ทอดกฐินอย่างไรให้ได้บุญ - โทษของการทอดกฐิน โดยละเมิดพระธรรมวินัย

Article Index

 

ตอนที่ ๕ โทษของการทอดกฐิน โดยละเมิดพระธรรมวินัย

 
"๒๔. เจ้าภาพกฐินต้องไม่จัดเลี้ยงสุราเมรัยน้ำเมาทั้งหลาย เจ้าภาพกฐินต้องไม่ฆ่าสัตว์ มาทำเป็นอาหารเลี้ยงกันในงานบุญ เจ้าภาพกฐินต้องไม่มีอารมณ์โกรธฉุนเฉียว ดุด่าว่ากล่าวบุคคลอื่น ถ้ามีเหตุการณ์ดังกล่าว กฐินจะกลายเป็น กฐินบูด กฐินเน่า กฐินเศร้าหมอง ไม่เป็นที่อนุโมทนาของเทพพรหมเทวาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนั้น เจ้าภาพกฐินต้องตั้งใจ น้อมใจ ให้กุศลจิตขึ้นมาทำงานอยู่เสมอ มีเจตนาทาน ที่พร้อมไปในกุศลทั้ง ๓ ประการ คือ
 

๑) บุพพเจตนา เจตนาก่อนการะทำเต็มไปด้วยกุศล อธิษฐานธรรม เป็นไปในมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑

๒) มุญจเจตนา (มุญจนเจตนา) เจตนาขณะกำลังกระทำ เต็มไปด้วยกุศล อธิษฐานธรรม เป็นไปในมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑

๓) อปรเจตนา (อปราปรเจตนา) เจตนาหลังกระทำแล้ว เต็มไปด้วยกุศล อธิษฐานธรรม เป็นไปในมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
    
 
งานบุญกฐินของท่านเจ้าภาพจะเต็มไปด้วยมหากุศล เป็นที่อนุโมทนาของเทพพรหมเทวา และมนุษย์ทั้งหลาย 
 
 
ข้อความมนย่อหน้าด้านล่างคัดลอกมาจาก  http://www.watphrasri.org/index.php?option=com_content&view=article&id=116:2010-10-03-13-04-22&catid=13
 
"เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจถึงความเป็นมา ความหมาย คุณค่า ความสำคัญของประเพณีทอดกฐิน ตลอดจนจัดกิจกรรมได้ถูกต้องไม่เบี่ยงเบน ดังนั้นควร:

          
๑. จัดประชุมสัมมนา/เสวนา
  - ให้ความรู้ความเข้าใจถึงความเป็นมา ความหมาย คุณค่า ความสำคัญของประเพณีทอดกฐิน


          
๒. รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
  - ให้ความรู้ความเข้าใจถึงความเป็นมา คุณค่า ความสำคัญของประเพณีทอดกฐิน ตลอดถึง กิจกรรมที่เบี่ยงเบนออกไป

  
       
๓. ถ้ามีโอกาสได้จัดกิจกรรมในการทอดกฐิน
  - ควรจัดให้ถูกต้องตามประเพณีและเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง สำหรับกิจกรรมที่เสริมประเพณี ทอดกฐินควรจัดให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นและเอื้อต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล"
 
 
เอสารอ้างอิง และแนะนำให้อ่านเพิ่มเติม แหล่งข้อมูลของบทความเรื่อง ทอดกฐินอย่างไรให้ได้บุญ:

 
๑. คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. สำนักงาน. วันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย
และแนวทางในการจัดกิจกรรม . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๗.

๒. คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. สำนักงาน. วัฒนธรรมกับการเสริมสร้างสังคมไทย
กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๓๒
 
This work is licensed.  บทความนี้มีลิขสิทธิ์
อนุญาตให้ดาวน์โหลด คัดลอกบทความนี้และเผยแผ่เป็นธรรมทานต่อๆ ไปได้โดยไม่จำกัด ยกเว้นการนำไปใช้เชิงพานิชย์  ทั้งนี้กรุณาอ้างอิงถึงผู้เขียน และแหล่งที่มาคือ http://www.analaya.com
หากท่านต้องการนำไปดัดแปลง แก้ไข หรือต่อเติมเพื่อให้บทความนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก่อนเผยแพร่ กรุณาเขียนว่า ดัดแปลงจาก พร้อมทั้งแจ้งผู้เขียนผ่านคอมเมนท์ในบทความด้วย 
ขอบคุณค่ะ
 
อนาลยา
 

Add comment


Security code
Refresh

Users
3538
Articles
271
Articles View Hits
3194437