีประโยชน์ต่อการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพราะไม่ว่าผู้ปฏิบัติจะเริ่มเจริญกรรมฐานด้วยวิธีใด  ไม่ว่าด้วยการเจริญสมถกรรมฐานด้วยการบริกรรม  ด้วยการพิจารณาตามดูลมหายใจ  ด้วยการพิจารณาอสุภะ (ว่าร่างกายเป็นของน่าเกลียด สกปรก)  หรือด้วยการพิจารณาอาการ ๓๒ (ว่าร่างกายเป็นที่ประชุมกันของกระดูก เอ็น ขน ผม เล็บ ฟันหนัง ฯ ) เป็นต้น  ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอารมณ์ที่เป็นบัญญัติ  แต่ที่สุดแล้วเมื่อผู้ปฏิบัติจะยกจิตขึ้นสู่การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน  ก็ต้องมีสติระลึกรู้อยู่ที่อารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์  คือ  ที่จิต เจตสิก รูป  ส่วนนิพพานนั้นเป็นผลของการปฏิบัติ  ที่เกิดขึ้นเองเมื่อมีความเพียรเจริญองค์มรรคอย่างถูกต้องด้วยความต่อเนื่อง

  • จิต เจตสิก รูป ทรงแสดงไว้อย่างละเอียดว่าจิต  เจตสิก  รูป มีอะไรบ้าง  เมื่อเข้าใจว่าจิต เจตสิก รูป มีอะไรบ้าง ก็ทำให้เห็นธรรมโดยละเอียดยิ่งขึ้น

ผู้ปฏิบัติที่หลายท่านท่ีฝึกการดูจิตโดยไม่มีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับจิต  ยิ่งดูจิตไป ท่านก็บ่นเองว่า ยิ่งฟุ้งซ่าน  เนื่องจากท่านไปตามดูความคิด  มิใช่ดูจิต  ข้าพเจ้าไม่กว้่างขวาง  ไม่รู้จักเพื่อนธรรมมาก  แต่เท่าที่ได้สนทนาธรรมกับผู้้ปฏิบัติหลายท่านที่เรียกกันในสมัยนี้ว่าแนว "ดูจิต" ข ้าพเจ้าพบว่าหลายท่านมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติมาก  แต่หลายท่านก็มีปัญหาที่ทำให้ปฏิบัติไปแล้วท้อ  ปฏิบัติแล้วจิตในกลับว้าวุ่น ไม่โปร่งเบา
 
ประการแรก เพราะท่านเข้าใจว่าการตามดูความคิดคือการดูจิต  จึงถลำลึกไปกับความคิด  และความปรุงแต่ง  คิดไปเรื่อยๆ แล้วตาม ดูความคิดไปเรื่อยๆ  ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ
 
ประการที่สอง  มักจะดูแต่ธรรมที่เป็นอกุศล  เมื่อถามว่า  ดูจิต  ท่านดูอะไร  คำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่คือ  "ก็ดูโลภะ  ดูโทสะ  ดูโมหะ"  ซึ่งเหมือนกับการตั้งธงไว้ว่า  การปฏิบัติธรรมนั้น  ปฏิบัติแล้วจะเป็นคนดีขี้นด้วยการทำให้โลภะ โทสะ โมหะลดลง  จึงคอยจับจ้องเมื่อธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้น  ดังเรามักจะได้ยินบ่อยๆ ว่า  ปฏิบัติธรรมแล้วเดี๋ยวนี้ไม่มีโทสะแล้ว  อ้ันนี้ได้ยินบ่อยมาก  ่ผู้ที่คิดว่าไม่โทสะแต่บ่นไม่หยุดเวลารถติด  ยุงกัด  หรื่อเมื่อต้องรอนานก็หงุดหงิด  ท่านก็ว่าท่านไม่ได้มีโทสะ  เพราะท่านเข้าใจว่าโทสะคือความโกรธต้องมีการแสดงออกทางกาย วาจา  เมื่อท่านสำรวมกาย วาจาไว้ได้ท่านคิดว่าท่านเท่าทันโทสะ  แต่ท่านมิได้สังเกตุใจ  ว่าใจที่ยังขุ่นๆ  ที่รำคาญเพียงน้อยนิด  ที่เศร้าโศก อาดูร  ความรู้สึกที่ไม่ได้ดังใจต่่างๆ  ความอิจฉา  ที่เป็นโทสะที่ละเอียดๆ  ท่านสังเกตุหรือไม่  ท่านเคยหาของไม่พบแล้วกลุ้มอกกลุ้มใจ  หรือหงุดหงิดตัวเองหรือไม่  นั่นก็โทสะอย่างหนึ่งเช่นกัน
 
หากไม่มีโทสะจริงๆ ก็นับว่าประเสริฐเพราะมีแต่พระอนาคามีเท่านั้นที่ตัดกิเลสที่ชื่อว่าโทสะนี้ได้  แต่หากว่ายังไม่ใช่พระอนาคามี  ก็ต้องพิจารณาว่าการไม่โกรธนั้นเป็นเพียงหินทับหญ้า และโทสะนั้น มิได้หมายถึงความโกรธเท่านั้น  เช่นเดียวกับ โลภะ โมหะ  ซึ่งทรงแสดงแจกแจงไว้อย่างพิสดารและมีจริง
 
ถ้าไม่ศึกษาก็่จะมองสภาวะธรรมเป็นกลุ่มเป็นก้อน  พระพุทธองค์ทรงแสดงถึง สิ่งที่ปิดบังมิให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงพระไตรลักษณ์  ว่ามี ๓ ประการ  หนึ่งในนั้นคือ  ฆนสัญญา  ฆนสัญญาคือความจำสำคัญมั่นหมายว่าเป็นกลุ่มเป็นก้อน หรือเป็นหน่วยรวมที่ปิดบังอตัตลักษณะไว้ ดังนั้นเราจึงต้องมนสิการให้แยบคายถึงรายเอียดส่วนประกอบย่อยของทุกสรรพสิ่ง
 
เช่นเมื่อพิจารณาจิต  อย่างน้อยก็ควรเข้าใจว่าจิตมิได้มีเพียงดวงเดียว  ผู้ปฏิบัิตบางท่านเข้าใจว่าจิตมีดวงเดียว  ถ้าเห็นจิตเป็นดวงเดียว  ก็จะไม่เห็นความเกิดดับของจิต  ไม่เห็นไตรลักษณ์
 
จิตมี ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงโดยพิสดาร  แต่ละดวงก็มีสภาพธรรมที่ต่างกันตามเจตสิกที่เข้าประกอบ   แบ่งโดยย่อคือ  จิตที่เป็นกุศล  จิตที่เป็นอกุศล  และจิตที่เป็นกลางๆ มิใช่กุศล มิใช่อกุศล คือเป็นอุเบกขา  ซึ่งจิตทั้งสามประเภทก็แบ่งย่อยลงไปได้อีกตามคุณลักษณะที่ต่างกันออกไป
 
ตัวอย่างจิตที่เป็นกุศลก็มีหลายดวง  เช่น จิตที่ประกอบไปด้วยศรัทธา  ก็เป็นสภาวะที่ต่างกับจิตที่ประกอบไปด้วยกรุณา  เมตตา  ปีติ  ความเพียร  เป็นต้น
 
ผุู้ฏิบัติที่มีความเข้าใจเรื่องจิตเป็นพื้นฐานแล้ว  เมื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็จะแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น  เห็นธรรมที่แตกต่างกันเกิดดับอยู่โดยละเอียด  ดังที่พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์) ได้กล่าวไว้ว่า  "รู้จัก  รู้จำ  รู้แจ้ง"  หมายถึง การรู้จัก การทำความเข้าใจใจความแตกต่างกันของสภาวะต่างๆไว้ก่อน  และจำไว้   แล้วเมื่อปฏิบัติได้พบสภาวะนั้นเกิดขึ้นจริงเฉพาะหน้าก็จะรู้แจ้งด้วยตนเองว่า  อ้อ นี้แหละ  ความจำได้หมายรู้ในเรื่องนี้ๆ  ที่แท้ก็เป็นอย่างนี้  สภาวะที่แท้จริงเป็นเช่นนี้  ก็จะเข้าใจได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น  และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
 
ส่วนรูปนั้นก็เช่นกัน  ฆนสัญญาที่ปิดบังรูปว่าเป็นกลุ่มเป็นก้อน  เป็นตัวเป็นตน  เป็นสัตว์ บุคคลเราเขา  ก็จะน้อยลงหากได้ศึกษาเรื่้องรูป  รูปนั้นพระพุทธองค์ทรงจำแนกไว้่ว่ามี  ๒๘  ซึ่งหาอ่านได้ไม่ยาก  ก็น่าที่จะศึกษาไว้เป็นพื้่นฐานบ้าง
 
สิ่งหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจเรื่องรูปคือ  ในรูป ๒๘ นั้น  หทยวัตถุ  หรือเรียกง่ายๆ ว่าหัวใจนั้น เป็นรูปหนึ่งที่อยู่ภายในกาย  แต่หัวใจไม่ใช่จิต  จิตเป็นสภาพรู้  เป็นนามธรรม  แต่หัวใจเป็นรูปธรรมที่เมื่อแยกออกมาแล้วก็คือธาตุดินน้ำลมไฟที่มีแต่จะเสื่อมสิ้่นสลายไปด้วยปัจจัยที่มากระทบ  เมื่อเจิญวิปัสสนากรรมฐาน  บางท่านหาจิตไม่เจอ  ก็ไปเพ่งที่หัวใจ  ซึ่งไม่ใช่จิต
 
การศึกษาเรื่องจิต  เจตสิก  รูป  จึงเป็นประโยชน์มากสำหรับนักปฏิบัติที่มุ่งสู่ถนนสายนิพพาน
  • คำสอนเรื่องสติปัฏฐาน ๔ คือ  กาย  เวทนา  จิต  ธรรม  โดยละเอียดมีอยู่   เราได้ฟังซีดี บทความ หนังสือมากมายที่ครูอาจารย์หลายท่านอธิบายรื่อง สติปัฏฐาน ๔    หากมีเวลาก็น่าที่จะอ่านเรื่องสติปัฏฐาน ๔  ที่เป็นคำสอนตรงจากพระพุทธองค์บ้าง แล้วจึงเทียบเคีียงกับที่ครูอาจารย์ท่านสอนไว้เป็นการขยายความหรือประกอบการศึกษา

  • มรรคมีองค์ ๘ ในพระอภิธรรมมีการอธิบายความหมาย  และแนวทางปฏิบิติไว้  เช่นอธิบายว่า อย่างไรเล่าเรียกว่าสัมมาสังกัปปะ (ดำหริชอบ) คำตอบคือการดำหริออกจากกาม  ดำหริออกจากการเบียดเบียน  และดำหริออกจากการพยาบาท  เหล่ามิใช่หรือที่เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง  แม้มิได้หวังมรรค ผล นิพพาน  แต่การเจิญองค์มรรคก็จะนำความสันติสุขให้บังเกิดขึ่นได้ในชีวิตที่เป็นอยูุ่  หากไม่ศึกษา  บุคคลส่วนใหญ่ก็ท่องหัวข้อองค์มรรค ๘ กันได้  แต่ถ้าถามว่า  ดำหริชอบเป็นอย่างไร  ก็ก็ตอบไม่ได้  ตอบไม่ได้แล้วจะดำหริชอบได้อย่างไร
  • สมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน การศึกษาเรื่องสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน  จะทำให้มีความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติทั้งหลายว่ามีอะไรบ้างแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร  เหมือนได้เห็นภาพรวมของหมวดหมู่และวิธีการปฏิบัติในทุกรูปแบบที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้  ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเลือกวิธีการเจริญกรรมฐานที่ตรงกับจริตของตนเอง  เมื่อเข้าใจแล้ว  ก็จะไม่มีคำถามว่าทำไมครูอาจารย์ท่านนั้นสอนอย่างนั้น  อีกท่านสอนอย่างนี้ไม่เหมือนกัน  หรือไปสำนักปฏิบัติโน้นี้แล้วสอนไม่เหมือนกันจนปฏิบัติไม่ถูก  งงไปหมด  (แท้จริงแล้วครูอาจารย์ท่านสอนดีแต่เราปฏิบัติไม่ได้เอง)

ความรู้เรื่องการเจริญสมถะ วิปัสสนากรรมฐานจะเป็นประโยชน์มากในการทำให้มีความเข้าใจ  ไม่สับสนในแนวทาง หริอวิธีการฏิบัติกรรมฐานหลายรูปแบบที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้   และยังสามารถนำวิธีการที่ต่างกันมาปฏิบัติได้ในสถาณการณ์ที่แตกต่างกัน  โดยเข้าใจว่า  ไม่ว่าจะใช้แนวทางไหน  ที่่สุดแล้วก็จะนำไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมได้

  • อริยสัจสี่ เรื่องทุกข์ สมุทัย นิโรธ  มรรค  และ ปริวัฏฏ์ ๓ อาการ ๑๒  คงเคยได้ยินได้ฟังกันบ้าง ธรรมเหล่านี้มีแสดงไว้ในพระอภิธรรม  คำสอนในเรื่องอริยสัจ ๔ นี้มีตัวอย่างเช่นทรงแสดงว่า จิต ๘๑ดวง เจตสิก ๕๑ และ รูป ๒๘ เป็นทุกข์  อันนี้ฟังดูก็เข้าใจได้ว่ารูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์   จิตที่เป็นทุกข์นั้น  ท่านหมายความเฉพาะโลกียจิต  ่ไม่ได้รวมมรรคจิต  และผลจิตซึ่งเป็นโลกุตตรจิต   เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดตามคำสอนเฉพาะในส่วนที่ว่าโลกียจิตเป็นทุกข์นั้น  เมื่อเปรียบเทียบกับความรู้ความเข้าใจที่ฝังรากลึกกันมาแล้วจะพบว่าเป็นสัจจธรรมที่สวนกระแสโลกอย่างมาก   โลกียจิตในส่วนที่เป็นอกุศลนั้น  เราย่อมเข้าใจได้ง่ายว่าเป็นทุกข์อย่างแน่นอน  เช่น ความอยากได้สิ่งต่างๆ ทำให้จิตใจเร่าร้อนเป็นทุกข์  อันนี้เป็นความจริงที่สัมผัสได้ง่าย  เรายอมรับยอมเข้าใจได้ง่าย  แต่โลกียจิตในส่วนที่เป็นกุศลนี่ซิ   ข้าพเจ้าเองกว่าจะเข้าใจว่าเป็นทุกข์จริงๆ  ก็ใช้เวลานานอยู่เหมือนกันที่จะเห็นได้ด้วยใจ  ไม่ใช่ด้วยความจำ  หากข้าพเจ้าเดินไปบอกใครสักคนที่กำลังยิ้มแย้มแจ่มใสถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ด้วยใจที่มีปีติในบุญอยู่ดีๆ  แต่ข้าพเจ้ากลับสะกิดบอกเขาว่าความปีติในใจท่านน่ะเป็นทุกข์นะ  เขาคงว่าข้าพเจ้าเสียสติ  นี้แหละที่เรียกว่าสวนกระแส  ทำอย่างไรจะให้เขาเห็นว่าปีติก็เป็นทุกข์  จิตที่เป็นโลกียกุศลทั้งหมดเป็นทุกข์  เป็นทุกข์เพราะไม่สามารถตั้งอยู่ได้  ต้องเสื่อมสิ้น  แปรปรวน  เปลี่ยนแปลงไป  โดยที่เราไม่สามารถบังคับบัญชาได้  เรียกว่าเป็นอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา
  • วิปัสสนาญาน พระอภิธรรมอธิบายลำดับขั้นของวิปัสสนาญานที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มจนถึงนิพพาน  ก็ควรจะทราบไว้บ้างว่า  ที่เรียกว่าวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้วนั้นเป็นเช่นไร  เรื่องวิปัสสนาญาณนี้ไม่ใช่แนวทางหรือวิธีการปฏิบัติ  แต่เป็นผลของการปฏิบัติที่เกิดขึ้นและดับไปตามเหตุปัจจัย  จะบังคับให้เกิดไม่ได้  (ยิ่งบังคับหรืออยากให้เกิดก็จะไม่เกิด)  ดังนั้นเมื่อเข้าใจแล้ว  ก็วางเสีย  ข้อสำคัญที่ควรระลึกเกี่ยวกับวิปัสสนาญาณ คือ ทรงแสดงเรื่องวิปัสสนูปกิเลสอันทำให้วิปัสนนาเศร้าหมอง  ไม่ก้าวหน้า   เพื่อผู้ปฏิบัติจะได้เท่าทัน  และปฏิบัติต่อไปได้โดยไม่ติดอยู่กับวิปัสสนูปกิเลส
  • ปฏิจจสมุปบาท ทรงแสดงไว้ว่า  ธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ  แล้วทรงแสดงถึงเหตุปัจจัยต่างๆ ของความเกิดดับทั้งหลาย ตลอดจนการทำเหตุให้ถูกต้องเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์  เพื่อที่จะดับเหตุนั้นๆ  ทำให้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก
  • วิถีจิต ทรงแสดงวิถีของการเกิดดับของจิต  ตั้งแต่ปฏิสนธิ  จนถึงจุติ  คือตาย

ในทางการแพทย์สามารถอธิบายได้เพียงว่าร่างกายมนุษย์นั้นปฏิสนธิเมื่อไร  แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจิตของมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อใด  เรื่องนี้ถามคุณหมอที่เรียนพระอภิธรรม  ท่านก็ยังถึงกับอึ้งและไม่กล้าตอบแน่ชัด  เพราะไม่มีสอนในโรงเรียนแพทย์ว่าจิตมนุษย์เกิดในวันไหน  ตอนไหน  หรือเกิดพร้อมร่างกายเมื่อปฏิสนธิ   ถ้าจะตอบก็ด้วยการคาดคะเน  แต่เรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณและทรงแสดงไว้อย่างละเอียด

อีกเรี่องหนึ่งที่ทรงแสดงไว้คือ  ธรรมชาติของจิตที่ใกล้จะตาย  เรื่องนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นที่สนใจมากในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้  มีหนังสือ มีบทความ  มีการสอน มีคำถามมากมายเรื่องเกี่ยวกับจิตที่ใกล้จะตาย  หรือจะรักษาจิตอย่างไรเมื่อใกล้จะตาย  เรื่องนี้ก็ทรงแสดงไว้โดยละเอียด  จึงควรศึกษาตรงจากคำสอนเรื่องมรณาสันนวิถี เป็นวิถีจิตที่ใกล้จะตายนิมิตในจิตก่อนตายดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้บ้าง  จะเป็นประโยชน์มากในขณะที่มีชีวิตอยู่นี้โดยไม่ต้องรอตอนใกล้จะตาย  ด้วยรื่องมรณาสันนวิถีนี่้ท่านทรงชี้ให้เห็นว่า

ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่ยังมิได้เป็นพระอรหันต์นั้น  ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์  เทวดา  พรหม  หรือสัตว์นรก  เปรต  อสุรกาย  เดรัจฉานก็ตาม เมื่อใกล้จะตาย  จะมีนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นเฉพาะหน้าในทวารใดทวารหนึ่งด้วยอำนาจของกรรมที่เคยทำไว้ก่อนหน้า  นิมิตเหล่านี้เป็นเครื่องหมายที่จะนำไปเกิดใหม่ในทุคติภุมิ  หรือสุขติภูมิ  นิมิตมี ๓ คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์  และคตินิมิตอารมณ์  ดังนั้นหากเราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนิมิตทั้ง ๓ ว่าเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรม ก็จะทำให้เราหมั่นทำกรรมดีละเว้นการทำกรรมชั่ว

  • กรรม ศาสนาพุทธสอนเรื่องกรรม และผลของกรรม ในพระอภิธรรมก็อธิบายเรื่องกรรมไว้มาก  ทำให้เข้าใจว่าสัตว์ บุคุลที่เกิดมาล้วนแตกต่างกันตามอัตภาพที่ได้นั้นมีเหตุมาจากกรรมใด
  • ภพภูมิ ทำกรรมเช่นใดจะได้ไปเกิดในภพภูมิใดอย่างไร  ภพภูมิใดที่ บุคคลเหล่าใดสามารถบรรลุธรรมได้  บุคคลเหล่าใดสามารถบรรลุธรรมได้บุคคลเหล่าใดจะกิดอีก  และจะเกิดที่ใดอย่างไร  บุคคลใดจะไม่เกิดอีก  ่  และ หรือจะเวียนว่ายตายเกิดอีกกี่ชาติจึงจะเข้าถึงพระนิพพาน  บุคคลเหล่าใดเกิดมาแล้วก็จักตายไปไม่สามรถบรรลุธรรมได้  เป็นต้น

อนึ่ง  คำว่าบุคคลเหล่าใด  มิได้หมายถึงบุคคลโดยสมมุติบัญญัติ  แต่พระองค์ทรงแสดงสภาวะของบุคคลโดยปรมัตถ์ เช่นว่า  ติเหตุกบุคคล  คือบุคคลที่เกิดมาด้วยเหตุ ๓  คือ  อโลภะ  อโทสะ  อโมหะ  บุคคลเหล่านี้เท่านั้นที่ีสามารถบรรลุธรรมได้  และจะเกิดในปัญจโวการภูมิ  และอรูปภูมิเท่านั้น  ดังนั้นพวกเราทั้งหลายที่ถือกำเนิดมาในโลกใบนี้  ก็นับว่าอยู่ในปัญจโวการภูมิ  ท่านมิอาจทราบได้ว่าท่านเป็นติเหตุกบุคคลหรือไม่  จนกว่าท่านจะได้ศึกษาและปฏิบัติธรรม  ติเหตุกบุคคลนั้น  จะมีความแตกฉานในพระธรรมเนื่องด้วยได้เคยสะสมปัญญาบารมีทั้งปริยัติ  ่และปฏิบัติมาหลายภพหลายชาติ  เมื่อได้มาปฏิบัติในชาตินี้จนบารมีแก่กล้าก็จะสามารถบรรลุธรรมได้  ส่วนบุคคลที่เป็นทุคติอเหตุกบุคคล  เช่นบุคคลที่เกิดมา หูหนวก  ตาบอด  เป็นใบ้  จะไม่สามารถบรรลุธรรมได้ เหล่านี้พระอภิธรรมสอนไว้ทั้งสิ้น

ทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นการกล่าวโดยสังเขปว่าให้เห็นภาพว่าที่ว่าเรียนพระอภิธรรมนั้น เรียนอะไร และจะมีประโยชน์นำมาใช้ในการปฏิบัติโดยเฉพาะการเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้อย่างไร

นอกจากนี้พระพุทธองคยังทรงแสดงหลักธรรมต่างๆ ไว้ในพระอภิธรรมอันมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิต  ควรค่ากับการทำความเข้าใจ เช่น

  • อกุศลกรรมบท ๑๐ ซึ่งเป็นความชั่วที่ควรละเว้น  เพราะอกุศลกรรมจะนำไปสู่การเกิดเป็น สัตว์นรก  เปรต  อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน หรือเกิดมาเป็นมนุษย์ที่ไม่ครบ ๓๒ ปัญญาอ่น พิการเป็นต้น
  • กุศลกรรมบท ๑๐ ซึ่งเป็นหนทางแห่งการทำความดีเพื่อนำชีวิตไปสู่ความสุขความเจริญ
  • สังคหวัตถุ ๔ หลักธรรมอันเป็นเครื่อง ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจและสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน
  • อิทธิบาท ๔ เป็นฐาน  เป็นคุณอันวิเศษที่เกื้อหนุนให้ประสบความสำเร็จในกิจหรืองานต่างๆ
  • สัปปุริสธรรม ๗ หมายถึง ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี ธรรมของผู้ดี
  • วิธีและอานิสสงค์ของการเจริญเมตตา


ข้อคิดเกี่ยวกับการศึกษาพระอภิธรร

๑. การศึกษาพระอภิธรรมทำให้เข้าใจคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  การศึกษาจากครูอาจารย์ที่เคารพ  ก็ยังถือว่าเป็นเพียงเกจิวาธะ  แต่คำสอนในพระอภิธรรมเป็นพระสัทธรรม  ที่ทรงแสดงไว้อย่างละเอียดพิสดาร ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ  จึงหาคำสอนใดๆ มาเปรียบมิได้  ในเมื่อเราได้เกิดมาในสมัยที่คำสอนของพระองค์ยังปรากฏอยู่  และเราก็เกิดมาด้วยร่างกายที่ครบ ๓๒  ก็นับว่าเป็นบุญมาก  ทำให้สามารถศึกษาเล่าเรียนได้  หากว่าได้เกิดมาพิการ บ้าใบ้หูหนวก ก็เป็นอันว่าหมดโอกาสที่จะศึกษาได้อย่างแจ่มแจ้ง

ผู้ที่ได้ศึกษาพระอภิธรรม  จะพอสามารถแยกแยะ  เลือกเฟ้น ในการฟ้ง  การอ่าน  การศึกษาได้ว่า  ธรรมนั้นๆ เป็นคำสอนของพระพุทธองค์  หรือเป็นเกจิวาธะ และถูกต้องตรงตามที่พระองค์ได้แสดงไว้หรือไม่  ทำให้มีความเข้าใจในการเลือกเฟ้นธรรม  ก็จะไม่เสียเวลากับธรรมที่ไม่ตรงตามคำสอน ทำให้เป็นผู้ใม่เสียเวลาเนิ่นนานอยู่กับการศึกษา และปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง

๒. แม้ว่าการศึกษาพระอภิธรรมเป็นการสร้างปัญญาบารมี  แต่ก็เป็นเพียงปัญญาที่ได้จากการอ่าน การศึกษา (สุตมยปัญญา) และปัญญาที่ได้จากการคิดพิจารณา (จินตามยปัญญา)  แต่พระอภิธรรมจะยังผลอันประเสริฐสุดแก่ผู้ศึกษาที่นำความรู้ที่ได้จากการศึกษา และการคิดพิจารณานั้นไปปฏิบัติ  พระอภิธรรมจึงไมได้มีไว้ให้เพียงท่องจำ   หรือเพื่อแสดงว่ารู้มากกว่าผุ้อื่น พระพุทธองค์ทรงเตือนไว้ว่า มิให้นักศึกษาพระอภิธรรมทำตัวเหมือนงูพิษ  ด้วยความรู้ที่มีก็คอยฉกกัดผุ้อื่นที่รู้น้อยกว่า หรือถกเถียงเอาชนะกันในระหว่างนักศึกษาด้วยกัน  แต่ทรงให้ศึกษาพระอภิธรรมเพื่อจะได้เข้าใจแนวทางที่ถูกต้องของการเจริญ สมถะ - วิปัสสนากรรมฐาน ให้เข้าใจเรื้องกรรมและผลของกรรม  เพื่อจะได้นำมาใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีศีลมีธรรม  มิทำตนให้เดือดร้อนไปสู่ที่ชั่วในเบื้องต้น  และเพื่อเกิดปัญญารู้แจ้ง  มีดวงตาเห็นธรรม พบกับความสงบร่มเย็นในจิตใจ  จนเข้าถึงพระนิพพานในที่สุด

๓. ความรู้ความเข้าใจในพระอภิธรรมที่ได้จากการศึกษานั้น  เป็นเพียงสัญญา  สัญญาเป็นประโยชน์ในการศึกษาเล่าเรียน  ต่อเมื่อได้ศึกษาจนเข้าใจแล้ว  และได้ก้าวสู่ขั้นการปฏิบัติ  จงวางความปรุ่งแต่งในสัญญา  เพราะวิป้ัสสนาปัญญาจะเกิดขึ้นได้ในจิตที่รู้สภาพธรรมในปัจจุบันขณะอย่างต่อเนื่อง  ปราศจากความคิดนึกในสัญญา

๔.  ขอวอนนักศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลายให้เมตตาผู้ที่รู้น้อยกว่า  ด้วยการใช่้ภาษาที่ฟังง่ายๆบ้าง  ถ้าใช้ภาษาบาลี ก็แปลให้ฟังซักนิด  ผุู้ฟังจะได้ทราบเรื่อง  เกิดปัญญา  เกิดฉันทะ  มีกำลังใจ สนใจที่จะศึกษาต่อบ้าง  มิใช่่ฟังแล้วเผ่นหนีเพราะไม่ทราบเรื่อง  ที่กล่าวเช่นนี้เพราะเป็นเรื่องปกติของนักศึกษาพระอภิธรรมที่เวลาพูดธรรมะแล้ว  มักได้รับคำชมว่า  ฟังดูดี แต่ไม่รู้เรื่อง อันนี้เป็นชื่อเสียงของนักเรียนพระอภิธรรมที่ควรปรับปรุง  ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความยุติธรรมแก่นักเรียน รวมทั้งอาจารย์พระอภิธรรมด้วยว่า  การที่จะอธิบายพระอภิธรรมให้ฟังง่ายนั้นยากมาก  ดังนั้นผู้ที่ไม่ได้ศีกษา ก็ต้องทำความเข้าใจข้อนี้ด้วย

 



๒. ปฏิบัติสัทธรรม คือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ  ได้แก่การน้อมนำเอาหลักธรรมคำสอนที่ได้ศึกษาปริยัติธรรมมาประพฤติปฏิบัติ  ด้วยการเจริญศีล  สมาธิ  ปัญญา (ไตรสิกขา) อันเป็นธรรมที่ควรเสพให้มาก  เจริญให้ยิ่ง

๓. ปฏิเวธสัทธรรม เป็นผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติ  ผลของการปฏิบัติธรรมในที่นี้ มิได้หมายถึงวิปัสสนาญาน อันเป็นโลกียธรรม  แต่หมายถึงการบรรลุธรรมขั้นพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบัน  พระสกิธาคามี  พระอนาคามี  จนถึงพระอรหันต์  ด้งนั้นปฏิเวธสัทธรรมจึงหมายถึงโลกุตรธรรม ๙ คือ  มรรค  ๔  ผล  ๔  และนิพพาน  ๑


สำหรับคำกล่าวที่ว่า  ไม่ต้องเรียนปริยัติก็ปฏิบัติได้ ดังเช่นครูอาจารย์ที่เคารพท่านก็ยังสามารถปฏิบัติได้โดยมิได้ศึกษาปริยัติ  ในข้อนี้  ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า  เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่ท่านทำมา  ครูอาจารย์ท่านได้เคยสร้างปัญญาบารมีมามาก  ท่านได้สร้างเหตุที่ทำให้ถึงพร้อมได้ในชาตินี้  ทำให้ท่านสามารถเข้าใจพระธรรมได้โดยมิได้ศึกษาปริยัติโดยตรง  นอกจากนี้หากท่านได้สวดมนต์อยู่เป็นประจำ  ในบทสวดมนต์เหล่านั้นก็เต็มไปด้วยหลักธรรมอันเป็นหัวใจของการปฏิบัติทั้งสิ้น  นับเป็นการศึกษาพระธรรมทางอีกทางหนึ่ง  และอีกประการหนึ่งคือ  ท่านอาจจะเป็นพระอริยบุคคลมาตั้งแต่กำเนิดก็เป็นได้  ดังพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ว่าพระโสดาบัน และพระสกิทาคามี  จักเกิดในปัญจโวการภูมิอันเป็นภูมิที่มนุษย์เกิดได้  คิดได้ดังนี้ข้าพเจ้าจึงตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมต่อไปเท่าที่ทำได้
การน้อมนำเอาหลักธรรมคำสอนที่ได้เรียนรู้ในทางภาคทฤษฎีนั้นมาสู่ภาคการปฏิบัติ คือนำมาประพฤติปฏิบัติจริง ๆ เพื่อเป็นการอบรม กาย วาจา และใจ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นำเอาหลักธรรมที่เรียนรู้แล้วนั้นมาเป็นแนวทางหรือปทัฏฐานแห่งชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะของตน เรียกว่า ปฏิบัติ

สุดท้ายนี้  ขอฝากไว้ว่า  พระพุทธองค์ได้ฝากพระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัท  พระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ด้วยพุทธบริษัทมีความสนใจศึกษาพระธรรมคำสอน และนำไปปฏิบัติ  ไม่ทอดทิ้ง  และเมื่อมีความรู้ความเข้าใจแล้ว  ก็เผยแผ่คำสอนอย่างถูกต้องแก่ผุูอื่นตามกำลัง

ข้าพเจ้าเจตนาเขียนบทความนี้โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยช์สำหรับผู้อ่าน โดยเฉพาะเพื่อให้พุทธศาสนิกชนหันมาสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในส่วนของพระอภิธรรมนั้น  ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงพระอภิธรรมเฉพาะบางส่วนเท่านั้น และโดยย่อที่สุดด้วยภาษาที่พยายามอย่างยิ่งแล้วที่จะให้อ่านง่ายและไม่่ผิดจากคำสอนของพระองค์  ข้าพเจ้าตระหนักดีว่า บทความนี้ยังไม่สมบูรณ์ หากมีสิ่งใดที่ข้าพเจ้าได้เขียนผิดพลาดไป  ไม่ถูกต้องตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์  ขอผู้่รู้ได้กรุณาชี้แนะด้วยจักเป็นพระคุณ

อนาลยา

 

This work is licensed.  บทความนี้มีลิขสิทธิ์

  • อนุญาตให้ดาวน์โหลด คัดลอกบทความนี้และเผยแผ่เป็นธรรมทานต่อๆ ไปได้โดยไม่จำกัด ยกเว้นการนำไปใช้เชิงพานิชย์  ทั้งนี้กรุณาอ้างอิงถึงผู้เขียน และแหล่งที่มาคือ http://www.analaya.com
  • หากท่านต้องการนำไปดัดแปลง แก้ไข หรือต่อเติมเพื่อให้บทความนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก่อนเผยแพร่ กรุณาเขียนว่า ดัดแปลงจาก พร้อมทั้งแจ้งผู้เขียนผ่านคอมเมนท์ในบทความด้วย 
  • ขอบคุณค่ะ